fbpx

นำนายแบงก์ลงพื้นที่ดูไม้เศรษฐกิจ

กาญจนบุรี 30 เม.ย. – พาณิชย์นำสถาบันการเงิน สื่อมวลชนลงพื้นที่ จ.กาญจนบุรี ดูตลาดรับซื้อไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ หวังสร้างความเชื่อมั่นต้นไม้ใช้เป็นหลักประกันสินเชื่อได้ 


นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า กรมพัฒนาธุรกิจการค้านำสถาบันการเงินรวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสื่อมวลชนศึกษาดูงานอุตสาหกรรมไม้โตเร็ว โอกาสของเกษตรกรนำไม้โตเร็วมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจที่บริษัท สยามฟอเรสทรี จำกัด (ธุรกิจในเอสซีจีแพคเกจจิ้ง) โรงงานวังศาลา จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อดูภาพรวมของธุรกิจไม้ ตลาดรับซื้อไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ กระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์จากไม้ ความต้องการปริมาณไม้ของตลาดทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งเยี่ยมชมระบบบริหารจัดการสวนป่าไม้ยืนต้นที่มีค่าของเกษตรกรในพื้นที่ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่สถาบันการเงินกรณีนำไม้ยืนต้นมาเป็นหลักประกันกู้เงิน หลังพบปัญหาสถาบันการเงินขาดความเชื่อมั่นหลักประกันไม้ยืนต้น รวมทั้งความเสี่ยงในการดูแลต้นไม้ที่นำมาใช้เป็นหลักประกันหลังการให้สินเชื่อ ทำให้สถาบันการเงินยังไม่กล้ารับความเสี่ยงที่จะนำไม้ยืนต้นมาเป็นหลักประกัน



อย่างไรก็ตาม การลงพื้นที่ครั้งนี้จะเน้นอุตสาหกรรมไม้โตเร็วเป็นหลัก ซึ่งเป็นไม้ยืนต้นชนิดที่มีรอบตัดฟันสั้น เช่น ไม้ยูคาลิปตัส ใช้ระยะเวลาปลูก 3 – 5 ปี และเป็นไม้ที่ต้องการของตลาดไม้ทั้งในและต่างประเทศสูง หากสถาบันการเงินต้องการบริหารความเสี่ยงต้นไม้โตเร็วกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่น่าสนใจ เพราะมีผู้ต้องการรับซื้อไม้จำนวนมาก ทำให้ง่ายต่อการใช้เป็นหลักประกันทางธุรกิจมากขึ้น  ปัจจุบันมีเกษตรกรที่ปลูกไม้ยูคาลิปตัสประมาณ 70,000 ราย ต้นทุนเฉพาะต้นกล้าไม้ประมาณ 600 บาท/ไร่ มีค่าใช้จ่ายทั้งหมดประมาณ 2,000 – 3,000 บาท/ไร่ ซึ่งมีราคาหน้าโรงงานประมาณ 1,300 – 1,500 บาท/ตัน 

สำหรับตลาดต่างประเทศที่มีความต้องการไม้ยูคาลิปตัสสูง ได้แก่ จีนและญี่ปุ่น โดยเฉพาะไม้ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน FSC การรับรองมาตรฐานป่าไม้ที่มุ่งเน้นเรื่องความยั่งยืนเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศมาก ทั้งนี้ มีการขายไม้ยูคาลิปตัสตลาดในประเทศประมาณ 7 ล้านตัน/ปี และส่งออกไปจำหน่ายที่ตลาดต่างประเทศประมาณ 5 ล้านตัน/ปี ส่วนแนวโน้มตลาดโลกคาดว่าจะมีความต้องการไม้ยูคาลิปตัสเพิ่มขึ้น ราคาขายปรับตัวจาก 130 ดอลลาร์สหรัฐ เป็น 145 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน โดยปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น คือ เกษตรกรปลูกไม้ยูคาลิปตัส 5 ปีแรกจะยังไม่มีรายได้ รอบตัดฟันประมาณ 5 ปี หากสถาบันการเงินสามารถให้สินเชื่อแก่เกษตรกรเหล่านี้ได้จะสามารถช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งการที่สถาบันการเงินรับต้นไม้ยูคาลิปตัสเป็นหลักประกันจะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรผู้ปลูกไม้ยูคาลิปตัสอย่างมาก


นอกจากนี้ กรมฯ ยังได้เยี่ยมชมระบบบริหารจัดการสวนป่ายูคาลิปตัสของเกษตรกรในพื้นที่ที่มีความพร้อมที่จะนำไม้ยืนต้นมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจ วิธีการเลือกชนิดไม้ที่ปลูกให้เหมาะสมกับพื้นที่ การดูแลรักษาต้นไม้ของเกษตรกร ประเภทผลิตภัณฑ์ที่ได้จากไม้ กระบวนการรับซื้อไม้ กระบวนการผลิตไม้ ซึ่งเป็นธุรกิจป่าไม้ ธุรกิจเยื่อ และธุรกิจกระดาษ ซึ่งทุกกระบวนการดังกล่าวจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้แก่สถาบันการเงินในการให้สินเชื่อแก่เกษตรกรและประชาชนผู้ปลูกไม้ยืนต้นในที่ดินกรรมสิทธิ์โดยใช้ไม้ยืนต้นมาเป็นหลักประกันมากขึ้นในอนาคต โดยกรมฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะร่วมกันส่งเสริมให้ประชาชนและเกษตรกรหันมาปลูกไม้ยืนต้นมูลค่าสูงที่มีอัตราการเติบโตปานกลาง-ช้า เช่น สัก พะยูง ชิงชัน จันทน์หอม ฯลฯ ในที่ดินกรรมสิทธิ์เพื่อการออมเป็นมรดกแก่ลูกหลานในอนาคต

ทั้งนี้ ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 4 ก.ค.2559- 23 เม.ย.2562 มีผู้มาขอจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ 382,061 คำขอ มูลค่าทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกัน รวมทั้งสิ้น 6,113,275 ล้านบาท โดยสิทธิเรียกร้องประเภทบัญชีเงินฝากธนาคาร ยังคงเป็นทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกันมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 48.98 มูลค่า 2,993,939 ล้านบาท รองลงมา คือ สิทธิเรียกร้องประเภทลูกหนี้การค้า สัญญาจ้าง สัญญาเช่า สัญญาซื้อขาย คิดเป็นร้อยละ 27.90 มูลค่า 1,705,911 ล้านบาท สังหาริมทรัพย์ที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ ได้แก่ สินค้าคงคลัง วัตถุดิบ เครื่องจักร รถยนต์ เรือ ช้าง คิดเป็นร้อยละ 23.08 มูลค่า 1,410,866 ล้านบาททรัพย์สินทางปัญญา คิดเป็นร้อยละ 0.03 มูลค่า 1,975 ล้านบาท กิจการ คิดเป็นร้อยละ 0.01 มูลค่า 318 ล้านบาท อสังหาริมทรัพย์ ที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ คิดเป็นร้อยละ 0.002 มูลค่า 138 ล้านบาท และไม้ยืนต้น คิดเป็นร้อยละ 0.002 มูลค่า 128 ล้านบาท โดยไม้ยืนต้นจะเป็นกลุ่มผู้ประกอบการรายใหญ่ขณะที่รายย่อยยังไม่ได้รับการพิจารณาสินเชื่อแต่อย่างใด

นายมหาศาล ธีรวุตม์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทสยามฟอเรสทรี จำกัด ธุรกิจในเอสซีจีแพคเกจจิ้ง ผลิตสินค้าเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ กล่าวว่า บริษัทมีความพร้อมทุกด้านหากเกษตรกรนำไม้ยูคาลิปตัสมาขาย ณ จุดรับซื้อของบริษัทได้ทั่วประเทศ ซึ่งราคารับซื้อปัจจุบันจะอยู่ที่ตันละ 1,400  บาทเป็นราคาที่รวมค่าขนส่งและอื่น   โดยเกษตรกรจะได้ราคาส่วนนี้กว่า 800-1,000 บาทต่อตัน ซึ่งแต่ละปีปริมาณผลผลิตไม้ยูคาลิปตัสจะอยู่ที่กว่า 7-8 ล้านตัน แบ่งเป็นผลิตเพื่อส่งออกกว่า 5 ล้านตัน ไปตลาดจีนและญี่ปุ่น และใช้ภายในประเทศกว่า 2-3 ล้านตัน โดยบริษัทจะรับซื้อมากกว่า 3 ล้านตัน ที่เหลือเป็นการกระจายทั่วไป ดังนั้น ในอีก 2-3 ปีข้างหน้าจะมีบริษัทจีนเข้ามาดำเนินธุรกิจไม้และเยื้อกระดาษ คาดว่าจะมีความต้องการใช้ไม้ยูคาลิปตัสเพิ่มขึ้นอีกไม่ต่ำกว่า 2 ล้านตัน ทำให้ความต้องการไม้ยูคาลิปตัสต่อปีจะมีมากกว่า 10 ล้านตัน ซึ่งเกรงว่าปริมาณผลผลิตไม้ยูคาลิปตัสของไทยจะไม่เพียงพอ หากโครงการใช้ต้นไม้เป็นหลักประกันได้และเป็นที่แพร่หลายจะทำให้เกษตรกรหันมาปลูกไม้ยูคาลิปตัสกันเพิ่มมากขึ้นและคาดว่าใน 10 ปีข้างหน้าไม้ยูคาลิปตัสจะไม่เกิดการล้นตลาดตามที่หลายฝ่ายกังวลกัน

อย่างไรก็ตาม เท่าที่บริษัทสอบถามเกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกยูคาลิปตัสต่างเห็นว่าโครงการใช้ต้นไม้เป็นหลักประกันได้มีประโยนช์มาก เช่น ใช้ต้นไม้ที่ปลูกไว้มาเป็นหลักประกัน 5-10 ไร่ เพื่อขอวงเงินกู้ 50,000-100,000 บาทกับสถาบันการเงิน เพื่อนำไปใช้จ่ายเป็นทุนหมุนเวียนในช่วงก่อนถึงการตัดไม้ไปขายถือว่าดีและอยากให้สถาบันการเงินช่วยมาสนับสนุนที่สำคัญตัวหลักประกัน คือ ต้นยูคาลิปตัสจะมีคุณภาพดี เนื่องจากก่อนเกษตรกรจะปลูกจะต้องมาขอต้นกล้ายูคาลิปตัสจากทางบริษัทไปปลูกเท่านั้น ซึ้งต้นกล้ายูคาลิปตัสจะเป็นต้นที่ทางบริษัทมีการดูแลเป็นอย่างดี จึงมั่นใจเมื่อต้นยูคาลิปตัสครบกำหนดที่จะฟันภายใน 3-5 ปี จะเป็นต้นที่มีมาตรฐานสูง จึงเป็นสินค้าที่ราคาไม่ตกไปมากนัก และคาดว่าอนาคตราคาต้นไม้ยูคาลิปตัสจะสูงขึ้น เนื่องจากเป็นต้นไม้ที่ใช้ไปในทางอุตสาหกรรมด้านต่าง ๆ แบบครบวงจร ซึ่งปัจจุบันจุดรับซื้อไม้ของบริษัทแบ่งเป็นภาคตะวันตกและภาคเหนือกว่า 50 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกว่า 37 แห่ง และมีตัวแทนรับซื้อกว่า 100 ราย 

นางก่อง ฤิทธิ์แก้ว เกษตรกรปลูกสวนป่ายูคาลิปตัส จังหวัดราชบุรี กล่าวว่า ยังไม่ทราบถึงโครงการไม้ยืนต้นใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันตามที่ภาครัฐประการใช้ แต่ถ้ามีจริงตนก็อยากที่จะเข้าร่วมโครงการนี้ เพื่อจะได้ไปขอสินเชื่อกับสถาบันการเงินจะได้นำเงินมาจุนเจือเลี้ยงครอบครัวที่บ้านมีพื้นที่ปลูกต้นยูคาลิปตัสประมาณ 12 ไร่ และเข้าร่วมฟันต้นยูคาลิปตัสขายให้กับบริษัท สยามฟอเรสทรี จำกัด ในอัตราตันละ 1,400 บาท แต่เมื่อหักค่าใช้จ่ายทั้งขนส่ง ตัดไม้แล้วจะเหลือเงินต่อตันละ 900 บาทขึ้นไป ถือว่าพออยู่ได้ แต่บางปีก็ไม่เหลือเงินพอ ดังนั้น หากรัฐบาลมีโครงการใช้ไม้ยูคาลิปตัสเป็นหลักประกันกู้เงินได้จริงก็พร้อมที่จะเข้าร่วมโครงการนี้แน่นอน

นายวิรชาติ  อินทร์กง ผู้อำนวยการ ฝ่ายกฎหมายและกำกับกิจการ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (บสย.) กล่าวว่า ทาง บสย.พร้อมที่จะเข้ามาค้ำประกันให้กับเกษตรกรผู้ปลูกไม้เศรษฐกิจชนิดต่าง ๆ ตามโครงการของหน่วยงานภาครัฐอย่างเต็มที่ และการมาดูงานครั้งนี้ยิ่งมองว่าการขอสินเชื่อในอัตรา 50,00-100,000 บาทต่อ 10 ไร่ ในกลุ่มไม้ยูคาลิปตัสไม่น่าจะลำบาก เพราะจากข้อมูลที่ทางบริษัท สยามฟอเรสทรี จำกัด (ธุรกิจในเอสซีจีแพคเกจจิ้ง) ได้ชี้แจงถึงทิศทางไม้กลุ่มนี้มีโอกาสเติบโตได้อีกมาก ดังนั้น ทาง บสย.พร้อมที่จะเข้ามาสนับสนุนเป็นผู้ค้ำประกันให้กับเกษตรกรหรือกลุ่มสหกรณ์ที่สนใจจะกู้เงินกับสถาบันการเงินโดยใช้ไม้เศรษฐกิจเป็นหลักทรัพย์ค่ำประกันต่อไป.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

ชีวิตติดลบ! ชาวแม่สายจมน้ำจมโคลน 10 วันแทบหมดตัว

หลายชุมชนชายแดนแม่สาย เผชิญน้ำท่วมและจมโคลนมา 10 วันแล้ว อยู่ในสภาพแทบหมดตัว ต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่กับชีวิตที่ต้องติดลบจากน้ำท่วมครั้งนี้

อาลัย “อดีตแข้ง U19” ขับเบนซ์พลิกคว่ำดับพร้อมภรรยา

วงการลูกหนังอาลัย “อดีตนักเตะ U19” ขับเบนซ์พลิกคว่ำดับพร้อมภรรยา ชาวบ้านเผยจุดนี้เกิดอุบัติเหตุบ่อย ลงสะพานอย่าขับเร็ว

สอบเพิ่ม “ไอ้แม็ก” ฆ่าชิงทรัพย์หญิงขับโบลท์ ฝากขังพรุ่งนี้

ตำรวจคุมตัว “ไอ้แม็ก” สอบปากคำเพิ่มคดีฆ่าชิงทรัพย์โชเฟอร์สาวขับโบลท์ เจ้าตัวปฏิเสธไปชี้จุด อ้างปวดท้องไม่สบาย เตรียมฝากขังพรุ่งนี้