ภาพโดย : ศุภฤกษ์ คฤหานนท์ / Camera : Canon 5D Mark ll / Lens : Canon EF 16-35 mm. / Focal length : 16 mm. / Aperture : f/2.8 / ISO : 4000 / Exposure : 30 sec / WB : 3800K / Composite image 32 Images
สำนักข่าวไทย 11 ส.ค.- มาดูวิธีการถ่ายภาพฝนดาวตก เคล็ดไม่ลับ ถ่ายอย่างไรให้เห็นอย่างสวยงาม
ศูนย์กลางการกระจายตัวของฝนดาวตกอยู่ที่กลุ่มดาวเพอร์เซอุส สามารถสังเกตเห็นได้ตั้งแต่เวลาหลังเที่ยงคืน ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเราจะเริ่มถ่ายภาพฝนดาวตกได้ดีตั้งแต่เวลา หลังตี 1 เป็นต้นไป
เนื่องจากเวลาหลังเที่ยงคืน ชีกโลกที่เราอยู่จะรับดาวตกที่พุ่งเข้ามาแบบตรงๆ ทำให้สามารถสังเกตเห็นฝนดาวตกได้มากที่สุด คาดการณ์ประมาณ 150 ดวง/ชั่วโมง และหลังจากเที่ยงคืนไป ก็จะเป็นช่วงที่ดาวตกวิ่งตามทิศทางการหมุนของโลก ทำให้เห็นดาวตกวิ่งช้า สามารถถ่ายภาพได้ดี และชี้ให้คนข้างดูตามทันได้
เทคนิค-วิธีการถ่าย
1. ถ่ายภาพด้วยเลนส์มุมกว้าง เพื่อให้เก็บเส้นฝนดาวตกได้มากที่สุด
2. ใช้ค่าความไวแสง ISO ที่สูงมากๆ เพื่อให้กล้องไวแสงมากที่สุดขณะเกิดดาวตก เช่น ISO 3200 หรือมากกว่า
3. หันหน้ากล้องไปที่จุดศูนย์กลางการกระจายตัวของฝนดาวตก
4. ถ่ายแบบต่อเนื่อง อย่างน้อย 3-4 ชั่วโมง โดยใช้ค่าการเปิดหน้ากล้องประมาณ 30 วินาที ต่อ 1 ภาพ หรือใช้สูตร Rule of 400/600 ในการคำนวณเวลาการเปิดหน้ากล้อง
5. ตั้งกล้องบนขาตามดาว (ถ้ามี) เพราะดาวตกจะพุ่งออกจากจุดการกระจายตัว ด้วยวิธีนี้จะทำให้เราได้ภาพฝนดาวตกออกมาจากกลุ่มดาวเพอร์เซอุสจริงๆ
6. ช่วงหลังตี 1 หลังจากดวงจันทร์ตกลับขอบฟ้า คือช่วงเวลาที่ดีที่สุดเพราะเป็นเวลาที่ชีกโลกที่เราอยู่จะรับดาวตกที่พุ่งเข้ามาแบบตรงๆ
7. อยากได้ดาวตกยาวๆ ต้องหลังเที่ยงคืนไปแล้วหรือในเวลาใกล้รุ่ง จะเป็นช่วงที่ดาวตกวิ่งตามทิศทางการหมุนของโลก จึงทำให้เห็นดาวตกวิ่งช้า
8. สุดท้ายนำภาพถ่ายฝนดาวตกจากหลายร้อยภาพมาเลือกเฉพาะที่ติดดาวตกมารวมกันใน Photoshop ก็จะทำให้เห็นการกระจายตัวของฝนดาวตกได้อย่างชัดเจน
ข้อมูลจาก สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน)