ปตท.สผ.โฟกัสลงทุน 5 ประเทศ แย้มข่าวดีเพิ่ม “โมซัมบิก”

กรุงเทพฯ 11 ก.พ. – ปิโตรเลียมยังเป็นเชื้อเพลิงหลักของโลก แม้พลังงานทดแทนจะมาแรง ปตท.สผ.ตั้งโฟกัสขยายลงทุนอาเซียนและตะวันออกกลาง ส่วนโมซัมบิกมีข่าวดีเพิ่มลงนามขายแอลเอ็นจีครบ 9.5 ล้านตัน ก.พ.นี้ ด้านเงินลงทุนลดลงร้อยละ 15-20


นายพงศธร ทวีสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่  บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม หรือ ปตท.สผ. เปิดเผยว่า ขณะนี้มีข่าวดีโครงการโมซัมบิกมีความคืบหน้าจะมีผู้เข้ามาลงนามข้อตกลงซื้อก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) อีก 2 ล้านตัน/ปี ในเดือนกุมภาพันธ์นี้ ส่วนนี้ไม่ใช่ในส่วนที่ บมจ.ปตท.เตรียมแผนจะซื้อ 2.6 ล้านตัน/ปีแต่อย่างใด ทั้งนี้ เมื่อรวมกับข้อตกลงซื้อขายก๊าซแหล่งโมซัมบิกที่มีไว้ก่อนหน้านี้ 7.5 ล้านตันแล้ว รวมกันเป็น 9.5 ล้านตัน ทำให้โครงการสามารถตัดสินใจลงทุนขั้นสุดท้าย หรือ FID ได้ภายในกลางปีนี้ตามเป้าหมาย และจะเริ่มผลิตได้ในปี 2567

“ปริมาณข้อตกลงซื้อขายก๊าซ 9.5 ล้านตัน เป็นเงื่อนไขสำคัญสำหรับด้านการเงินที่ผู้ให้กู้จะปล่อยสินเชื่อ ซึ่งเมื่อครบแล้วทำให้ FID ได้ ที่สำคัญจากการประมูลผู้รับเหมาและการปรับแผนลงทุนทำให้โครงการลดต้นทุนได้ร้อยละ 15-20 เม็ดเงินลงทุนรวมลดจาก 23,000-24,000 ล้านดอลลลาร์สหรัฐ เหลือเพียง 20,000 ล้านดอลลาร์เท่านั้น และเป็นสัดส่วนที่ ปตท.สผ.ลงทุนเหลือประมาณ 1,800 ล้านดอลลาร์” นายพงศธร กล่าว


นายพงศธร กล่าวว่า ในช่วงนับจากนี้การพัฒนาแอลเอ็นจีแหล่งใหม่ ๆ ยังไม่มีเข้ามา และตลาดคาดการณ์ว่า นับจากนี้จนถึงปี 2568 ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 7-10 ดอลลาร์สหรัฐ/ล้านบียู และในช่วงปี 2568-2573 ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 7-8 ดอลลาร์/ล้านบีทียู ซึ่งมั่นใจว่าโครงการโมซัมบิกจะให้ผลตอบแทนที่ดี    

ทั้งนี้ โครงการโมซัมบิก โรวูมา ออฟชอร์ แอเรีย วัน ทาง  PTTEP Mozambique Area 1 Limited  ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ ปตท.สผ. ถือสัดส่วนร้อยละ 8.5,  Anadarko Mozambique Area 1 ผู้ดำเนินการโครงการ ถือสัดส่วนร้อยละ 26.5, ENH Rovuma Area Um. S. A. ถือสัดส่วนร้อยละ 15, บริษัท Mitsui E&P Mozambique Area 1 Ltd. ถือสัดส่วนร้อยละ 20,อีก 3 บริษัทถือหุ้นฝ่ายละร้อยละ 10 ได้แก่ บริษัท ONGC Videsh Limited (OVL) , Beas Rovuma Energy Mozambique Limited  และ BPRL Ventures Mozambique B.V.

โครงการโมซัมบิก โรวูมา ออฟชอร์ แอเรีย วัน ตั้งอยู่นอกชายฝั่งของประเทศโมซัมบิก ประกอบด้วย แหล่งพรอสเพอริดาเด (Prosperidade), แหล่งโกลฟินโญ-อาตุม (Golfinho-Atum), แหล่งออร์กา (Orca), แหล่งทูบาเรา (Tubarao) และแหล่งทูบาเรา-ทีเกร (Tubarao-Tigre) มีสำรองก๊าซธรรมชาติประมาณ 75 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต และมีศักยภาพที่จะเป็นแหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งปัจจุบันโครงการอยู่ระหว่างการเตรียมพัฒนาแหล่งก๊าซธรรมชาติ และก่อสร้างโรงงานผลิตก๊าซธรรมชาติเหลว ซึ่งระยะแรกประกอบด้วยโรงงานผลิตก๊าซธรรมชาติเหลว 2 สายการผลิต (train) กำลังการผลิตรวม 12.88 ล้านตัน/ปี เพื่อรองรับการพัฒนาแหล่งโกลฟินโญ-อาตุม (Golfinho-Atum) 


ส่วนโครงการแคชเมเปิล ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นแหล่งก๊าซฯ ที่อยู่ในระหว่างการสำรวจและพัฒนา ในปีนี้คงจะรับทราบชัดเจนว่า ปตท.สผ.จะทบทวนการลงทุนอย่างไรจะขายหรือลงทุนต่อ  ซึ่งจากกฎระเบียบการลงทุนของออสเตรเลียที่มีความซับซ้อน การจ้างงานที่มีต้นทุนสูง ทำให้การลงทุนไม่เป็นไปตามคาด ซึ่งขณะนี้มีผู้แสดงความสนใจที่จะเข้าลงทุนโครงการนี้  โดยทางบริษัทกำลังพิจารณาจะเปิดข้อมูลหรือดาต้ารูมให้นักลงทุนยื่นเสนอในการพัฒนา

สำหรับยุทธศาสตร์ของ ปตท.สผ.นั้น ให้ความสำคัญกับการลงทุนในพื้นที่ใหม่ ๆ ที่มีศักยภาพสูง โดยปีนี้ได้โฟกัสการลงทุนในไทย, เมียนมา, มาเลเซีย, โอมาน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยในส่วนของโอมาน นับได้ว่าเป็นประเทศที่มีศักยภาพ ซึ่งทาง ปตท.สผ.เคยเข้าไปลงทุนและได้ขายกิจการแหล่งน้ำมันไปแล้ว แต่ก็จะกลับเข้าไปลงทุนใหม่ โดยทราบว่าทางรัฐบาลโอมานจะมีการเปิดประมูลแหล่งปิโตรเลียมเร็ว ๆ นี้ 

ขณะที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) เตรียมที่จะมีการเปิดประมูลแหล่งปิโตรเลียมแหล่งบนบก  ซึ่ง ปตท.สผ.จะเข้าไปร่วมประมูลเช่นกัน จากที่เมื่อเร็ว ๆ นี้ร่วมกับอีเอ็นไอ (Eni) ผู้ผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติรายใหญ่ของประเทศอิตาลี ชนะ 2 แปลงในทะเล จากการเปิดประมูลครั้งแรกของยูเออี ซึ่ง ยูเออี ตั้งเป้าหมาย จะเพิ่มกำลังผลิตน้ำมันจาก 3.8 ล้านบาร์เรล/วัน ปัจจุบันเป็น 5.0 ล้านบาร์เรล/วัน ในปี 2573 ดังนั้น จึงเปิดแหล่งปิโตรเลียมให้ต่างชาติเข้าร่วมทุน ซึ่งการประมูลในรอบต่อไป ทาง ปตท.สผ.ยังไม่ขอเปิดเผยว่าจะร่วมทุนกับรายใด 

สำหรับความร่วมมือระหว่าง ปตท.สผ.กับอีเอ็นไอ นั้น อยู่ในสัดส่วนร่วมทุนร้อยละ 30 และ 70 คาดว่าในช่วง 3 ปีแรกของการเริ่มสำรวจ ทาง ปตท.สผ.จะร่วมใช้เงินลงทุนประมาณ 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีระยะเวลาการสำรวจไม่เกิน 9 ปี ซึ่งทั้ง 2 แปลงเป็นแปลงในทะเลมีอายุสัมปทาน 35 ปี   นับเป็นการเปิดโอกาสให้ ปตท.สผ.ได้ร่วมมือกับพันธมิตรใหม่ และได้เข้าไปลงทุนในพื้นที่ที่มีศักยภาพปิโตรเลียมสูงแห่งหนึ่งของโลก. -สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เชียงใหม่อากาศแปรปรวน เจอลมหนาว-ฝนตก 3 วันติด

ชาวเชียงใหม่เจอลมหนาวและฝนตกต่อเนื่อง 3 วันติด อุตุฯ ย้ำอากาศแปรปรวน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย ยังมีฝนตกและลมหนาว แนะรักษาสุขภาพ

“อัจฉริยะ” ยื่นสอบปม “ทนายตั้ม” ปูดข่าวผู้บริหารปลอมเอกสารขยายอายุเกษียณ

“อัจฉริยะ” ยื่นหนังสือตรวจสอบข้าราชการช่วยผู้บริหารรัฐวิสาหกิจปลอมเอกสารขยายอายุเกษียณ คาดอาจมีทนายดังเข้าไปเอี่ยว เสนอตำรวจให้สอบพยานรายสำคัญที่เป็นประโยชน์กับ “มาดามอ้อย”

“ทนายตั้ม” เครียดหนัก หลัง 3 บิ๊ก บช.ก. สอบปากคำ

“ทนายตั้ม” เครียดหนัก หลัง 3 บิ๊กสอบสวนกลาง สอบปากคำ นานกว่า 5 ชั่วโมง ขณะที่พนักงานสอบสวนเตรียมเข้าค้น “ษิทรา ลอว์ เฟิร์ม” เช้าพรุ่งนี้ หาหลักฐานเพิ่ม ก่อนฝากขังช่วงบ่าย ค้านประกันตัว

“บิ๊กอ้อ” เผย “ทนายตั้ม-ภรรยา” มีพฤติการณ์หนี-ยุ่งเหยิงพยานฯ

“บิ๊กอ้อ” ชี้ตำรวจต้องออกหมายจับ “ทนายตั้ม” เหตุพบพฤติการณ์เตรียมหลบหนีออกนอกประเทศ และยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน นอกจากนี้ยังมีคดีต่อเนื่อง 3 คดี เตรียมแจ้งข้อหาเพิ่ม

ข่าวแนะนำ

อุตุฯ เผย “เหนือ-อีสาน” อากาศเย็นตอนเช้า-ภาคใต้ฝนหนัก

กรมอุตุฯ เผย “เหนือ-อีสาน” อากาศเย็นในตอนเช้า เตือนภาคใต้ฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง พร้อมอัปเดตเส้นทางพายุ “หยินซิ่ง”

MOU44

MOU 44 ผลประโยชน์ชาติ กับ การเมือง ตอนที่ 1

ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา เรื่องเอ็มโอยู 44 และเส้นแบ่งอาณาเขตทางทะเล หรือเส้นเคลม กลายเป็นปมร้อน ท่ามกลางความกังวลถึงผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และสิทธิเหนือเกาะกูด ติดตามความเห็นและมุมมองจากผู้เกี่ยวข้องในรายงาน “ปมร้อน เอ็มโอยู 44 ผลประโยชน์ชาติ กับ การเมือง”

ทนายตั้ม

“ทนายตั้ม” สร้างตัวตนผ่านสื่อ หวังหาผลประโยชน์หรือไม่

หลังจากพนักงานสอบสวนควบคุมตัว “ทนายตั้ม” และภรรยา เข้าเรือนจำไปแล้ว มีคำถามตามมาว่า ทนายคนดังสร้างตัวตนจนโดดเด่นในสังคม เพื่อหาผลประโยชน์จากความน่าเชื่อถือที่สร้างไว้หรือไม่