กรุงเทพฯ 28 มี.ค. – ผู้ว่าฯ กทม. แถลงประกาศพื้นที่ประสบสาธารณภัย เผยได้รับรายงานผู้เสียชีวิตในพื้นที่ กทม. จากเหตุแผ่นดินไหว เบื้องต้น 5 ราย ทั้งหมดอยู่ในจุดที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างอาคาร
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แถลงหลังจากตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์แผ่นดินไหว ที่ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เสาชิงช้า ทันทีที่เกิดเหตุแผ่นดินไหว เมื่อประมาณ 13.30 น. วันนี้ (28 มี.ค.68) หลังการประเมินสถานการณ์ กทม.ออกประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัยในพื้นที่ ใช้อำนาจตามใช้อำนาจตามแผนปฏิบัติการแห่งชาติที่ให้อำนาจผู้ว่าฯ ที่เมื่อประกาศก็สามารถสั่งการระหว่างหน่วยต่าง ๆ ที่ขอความช่วยเหลือจากทุกหน่วยงานซึ่งปัจจุบันมีความร่วมมือกับทางสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยอย่างเข้มแข็ง
ปัจจุบันเมื่อดูความเสียหายเกิดขึ้น พบว่าเกิดกับกับอาคารที่กำลังก่อสร้าง อาคารที่มีความเสียหายรุนแรงมากที่สุดคืออาคาร สตง.ที่อยู่ในเขตจตุจักร อยู่ระหว่างการก่อสร้างอาคาร 33 ชั้น มีการทรุดตัวลง เบื้องต้นมีรายงานพนักงานก่อสร้างติดอยู่ภายในประมาณ 83 คน มีแรงงานผู้เสียชีวิต 3 คน และช่วยเหลือออกมาได้อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งจุดบริเวณนั้นจะเป็นจุดที่ได้รับความเสียหายมากที่สุดของ กทม. ที่ได้รับรายงานเข้ามา
ส่วนอีกหนึ่งจุด มีเครนที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างแถวเขตดินแดงที่ถล่มลงมา ซึ่งเป็นอาคารที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างเช่นกัน ซึ่งจุดนั้นเบื้องต้นมีรายงานผู้เสียชีวิต 1 ราย ซึ่งจุดของเครนที่ล้มลงกระทบกับทางด่วนดินแดงทางขาเข้าขาออกทำให้ต้องปิดการจราจร นอกจากนี้ ยังมีอีกจุดอาคารนั่งร้าน ที่เขตบางซื่อ ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ถล่มและมีผู้เสียชีวิตเป็นคนงาน 1 คน
จุดอื่น ๆ ที่เหลือก็จะมีสภาพอาคารแตกร้าวบ้างหลังจากนี้ต้องมีการตรวจสอบความมั่นคงของอาคารต่อไปส่วนโครงสร้างพื้นฐานหลักๆ ส่วนที่ข่าวสลิงสะพานขาดเป็นเพียงข่าวลือยืนยันว่าไม่เป็นความจริง ซึ่งตัวสะพานอาจจะมีรอยแตกร้าวบ้าง แต่ไม่ได้อยู่ในสภาพวิกฤติที่จะก่อให้เกิดการวิบัติ ตอนนี้ขอให้ประชาชนเฝ้าฟังข่าวด้วยความระมัดระวังโดยตอนนี้ต้องอยู่ระหว่างการประเมินความเสียหายอยู่ในวงจำกัด ส่วนใหญ่จะเป็นอาคารที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างยังไม่มีรายงานเพิ่มเติมเขตอื่นเพิ่มเติมจากที่รายงาน
โดยอาคารในกรุงเทพมหานครที่เป็นอาคารใหม่ส่วนใหญ่สร้างตามรองรับการแผนรองรับแผ่นดินไหวได้ ซึ่งสามารถรับแรงแผ่นดินไหวได้ขนาดมากกว่าที่เกิดขึ้นครั้งนี้
ส่วนอาคารที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่เป็นอาคารที่ก่อสร้างไม่เสร็จทำให้อาคารที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่เป็นอาคารที่ก่อสร้างไม่เสร็จทำให้มีความอ่อนแอจึงขอยืนยันว่าไม่อยากให้ประชาชนตื่นตระหนก
ตอนนี้ต้องกังวลคือเรื่องของโรงพยาบาลที่จะมีการอพยพผู้ป่วยผู้ป่วยที่อยู่ในห้องฉุกเฉินต้องการเครื่องช่วยชีพต่างๆ ซึ่งทางโรงพยาบาลต่างๆ ได้ให้แนวปฏิบัติแต่ละเขตให้ช่วยดูแลแล้ว โดยได้สั่งการให้สำรวจโครงสร้างก่อนว่ามีความเสียหายหรือไม่ เช่น ตัวอาคาร หากเสียหายไม่รุนแรงผู้ป่วยที่มีความจำเป็นสามารถกลับเข้าอาคารได้ ส่วนผู้ป่วยที่ไม่จำเป็นก็ขอให้สามารถกลับบ้านได้ก็ขอให้กลับไปก่อนเพื่อไม่ให้เป็นภาระของโรงพยาบาลหากมีความต้องการฉุกเฉิน
ล่าสุดมีรายงานว่า โรงพยาบาลในกรุงเทพมหานครได้รับรายงานว่าได้รับความเสียหายในตัวโครงสร้างสามารถนำผู้ป่วยล่าสุดโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานครได้รับรายงานว่าได้รับความเสียหายในตัวโครงสร้างสามารถนำผู้ป่วยที่จำเป็นกลับเข้าสู่ภายในในอาคารได้
นายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าฯ กทม.กล่าวเพิ่มเติมว่า ตามกฎหมายควบคุมอาคารที่ออกแบบหลังปี 2550 สามารถรับแรงสั่นสะเทือนได้ แผ่นดินไหวที่กทม.ได้รับผลกระทบคราวนี้ ยังต่ำกว่าตามกฏหมายควบคุมอาคารที่สร้างหลังปี 2550 จึงยังสามารถรับแรงสั่นสะเทือนได้ ส่วนอาคารเก่าก็จจะต้องตรวจสอบต่อไป
ผู้ว่าฯ กทม.ย้ำหากประชาชนพบรอยร้าวบริเวณบ้าน ตามอาคาร และไม่มีความมั่นใจ ให้แจ้งเข้ามาได้เพื่อจัดทีมวิศวกรเข้าไปตรวจสอบอีกครั้งเพื่อความมั่นใจ ผ่านทางทราฟฟี่ ฟองดูว์ โทร.1555 โดยตอนนี้มีแจ้งผ่านทอฟฟี่ฟอร์มดูมา 165 เคส ส่วนใหญ่เป็นอาคารบ้านที่มีจุดร้าวให้ส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบ ผู้ว่าฯ กทม ย้ำว่าตอนนี้มีแจ้งผ่านทอฟฟี่ฟองดูมา 165 เคสส่วนใหญ่เป็นอาคารบ้านที่มีจุดร้าวให้ส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบ แต่ตัวรอยร้าวอาจเกิดบริเวณผนังไม่ได้กระทบถึงโครงสร้างจึงขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนก หากไม่มั่นใจให้ขอให้ กทม.ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบ
ส่วนที่จุดอาคารถล่ม พื้นที่เขตจตุจักร ผอ.เขตจตุจักร ได้ลงพื้นที่หน้างาน บัญชาการเหตุการณ์แล้ว โดยในจุดอาคารซึ่งจุดที่กำลังก่อสร้างอาคารที่เขตจตุจักรนั้น ก่อสร้างเป็นลักษณะแพนเค้ก 33 ชั้น ซึ่งช่วงเกิดเหตุคาดว่ามีคนงานอยู่ทุกชั้น คาดอยู่ระหว่างการตกแต่งอยู่ภายใน. -417-สำนักข่าวไทย