กรุงเทพฯ 1 ก.ย. – รมว.อุตสาหกรรมหารือกับนักธุรกิจจากมณฑลเจียงซู ของจีน ที่แสดงความสนใจเข้าลงทุนในไทยเพิ่มขึ้น
นางอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลัง เจ้าหน้าที่จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ)นำคณะนักธุรกิจจากมณฑลเจียงซู สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นมณฑลที่มี นักลงทุนเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากที่สุด เข้าพบว่า เป็นการเข้าพบเพื่อส่งเสริมและแลกเปลี่ยนความร่วมมือด้านการลงทุนระดับทวิภาคีระหว่างไทยกับมณฑลเจียงซู พร้อมกับแนะนำองค์กร China Council for the Promotion of International Trade,Jiangsu หรือ CCPIT ซึ่งมีความร่วมมือกับประเทศไทยผ่านสำนักงานเศรษฐกิจและการลงทุน ณ นครเซี่ยงไฮ้ มาอย่างต่อเนื่องมา ตั้งแต่ปี 2548 ถึงปัจจุบันโดยทำงานร่วมกับทางบีโอไอมาแล้ว 12 ปี
นอกจากนี้ ยังเป็นการเข้ามาเพื่อขอรับทราบนโยบายการให้ความช่วยเหลือและส่งเสริมการลงทุนแก่ผู้ประกอบการจากมณฑลเจียงซู ที่สนใจมาลงทุนในประเทศไทย จึงใช้โอกาสนี้แนะนำนโยบาย การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก พร้อม ชักชวนให้เข้ามาลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายหรือ new s curve ที่ประเทศไทยต้องการส่งเสริมให้นักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุน ในโอกาสนี้ฝ่ายจีนแจ้งให้ทราบว่าเตรียมที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเพิ่มเติมอีกหนึ่งโครงการมูลค่าลงทุนประมาณ 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
และในการเข้าพบครั้งนี้ทางฝ่ายจีนได้เชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเดินทางไปเยือนมณฑลเจียงซู เพื่อร่วมสัมมนาและขยายโอกาสด้านการจับคู่ทางธุรกิจในเร็วๆ นี้ด้วย
สถิติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน พบว่า การลงทุนโดยตรงจากจีนในปี 2558 มีมูลค่าค่าประมาณ 10,614 ล้านบาทแต่ช่วง 6 เดือนแรกของปี 2559 มีการขอรับส่งเสริมการลงทุนจากนักรบคนจีนคิดเป็นมูลค่า 21,100 ล้านบาทมากเป็นอันดับ 3 รองจากญี่ปุ่นและฮ่องกง ขณะที่นักธุรกิจจากมณฑลเจียงซู มีการลงทุนในประเทศไทยมากที่สุดโดยในช่วง 2556 ถึง 2559 มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่สำคัญหลายโครงการเช่น โครงการผลิตโซล่าเซลล์ และโครงการอื่นๆมูลค่าลงทุนรวมกว่า 21,612 ล้านบาท
มณฑลเจียงซู มีนักลงทุนเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากที่สุดรวม 87 ราย วงเงินลงทึนรวม 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และที่ไม่ได้รับสางเสริมการลงทุนเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลที่มากที่สุดของจีนและยังเป็นฐานของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีทางตอนใต้ของจีนขณะเดียวกันหากมองในแง่ของโอกาสที่ไทยจะเข้าไปลงทุนก็พบว่ามีความเหมาะสมด้านพื้นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมท่าเรือและระบบโลจิสติกส์ที่ผ่านมามีนักลงทุนไทย 4 รายเข้าไปลงทุนที่เจียงซูแล้วลงทุนในอุตสาหกรรมผลิตอาหารแปรรูปขนมขบเคี้ยวประเภทถั่วผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะ ผลิตอาหารสัตว์และธุรกิจโรงแรมเป็นต้น
มณฑลเจียงซูตั้งอยู่ทางชายฝั่งทะเลทิศตะวันออกของจีนมีพื้นที่ทั้งหมด 126,000 ตารางกิโลเมตรมีประชากรประมาณ 80 ล้านคน ทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับมณฑลเจ้อเจียงและนครเซี่ยงไฮ้ มีมืองเอกคือเมืองหนานจิง เป็นที่ตั้งของอุตสาหกรรมแนวหน้าของประเทศจีนได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องจักรปิโตรเคมี โลหะ อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์การแพทย์และก่อสร้าง- สำนักข่าวไทย