กกพ.ฟังเสียงภาคเอกชนตรึงค่าไฟฟ้าเอฟที

กรุงเทพฯ 11 ก.ค. – กกพ.ตรึงค่าไฟฟ้าเอฟทีจนถึงสิ้นปี ฟังเสียงเอกชนหลังส่งออกทรุด ไม่งั้นขึ้นอีก 11.60 สตางค์/หน่วย ใช้เงิน 9,000 ล้านบาทอุดหนุน  โดย 6,000 ล้านบาทให้ 3 การไฟฟ้ารับภาระไปก่อน 


นางสาวนฤภัทร อมรโฆษิต เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน และโฆษก กกพ. เปิดเผยว่า คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ให้คงอัตราค่าไฟฟ้าผันแปร  (ค่าเอฟที) สำหรับการเรียกเก็บเดือนกันยายน – ธันวาคม 2562 อัตราติดลบ 11.60 สตางค์/หน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.6396 บาท/หน่วย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ไม่เปลี่ยนแปลงจากงวดก่อน  

อย่างไรก็ตาม หากพิจาณาต้นทุนค่าไฟฟ้าแล้ว เอฟทีจะต้องปรับขึ้น 16.82 สตางค์/หน่วย  และทำให้ค่าเอฟทีที่แท้จริงอยู่ที่ 5.22 สตางค์/หน่วย  แต่คณะกรรมการ กกพ.ไม่ต้องการให้ปัจจัยค่าไฟฟ้ามากระทบต่ออุปสงค์ภายในประเทศ ซึ่งอาจจะเป็นการซ้ำเติมเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ภาวะการส่งออกของประเทศชะลอตัวลงจากสถานการณ์ความไม่แน่นอนของภาวะตลาดโลก จึงตรึงราคาต่อ โดยคาดว่าจะใช้เงินประมาณ 9,000 ล้านบาท เพื่อดำเนินการบริหารจัดการในการตรึงค่าไฟฟ้านี้


โดยวงเงินส่วนหนึ่งนำเงินมาจากการกำกับประสิทธิภาพการดำเนินงานของ 3 การไฟฟ้าในปี 2561 ประมาณ 3,000 ล้านบาท (วงเงินลงทุนต่ำกว่าแผนงาน ) และในส่วนที่เหลือประมาณ 6,000 ล้านบาท จะเป็นความร่วมมือกันของ 3 การไฟฟ้าในการเข้ามาร่วมดูแล เพื่อช่วยรับต้นทุนค่าไฟฟ้าที่ปรับสูงแทนประชาชนไปชั่วคราวก่อน ซึ่งจะต้องหารือกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ,การไฟฟ้านครหลวง (กฟน. ) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ว่าจะดำเนินการอย่างไร 

“แนวโน้มค่าไฟฟ้างวดถัดไปจะปรับขึ้นหรือไม่ คงต้องดูต้นทุนหลายด้าน อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันยังอยู่ในเกณฑ์สูง ก็จะสะท้อนไปยังราคาก๊าซธรรมชาติ ทำให้ราคาสูงตามไปด้วย โดยค่าเอฟทีงวดใหม่ต้นทุนค่าไฟฟ้าหลักเพิ่มขึ้นมาจากราคาก๊าซธรรมชาติที่เพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันถึงเกือบ 24 บาท/ล้านบีทียู โดยคาดว่าราคาก๊าซงวดใหม่จะพุ่งถึง 305.20 บาท/ล้านบีทียู”


สำหรับการตัดสินใจไม่ปรับเพิ่มค่าเอฟทีรอบนี้ (ก.ย.-ธ.ค. 2562) เป็นการบริหารจัดการภายใต้ปัจจัยหลัก ๆ ทางด้านต้นทุนขาขึ้นที่ยังคงมีความผันผวน และกดดันต่อค่าเอฟที ภายใต้สมมติฐานที่ประกอบด้วย 

1. อัตราแลกเปลี่ยนคาดว่าเท่ากับ 31.80 บาท/เหรียญสหรัฐ หรืออ่อนค่าลงกว่าช่วงที่ประมาณการในงวดเดือน พ.ค.- ส.ค. 2562 ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 4 เดือนอยู่ที่ระดับ 31.00 บาท/เหรียญสหรัฐ  

2. ความต้องการพลังงานไฟฟ้าในช่วงเดือน ก.ย. – ธ.ค. 2562 เท่ากับ 64,416.20 ล้านหน่วย ปรับตัวลดลงจากช่วงเดือน พ.ค. – ส.ค. 2562 เท่ากับ 3,966.19 ล้านหน่วย คิดเป็นร้อยละ 5.80 ตามสภาพความต้องการไฟฟ้าที่ลดลงเนื่องจากเข้าสู่ฤดูหนาวในช่วงปลายปี 

3. สัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงการผลิตไฟฟ้าในช่วงเดือน ก.ย. – ธ.ค. 2562 ยังคงใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลัก ร้อยละ 55.78 รองลงมาเป็นการซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศ ร้อยละ 18.91 ลิกไนต์ และถ่านหินนำเข้า อยู่ที่ร้อยละ 8.79 และ ร้อยละ 7.93 ตามลำดับ

4. แนวโน้มราคาเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า คาดว่าราคาก๊าซธรรมชาติเท่ากับ 305.20 บาท/ล้านบีทียู ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากงวดที่ผ่านมา 23.75 บาท/ล้านบีทียู ราคาถ่านหินนำเข้าเฉลี่ยของโรงไฟฟ้าเอกชนอยู่ที่ 2,739.31 บาท/ตัน ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 2,643.13 บาท/ตัน เท่ากับ 96.18 บาท/ตัน . -สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ข่าวแนะนำ

ซุ้มไฟเฉลิมพระเกียรติฯ สุดตระการตา รับประเพณียี่เป็ง

ยามค่ำคืนในตัวเมืองเชียงใหม่ ประดับประดาด้วยแสงไฟรับประเพณียี่เป็ง หรือลอยกระทงเชียงใหม่ โดยเฉพาะบนถนนท่าแพ มีการสร้างซุ้มประดับไฟเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จำนวน 14 ซุ้ม ยาวกว่า 200 เมตร.

“ฟิล์ม รัฐภูมิ” ตั้งโต๊ะแจงปมรีดทรัพย์ รับอ้างชื่อ “หนุ่ม กรรชัย” เพื่อขายงาน

“ฟิล์ม รัฐภูมิ” ตั้งโต๊ะแจงปมเรียกรับเงิน 20 ล้านบาท จากดิไอคอน ยอมรับอ้างชื่อ “หนุ่ม กรรชัย” เพราะต้องการขายงาน

คุมตัว “ตี่ลี่ฮวงจุ้ย” ฝากขัง เจ้าตัวเงียบรีบเดินขึ้นรถตู้

ตำรวจกองปราบคุมตัว “ตี่ลี่ฮวงจุ้ย” ฝากขัง ผู้ต้องหาปัดตอบสื่อ ด้านพนักงานสอบสวนคัดค้านการประกันตัว เพราะมีพฤติการณ์หลบหนี