กรุงเทพฯ 13 ส.ค.-สภาพัฒน์ เตรียมเสนอ ครม.สัญจรภาคใต้พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC)
นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า สศช.เตรียมเสนอแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC)ในลักษณะแผนพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี)ให้ที่ประชุมครม.นอกสถานที่จังหวัดระนอง-ชุมพรพิจารณา เพื่อต่อยอดศักยภาพเศรษฐกิจเดิมที่มีอยู่ โดยจะขยายเส้นทางรถไฟทางคู่ ชุมพร-ระนอง เพิ่มการเดินทางเชื่อมต่อไปยังเมียนมาร์ พัฒนาท่าเรือน้ำลึกที่มีอยู่ใช้ในเชิงพาณิชย์ได้จริง และมุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอีกหลายด้าน การพัฒนาต่อยอดโดยใช้นวัตกรรมการนำวัตถุดิบท้องถิ่น เช่น นำน้ำมันปาล์มมาสกัดวิตามิน E ผลิตฉนวนป้องกันความร้อน เนื่องจากภาคใต้ผลิตน้ำมันปาล์มได้มากถึง 12 ล้านตันต่อปี รวมถึงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทั้งอ่าวไทยและอันดามัน ที่จะต้องชูจุดเด่นมาเป็นจุดขาย อย่างเช่น จังหวัดพัทลุง เน้นส่งเสริมวัฒนธรรมมโนราห์ และการมีพื้นที่ป่าชายเลนอันสมบูรณ์ จนได้รับการรองรับจาก UNESCO ทั้งนี้สศช.เตรียมหารือกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ)เพื่อให้สิทธิ์ประโยชน์ดึงดูการลงทุนตามพื้นที่ตามศักยภาพเพื่อให้การพัฒนาเศรษฐกิจแต่ละพื้นที่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากนั้นจะส่งเสริมภาคอีนสานให้มีศักยภาพพัฒนาอุตสากรรมราง เพราะระบบรางมีทั้งตู้สินค้า อาณัตสัญญาณ การขนส่งสินค้าจะเชื่อมต่อกับเพื่อนบ้านเพิ่มอีกจำนวนมาก เมื่อทุกภาคของไทยมีจุดเด่นสำคัญมาช่วยผลักดันเศรษฐกิจ แม้แต่ละภาคเผชิญปัจจัยลบเข้ามากระทบหลายด้านก็จะช่วยรองรับปัญหาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจทดแทนกันได้
ขณะที่ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมตรีเตรียมแก้ไขกฎหมาย ศสช.เพิ่มเติม เพื่อขยายแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เพิ่มจาก 4 ปี เป็น 5 ปี สอดคล้องกับยุทศาสตร์พัฒนาประเทศ และหวังที่จะนำแผนแม่บท 37 เรื่องมาขับเคลื่อนในวันที่ 15 กันยายนนี้ จะให้คณะทำงานด้านการปฏิรูปสรุปแนวทางปฏิบัติ รวมถึงอุปสรรคปัญหา โดยจะมีการจัดสรรงบประมาณขับเคลื่อนแผนแม่บทในด้านต่างๆ อาทิด้านเกษตร อุตสาหกรรม พาณชิย์กรรม สิ่งแวดล้อม เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมใหญ่สศช.ประจำปีในการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปี 61-65 เพื่อสร้างอนาคตประเทศ โดยเฉพาะการดูแลปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม เนื่องจากข้อมูลการสำรวจของกระทรวงการคลังและกระทรวงพัฒนาสังคมมีประชาชน 1. 2 ล้านรายเข้าข่ายได้รับการดูแล เพื่อจะได้ออกมาตรการให้ตรงกับแต่ละพื้นที่และความต้องการที่ต่างกัน เช่น ด้านสุขภาพ ที่อยู่อาศัย รายได้ ก่อนหน้านี้ นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เตรียมเสนอตั้งคณะกรรมการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม เพื่อพิจารณาจัดสรรงบประมาณ และมาตรการด้านแก้ไขปัญหาความยากจนให้สอดคล้องกัน ภายใต้ยุทศาสตร์เดียวกันไม่ซ้ำซ้อนหลายกระทรวง เพื่อเตรียมเสนอรัฐบาลพิจารณาใช้งบประมาณขับเคลื่อนในปี 63.-สำนักข่าวไทย