แนะรัฐบาลอัดฉีดงบกระตุ้นไตรมาส 4

กรุงเทพฯ 17 ต.ค. – ดัชนีการแข่งขันเอสเอ็มอีไตรมาส 3 ตกต่อเนื่อง แตะ 46.9 เชื่อไตรมาส 4 ฟื้นได้จากประกันรายได้เพิ่มกำลังซื้อ 


นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการ ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ทางศูนย์พยากรณ์ฯ ร่วมกับธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยหรือ SME D Bank ทำการสำรวจดัชนีความสามารถการแข่งขันของธุรกิจเอสเอ็มอีไตรมาส 3/2562 พบว่าดัชนีมีการปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 46.9 เมื่อเทียบกับในช่วงไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากยอดขายของธุรกิจลดลง มีกำไรอยู่ในระดับต่ำ การแข่งขันสูง และเป็นดัชนีที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง 3 ไตรมาส ขณะที่ดัชนีสถานการณ์ธุรกิจไตรมาส 3 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 41.5 ดัชนีความสามารถการทำธุรกิจอยู่ที่ระดับ 47.8 และดัชนีความยั่งยืนของธุรกิจอยู่ที่ระดับ 51.1

อย่างไรก็ตาม แนวโน้มดัชนีความสามารถการแข่งขันของเอสเอ็มอีไตรสมาส 4 เชื่อว่าจะปรับตัวดีขึ้น จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ โดยเฉพาะนโยบายประกันรายได้พืชผลทางการเกษตรที่สำคัญ ทั้ง ปาล์มน้ำมัน ยางพารา และข้าว รวมประมาณ 30,000 ล้านบาท ทำให้กำลังซื้อภาคเกษตรเพิ่มขึ้นสามารถพยุงเศรษฐกิจให้กลับมาดีขึ้นได้ 


ทั้งนี้ ยังเห็นว่ารัฐบาลจำเป็นต้องเติมเม็ดเงินลงสู่ระบบให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง จากที่รัฐบาลตั้งเป้าหมายที่จะใช้งบที่เหลือโครงการต่าง ๆ มากระตุ้นระบบเศรษฐกิจตั้งแต่เดือนสิงหาคมผ่านโครงการต่าง ๆ แต่ในช่วงที่เหลือปีนี้หากรัฐบาลอัดเม็ดเงินเพิ่มเติมอีกประมาณ 30,000-50,000 ล้านบาท เพื่อทำให้เศรษฐกิจไตรมาส 4 ขยายตัวเกินร้อยละ 4 ก็จะทำให้เศรษฐทั้งปีขยายตัวร้อยละ 3 ได้ และเป็นแรงเหวี่ยงสำหรับเศรษฐกิจไทยปีหน้าได้อีกด้วย.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เชียงใหม่อากาศแปรปรวน เจอลมหนาว-ฝนตก 3 วันติด

ชาวเชียงใหม่เจอลมหนาวและฝนตกต่อเนื่อง 3 วันติด อุตุฯ ย้ำอากาศแปรปรวน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย ยังมีฝนตกและลมหนาว แนะรักษาสุขภาพ

ข่าวแนะนำ

อุตุฯ เผย “เหนือ-อีสาน” อากาศเย็นตอนเช้า-ภาคใต้ฝนหนัก

กรมอุตุฯ เผย “เหนือ-อีสาน” อากาศเย็นในตอนเช้า เตือนภาคใต้ฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง พร้อมอัปเดตเส้นทางพายุ “หยินซิ่ง”

MOU44

MOU 44 ผลประโยชน์ชาติ กับ การเมือง ตอนที่ 1

ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา เรื่องเอ็มโอยู 44 และเส้นแบ่งอาณาเขตทางทะเล หรือเส้นเคลม กลายเป็นปมร้อน ท่ามกลางความกังวลถึงผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และสิทธิเหนือเกาะกูด ติดตามความเห็นและมุมมองจากผู้เกี่ยวข้องในรายงาน “ปมร้อน เอ็มโอยู 44 ผลประโยชน์ชาติ กับ การเมือง”