สธ.18 ก.พ.-อธิบดีกรมอนามัยชี้ภาษีความหวานมีส่วนช่วยปรับพฤติกรรมบริโภคน้ำตาลในคนไทย โดยแต่ละวันไม่ควรเกิน 50 กรัม แต่ห่วงพฤติกรรมบริโภคคนไทยเปลี่ยน ติด กาแฟ ชา มากขึ้น
พญ.พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย กล่าวถึงมติคณะรัฐมนตรี(ครม.)เก็บภาษีความหวานเพิ่ม ว่า แนวคิดการเก็บภาษีน้ำตาล มีมานานเกือบ 8 ปี แต่เพิ่งสำเร็จเมื่อปีที่แล้ว โดยการเก็บภาษีความหวานนี้ มุ่งในผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแบบบรรจุขวดและเครื่องดื่มแบบพร้อมดื่ม แบบทรีอินวัน หากมีปริมาณน้ำตาลสูงเกินก็จะเก็บปริมาณภาษีเพิ่มขึ้น ปัจจุบันคนไทย บริโภคน้ำตาลอยู่ที่ 100 กรัม ต่อวัน แต่ปริมาณน้ำตาลที่เหมาะสม ควรเแก่การบริโภคไม่ควรเกิน 50 กรัม
พญ.พรรณพิมล กล่าวต่อไปว่า การบริโภคน้ำตาลในปริมาณมาก ทำให้ระบบเผาผลาญหรือขจัดน้ำตาลในร่างกายเสียสมดุล และเกิดโรค เบาหวาน ปัจจุบันมีผู้เบาหวานโรคเบาหวานแล้ว 5 ล้านคน ขณะเดียวกันความชุกโรคก็มากขึ้น ร้อยละ 8.9 ดังนั้นหากมีระดับน้ำตาลเกินร้อยละ 10 ต้องมีการปรับเพิ่มความภาษีเพื่อควบคุม โดยเป้าหมายของการควบคุมน้ำตาล มุ่งหวังต่อไปต้องไม่เกินร้อยละ 6 เพื่อไม่เกิดอันตรายกับสุขภาพ
พญ.พรรณพิมล กล่าวด้วยว่า การบริโภคน้ำตาลที่เหมาะสมในคนไทยควรไม่เกินวันละ 25 กรัมต่อวัน เพราะในแต่ละวันคนเราสามารถได้รับน้ำตาลจากอาหารและผลไม้อยู่แล้ว การบริโภคหวานของคนไทย จะแก้ไขได้ด้วยการปรับเปลี่ยนตั้งแต่ต้นทางและพยายามควบคุมตัวเอง พยายามรับประทานความหวานให้น้อย เพียงแค่ 3เดือน การติดรสชาติหวานก็จะค่อยๆลดลง และชินรสไม่ติดรสหวานอีก
พญ.พรรณพิมล กล่าวอีกว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงขณะนี้คือพฤติกรรมการรับ ประทานหวานของคนไทยเปลี่ยนไป จากเดิมเครื่องดื่มบรรจุขวดเป็นการ บริโภคน้ำชง เพียงไม่กี่ปี พบคนไทยติดน้ำตาล จากชาและกาแฟกันมาก ความหวานจากเครื่องดื่มนี้แก้ได้ ด้วยการฝึกปฏิเสธความหวาน เปลี่ยนให้เป็นเครื่องดื่มชงใหม่ พูดให้ชินว่า หวานน้อย แค่ร้อยละ 10 ก็พอ
พญ.พรรณพิมล กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 4 อันดับในปี 2558 ได้แก่ 1.หลอดเลือด 40 ต่อแสนประชาชน ,2 หัวใจขาดเลือด 27 ต่อแสนประชากร 3.เบาหวาน 17 ต่อแสนประชากร และ 4.ทางเดินหายใจอุดกั้น 4.5 ต่อแสนประชากร .-สำนักข่าวไทย