สนช.พิจารณาถอดถอน พล.อ.อ.สุกำพล


รัฐสภา 9 ก.ย.- สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซักถามคู่กรณีในกระบวนการถอดถอน พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต ออกจากตำแหน่ง ขณะที่ กรรมการ ป.ป.ช. ยืนยัน พล.อ.อ.สุกำพล แทรกแซงการแต่งตั้งปลัดกระทรวงกลาโหมจริง และวิธีการเสนอชื่อไม่เป็นไปตามกฎหมาย ด้าน พล.อ.อ.สุกำพล ย้ำ มีอำนาจเสนอชื่อ และไม่ได้แทรกแซงการแต่งตั้ง

การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีนายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสนช.เป็นประธานการประชุม พิจารณาวาระเพื่อดำเนินกระบวนการถอดถอน พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ออกจากตำแหน่ง กรณีคณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดเข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงการแต่งตั้งปลัดกระทรวงกลาโหม ซึ่งเป็นการซักถามเพิ่มเติมคู่ความทั้ง 2 ฝ่าย


12359870

นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ สมาชิก สนช.ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการซักถาม กล่าวว่า ได้พิจารณาประเด็นซักถามของสมาชิก 3 คน รวม 18 คำถาม ถามป.ป.ช. 11 คำถาม และซักถามพล.อ.อ.กำพล 8 คำถาม และได้สรุปรวมคำถามที่คล้ายคลึงกันและซักถามป.ป.ช.และพล.อ.อ.สุกำพล ฝ่ายละ 7 คำถาม

พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ สนช. ในฐานะกรรมาธิการซักถามป.ป.ช.ว่า พ.ร.บ.จัดระเบียบกระทรวงกลาโหม ในมาตรา 25 มีขั้นตอนการพิจารณาแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพล เพื่อป้องกันการแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองอย่างไรบ้าง และเหตุใดจึงมีมติว่าพล.อ.อ.สุกำพลแทรกแซงการแต่งตั้งโยกย้าย


น.ส.สุภา ปิยะจิตติ กรรมการป.ป.ช. ชี้แจงว่า ขั้นตอนแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพล แต่ละหน่วยจะต้องมีการคัดสรรคนของตัวเองในระดับกรมขึ้นมา และจะต้องลงนามรับรองบุคคลที่ผ่านการคัดสรรของส่วนราชการระดับกรม ได้แก่สำนักปลัดกระทรวง กองบัญชาการทหารบก กองบัญชาการทหารเรือ กองบัญชาการทหารอากาศ จากนั้นจะเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกลาโหม โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นประธาน มีผู้แทนจากเหล่าทัพ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการเหล่าทัพ ปลัดกระทรวงกลาโหม ให้มีเจ้ากรมเสมียนตราเป็นผู้ช่วย

น.ส.สุภา กล่าวว่า ได้วางกลไกชัดเจนว่า ในการแต่งตั้งข้าราชการระดับกรม จะมีข้าราชการประจำเป็นผู้คัดเลือก แต่ปรากฎว่า ในการประชุมคณะกรรมการพิจารณาแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพล เมื่อวันที่  17 สิงหาคม 2555 นั้น พล.อ.อ.สุกำพลได้เชิญผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการเหล่าทัพมาประชุม แต่แจ้งว่า เป็นการประชุมนอกรอบ โดยไม่อนุญาตให้เจ้ากรมเสมียนตราเข้าร่วมประชุม ทั้งที่ต้องเป็นผู้ช่วยเลขานุการโดยตำแหน่ง และในการประชุมวันนั้นได้มีการเสนอ พล.อ.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก เป็นปลัดกระทรวงกลาโหม ทำให้ พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหม ในขณะนั้นคัดค้าน เพราะต้องการเสนอชื่อพล.อ.ชาตรี ทัตติ แม้เจ้ากรมเสมียนตรา จะไม่ได้มีสิทธิลงคะแนน แต่รัฐมนตรีไม่มีสิทธิห้ามบุคคลที่มีอำนาจตามกฎหมายเข้าร่วมประชุม

นายแพทย์เจตน์ ศิรธรานนท์ สมาชิกสนช. ในฐานะกรรมาธิการซักถาม ถามฝั่งผู้ถูกกล่าวหาว่า ได้พาพล.อ.ทนงศักดิ์ เข้าพบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ซึ่งเป็นการกระทำโดยมิชอบหรือไม่ และเหตุใดจึงเสนอชื่อ พล.อ.ทนงศักดิ์ เป็นปลัดกระทรวงกลาโหมคนใหม่ และตามข้อบังคับของกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพล ในฐานะที่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เข้าใจและยึดถือ การปฏิบัติหน้าที่ว่าต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับหรือไม่

พล.อ.อ.สุกำพล ในฐานะผู้ถูกกล่าวหา ชี้แจงว่า เพราะนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น อยากรู้จัก พล.อ.ทนงศักดิ์ จึงได้พา พล.อ.ทนงศักดิ์ไปพบ และพูดคุยกันเพียง 2-3นาที  ซึ่งตนได้ให้การต่อ ป.ป.ช.แล้วว่า ไม่ได้พูดคุยเพื่อเป็นการสนับสนุนให้ พล.อ.ทนงศักดิ์ เป็นปลัดกระทรวงกลาโหม พร้อมกล่าวถึงการเสนอชื่อ พล.อ.ทนงศักดิ์ ว่า ตนสามารถเสนอได้ในฐานะกรรมการ เพราะกรรมการทุกคนสามารถเสนอชื่อได้

“ผมเข้าใจดีว่า การพิจารณารายชื่อทั้งหมด ต้องผ่านการเห็นชอบจากบอร์ดเล็กมาก่อน แต่การพิจารณาดังกล่าว จะนำข้อบังคับข้อเดียวมาใช้ไม่ได้ เพราะขณะนั้นมีสิ่งที่บีบคั้น คือต้องดำเนินการเรื่องนี้ให้เสร็จภายใน 15 วัน คือมีเวลาอย่างจำกัด ผมไม่ได้เสนอชื่อ พล.อ.ทนงศักดิ์ เพียงคนเดียว แต่เสนอชื่อสองคน คือชื่อของ พล.อ.ชาตรี ทัตติ นายทหารสังกัดกระทรวงกลาโหม และชื่อของ พล.อ.ทนงศักดิ์ แล้วให้ที่ประชุมเป็นผู้เลือก โดยไม่ได้สั่งการหรือแทรกแซงแต่อย่างใด” พล.อ.อ.สุกำพล กล่าว

จากนั้น นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ สมาชิก สนช.ในฐานะกรรมาธิการซักถามฯ ได้ถามผู้ถูกกล่าวหาอีกว่า ข้อบังคับของกระทรวงกลาโหม ได้กำหนดให้คำนึงถึงความอาวุโส และผลงานการปฏิบัติงาน ซึ่งในการเสนอชื่อ พล.อ.ทนงศักดิ์ ที่พล.อ.อ.สุกำพลได้คำนึงถึงเรื่องนี้หรือไม่ และเหตุใด พล.อ.อ.สุกำพล จึงเห็นว่า การประชุมวันที่ 17 สิงหาคม ที่เสนอชื่อ พล.อ.ทนงศักดิ์นั้นไม่นำรายชื่อนายทหารชั้นนายพลคนอื่นมาพิจารณาด้วย ดังนั้น การประชุมในวันดังกล่าว ถือว่าเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมายอย่างไร

พล.อ.อ.สุกำพล ชี้แจงว่า สาเหตุที่ตนเสนอชื่อ พล.อ.ทนงศักดิ์ เนื่องจากเป็นรุ่นน้องของตนเพียง 1 ปี แม้ว่า ความอาวุโสเรื่องทหารจะน้อยกว่า พล.อ.ชาตรี แต่ตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม จะ ต้องเป็นมือขวาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ดังนั้น หากรุ่นพี่ประสานการทำงานกับรุ่นน้อง ก็จะทำงานได้ราบรื่นกว่า ตามกฎหมายไม่ได้ระบุว่า ในการประชุมวันที่ 17 สิงหาคม ต้องมีรายชื่อของนายทหารชั้นนายพลทุกคน แต่ในการประชุมวันที่ 5 กันยายนซึ่งเป็นการประชุมครั้งสุดท้าย ก็ดำเนินการตามกฎหมายครบทุกขั้นตอน

จากนั้น ที่ประชุมได้กำหนดแถลงวันปิดสำนวนคดีด้วยวาจาในวันที่ 15 กันยายน และนัดลงมติถอดถอนหรือไม่ถอดถอน พล.อ.อ.สุกำพล ในวันที่ 16 กันยายนต่อไป.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ค้นบ้านสามารถ

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ” คดีฟอกเงินดิไอคอน

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ เจนชัยจิตรวนิช” คดีฟอกเงินดิไอคอน หลังพบเงิน “บอสดิไอคอน” โอนเข้าบัญชีแม่ของนายสามารถ

หมอบุญ

THG แจงบริษัทไม่เกี่ยวข้องคดีต่างๆ ที่เกิดจาก “หมอบุญ”

THG แจงตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบัน “หมอบุญ” ไม่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารใน THG คดีฉ้อโกงใดๆ ที่เกิดขึ้น บริษัทไม่เกี่ยวข้อง

คะแนนไม่เป็นทางการ เลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ

ลุ้นผลคะแนนเลือกตั้งนายก อบจ.นครศรีธรรมราช นับเสร็จแล้วบางหน่วย ล่าสุด ณ เวลา 19.40 น. “วาริน ชิณวงศ์” เบอร์ 2 จากทีมนครเข้มแข็ง ชนะคู่แข่งขาดลอยในหลายหน่วย คะแนนทิ้งห่างแชมป์เก่า “กนกพร เดชเดโช” เบอร์ 1 จากพรรค ปชป.

“ทนายสายหยุด” จ่อถอนตัวคดีตั้ม หวั่นติดร่างแห

“ทนายสายหยุด” เตรียมถอนตัวเป็นทนายให้ “ตั้ม” เผยในมือมีแต่พยานเท็จ ปิดบังข้อเท็จจริง เสี่ยงเป็นผู้ร่วมกระทำผิด

ข่าวแนะนำ

DSI ฝากขัง “สามารถ-แม่” พร้อมคัดค้านประกันตัว

DSI ฝากขัง “สามารถ-แม่” พร้อมคัดค้านประกันตัว ด้านแม่ตะโกนร้องขอความเป็นธรรม ถูกกลั่นแกล้ง แจงเป็นเงินบุญ ปี 64 ขณะที่ “สามารถ” เผย “อยากพูด แต่พูดไม่ได้“

งด ครม.

งด ครม. ทำเนียบวันนี้ เตรียมสัญจรครั้งแรก “เชียงใหม่-เชียงราย” วันศุกร์

งด ครม. ทำเนียบวันนี้ เตรียมสัญจรครั้งแรก “เชียงใหม่-เชียงราย” ศุกร์นี้ นายกฯ ตั้งเป้าปีหน้าน้ำท่วมภาคเหนือต้องไม่เกิดอีก ด้าน ศปช. เตรียมเสนอแผนแก้อย่างเป็นระบบใน ครม.สัญจร ศุกร์นี้