fbpx

นักวิชาการแนะวิธีกำจัดหนอนตัวแบนนิวกินีเบื้องต้น – ทส. แถลงขออย่าตื่นตั้งทีมคุมการกระจาย

กระทรวงทรัพยากรฯ 16 พ.ย. – นักวิชาการแนะวิธีกำจัดหนอนตัวแบนนิวกินีเบื้องต้น และเลี่ยงกินหอยไม่สุก ทส.ย้ำอย่าตื่นตระหนก ตั้งทีมรับมือคุมการกระจายในไทยผุดไลน์ให้ประชาชนส่งภาพแจ้งให้ตรวจสอบทันทีที่พบ


กรณีมีการแถลงผลประชุมหารือแนวทางการจัดการหนอนตัวแบนนิวกินี (Platydemus manokwari) ร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แถลงถึงการป้องกัน เฝ้าระวัง และควบคุมการแพร่กระจายในวันนี้(16 พ.ย.) ดร.นณณ์ ผาณิตวงศ์ กลุ่มอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม (Siamensis) เผยถึงกรณีที่มีการตระหนกเรื่องหนอนตัวแบนนิวกินี กรณีที่มีข้อกังวลจากการรับประทานอาหารประเภทหอยที่เกรงว่าจะมีหนอนตัวแบนนิวกินีปะปนอยู่นั้น ว่าหากจะติดเชื้อเกิดจากการทานอาหารไม่ถูกสุขลักษณะ ควรหลีกเลี่ยงการกินหอยที่ไม่สุก โดยเฉพาะหอยโข่ง หอยขม ควรล้างทำความสะอาดผักบริเวณที่มีหอยทากและหนอนตัวแบนนิวกินีอาศัยอยู่ก่อนรับประทาน และหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำบริเวณที่หอยดังกล่าวอาศัยอยู่โดยไม่ผ่านการต้มหรือกรอง

นอกจากนี้ดร.นณณ์ ผาณิตวงศ์ ยังกล่าวต่อว่าหนอนชนิดนี้คือหนอนตัวแบนนิวกินีที่สามารถยืนยันได้ในระดับนึงตามสัณฐานวิทยาโดยมีผู้เชี่ยวชาญ แต่ต้องรอผล DNA ชี้ชัด เพื่อความแน่นอน 100%  และยังมีความกังวลหากหนอนตัวแบนนิวกินีเข้าไปในระบบนิเวศของธรรมชาติ อาจทำให้เกิดปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมหรือทางระบบนิเวศ จากการหารือของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในวันนี้ (16 พ.ย.) ได้มีการจัดตั้งทีมสำรวจข้อมูลการกระจายพันธุ์ของหนอนตัวแบนนิวกินีในไทย เพื่อศึกษาผลกระทบและหาแนวทางควบคุมไม่ให้กระจายมากขึ้นเพื่อรับมือกับหนอนตัวแบนนิวกินีในหลายพื้นที่ประเทศไทย 


แนะสำหรับวิธีการกำจัดหนอนตัวแบนนิวกินีเบื้องต้นให้คีบหนอนตัวแบนนิวกินีไปใส่ในกระปุกหรือขวดโหลแล้วนำเกลือมาโรยหรือนำน้ำร้อนมาลวก นอกจากนี้หากไม่แน่ใจว่าเป็นหนอนตัวแบนนิวกินีหรือไม่กระทรวงได้จัดตั้งกลุ่มไลน์เพื่อแจ้งและสอบถามเหตุโดยเฉพาะ ประชาชนผู้สนใจสามารถพิมพ์เข้ากลุ่มแจ้งได้ที่ @qbw4880w โดยสามารถส่งรูปภาพหนอนที่พบสอบถามผู้เชี่ยวได้โดยตรง ซึ่งเป็นอีกมาตรการที่ช่วยตอบข้อสงสัยและคลายความกังวลให้กับประชาชน.-สำนักข่าวไทย

ขอบคุณภาพและข้อมูล ประกอบจาก การแพร่ระบาดของหนอนตัวแบนนิวกินี
ในประเทศไทย

ดร.นณณ์ ผาณิตวงศ์ 

 กลุ่มอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ (siamensis.org) 16 พฤศจิกายน 2560


การพบในประเทศไทย ภาพโดย ชยจิต ดีกระจ่าง พ.ศ.2553 บางเขน กทม.

ข้อมูลทั่วไป ของหนอนตัวแบนนิวกินี

ชื่อวิทยาศาสตร์ Platydemus manokwari De Beauchamp, 1963

ความยาวเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 6-7 ซม. ความกว้างประมาณ 0.7-1 ซม.

ด้านบนสีน้ำตาลเข้มหรือดำมันวาวคล้ายเส้นเฉาก๊วย ในตัวที่มีสีอ่อนจะเห็นเส้นสีน้ำตาลอ่อนพาดกลางหลัง 

ด้านท้องสีขาวหม่น มีจุดสีขาวขนาดเล็กแสดงตำแหน่งของปาก อยู่เยื้องไปทางท่อนหางของแนวกึ่งกลางลำตัว 

กินหอยทากและทากเปลือยเป็นอาหารหลัก มีรายงานกินอาหารอื่นๆเช่น ไส้เดือน และ ซากสัตว์ต่างๆ 

การขยายพันธุ์ของหนอนตัวแบน

เป็นสัตว์ที่มีสองเพศในตัวเดียว แต่การขยายพันธุ์ต้องมีสองตัว 

วางไข่ในดินครั้งละ 5-10 ฟอง

ไข่ฟักภายใน 7-8 วัน

สามารถขยายพันธุ์ได้ภายใน 3 สัปดาห์ 

วางไข่ทุกๆ 7-10 วัน

วางไข่จนมีอายุมากกว่า 200 วัน (แต่บางตัวมีอายุถึง 2 ปีในที่เลี้ยง) 

อดอาหารได้เป็นปี 

ใช้ตัวเลขกลางๆพบว่า หนอนตัวแบนนิวกินีหนึ่งตัวจะให้ลูกได้ประมาณ 120 ตัวตลอดช่วงชีวิตที่สามารถขยายพันธุ์ได้ 

อ้างอิง: Kaneda, M.; Kitagawa, K.; Ichinohe, F. (1990). “Laboratory rearing method and biology of Platydemus manokwari De Beauchamp (Tricladida: Terricola: Rhynchodemidae)”. Applied Entomology and Zoology. 25 (4): 524–528

ถิ่นกำเนิดดั้งเดิม 

เกาะนิวกินี ประเทศอินโดนีเซีย และ ปาปัวนิวกินี 

เมืองมานกวาริเป็นเมืองท่าอยู่ติดทะเล ภูมิอากาศคล้ายประเทศไทย

เกาะนิวกินีอยู่ในเขตสัตวภูมิศาสตร์เดียวกับออสเตรเลีย 

การพบในประเทศไทย

 ภาพโดย ชยจิต ดีกระจ่าง พ.ศ.2553 บางเขน กทม.

รายงานครั้งแรกโดยนาย คุณมงคล อันทะชัย จาก จ.ปทุมธานี วันที่ 31 ตค. 2560

 ดร. Leigh Winsor และ ดร. Jean-Lou Justine ผู้ทำการศึกษาหนอนตัวแบนนิวกินีในหลายประเทศ ยืนยันผ่านทางภาพถ่ายว่าเป็นชนิดนี้ 

ดร. Leigh Winsor ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า หนอนตัวแบนกลุ่มนี้ตามธรรมชาติเป็นชนิดที่พบเฉพาะที่เกาะนิวกินี ออสเตรเลีย และเกาะในละแวกใกล้เคียงเท่านั้น ไม่น่าจะพบชนิดท้องถิ่นในประเทศไทย 

ตัวอย่างการรุกรานในประเทศญี่ปุ่น

หอยท้องถิ่นบนเกาะโอกาวาระทั้งหมด 25 ชนิด 16 ชนิดสูญพันธุ์ภายใน 25 ปี 

อ้างอิง: Chiba & Cowie, 2016, Evolution and Extinction of Land Snails on Oceanic Islands 

ก้าวต่อไป…

ตรวจ DNA เพื่อยืนยันชนิดให้ไม่มีข้อกังขาใดๆ 

เก็บข้อมูลการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยให้ครอบคลุมที่สุด

ตรวจหาพยาธิในกลุ่มประชากรต่างๆเพื่อการเฝ้าระวังโรคติดต่อ/ลดความกังวลของประชาชน 

จัดทำชุดข้อมูลเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชน 

วางแผนป้องกันไม่ให้เข้าไปในป่า 

วางแผนป้องกันไม่ให้มีการแพร่กระจายสู่แหล่งอื่นๆ(ประเทศเพื่อนบ้านและคู่ค้า) 

——————————

แถลงข่าวกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 16 พฤศจิกายน 2560 เวลา 10.00-12.00 น. ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานการประชุมหารือแนวทางการจัดการหนอนตัวแบนนิวกินี (Platydemus manokwari) ร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมป่าไม้ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กรมวิชาการเกษตร กรมควบคุมโรค สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.) ดร.นณณ์ ผาณิตวงศ์ กลุ่มอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม (Siamensis) เพื่อกำหนดแนวทาง เฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมหนอนตัวแบนนิวกินี (Platydemus manokwari) ตามที่สื่อต่าง ๆ ได้นำเสนอข่าวการพบหนอนตัวแบนนิวกินี ในประเทศไทย ซึ่งเป็นสัตว์ที่สหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ (IUCN) จัดให้เป็น ๑ ใน ๑๐๐ ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานที่น่ากลัวที่สุดของโลก (100 of the World’s Worst Invasive Alien Species) จนเกิดความตื่นตระหนกของประชาชนทั่วไป ที่มีความกังวลถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการพบหนอนตัวแบนนิวกินีในประเทศไทย ซึ่งอาจจะทำลายระบบนิเวศ เนื่องจากหนอนชนิดนี้กินหอยทากท้องถิ่น ไส้เดือน และสัตว์หน้าดินชนิดอื่น 
การประชุมได้ข้อสรุปร่วมกันถึงแนวทางการจัดการหนอนตัวแบนนิวกินี โดยบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในด้านวิชาการ การระบุชนิดพันธุ์ โดยการตรวจ DNA เพื่อยืนยันชนิดพันธุ์ของหนอนตัวแบนนิวกินี การสำรวจพื้นที่การแพร่กระจายในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศไทย (พื้นที่ชุมชน พื้นที่เกษตรกรรม และพื้นที่
ป่าไม้) การควบคุมผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในระบบความหลากหลายทางชีวภาพ การศึกษาการเป็นพาหะของโรค 
การป้องกัน เฝ้าระวัง และควบคุมการแพร่กระจาย รวมทั้ง การวางแผนป้องกันไม่ให้มีการแพร่กระจายเข้าสู่เขตพื้นที่ป่า 
การหลุดรอดปะปนไปกับสินค้านำเข้า – ส่งออก รวมทั้งการกำจัดที่ถูกต้อง พร้อมการประเมินความเสี่ยงผลกระทบต่อระบบนิเวศและสุขอนามัยของมนุษย์ ซึ่ง สกว. พร้อมให้การสนับสนุนทุนวิจัยแก่หน่วยงานต่าง ๆ ในการศึกษาวิจัย
องค์ความรู้เชิงลึก ควบคู่ไปกับการให้ข้อมูลเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่สาธารณชน โดยเฉพาะในเรื่องของผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน การป้องกันโดยการกินอาหารปรุงสุกด้วยความร้อน ตามสโลแกน “แจ้งข่าว กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ล้างผัก”ทั้งนี้ เมื่อพบเห็น ถ่ายรูป และแจ้งมาที่ line: @qbw4880w 
สำหรับการเสนอปรับสถานภาพของหนอนตัวแบนนิวกินี ตามทะเบียนรายการชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานของประเทศไทย จากรายการ ๔ ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานที่ยังไม่เข้ามาในประเทศไทย เป็นรายการ ๑ ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น
ที่รุกรานแล้ว หรือ รายการ ๒ ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่มีแนวโน้มรุกราน จะดำเนินการภายหลังจากรับทราบผลการสำรวจและประเมินความเสี่ยงแล้ว โดยจะนำเสนอต่อคณะทำงานวิชาการชนิดพันธุ์ต่างถิ่น คณะอนุกรรมการอนุสัญญา
ว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ และ คณะกรรมการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ (กอช.)  พิจารณาให้ความเห็นชอบตามลำดับต่อไป
——————–
ชมสดแถลงหนอนนิวกินี :คลิก 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

ฆ่ารัดคอขับโบลท์

รวบ “ไอ้แม็ก” ฆ่ารัดคอหญิงขับโบลท์ พบเคยถูกจับคดีโหด

จับแล้ว “ไอ้แม็ก” เดนคุก ฆ่ารัดคอหญิงขับโบลท์ ทิ้งร่างอำพราง ริมถนนห้วยพลู จ.นครปฐม ก่อนเอารถไปขาย สอบประวัติ พบเพิ่งพ้นโทษ คดีล่ามโซ่ล่วงละเมิดเด็กวัย 13 ปี นาน 1 สัปดาห์ เมื่อปี 2553

พายุโซนร้อนซูลิก

ฤทธิ์พายุโซนร้อนซูลิก ทำฝนเริ่มตกหนักในพื้นที่นครพนม

ฤทธิ์พายุโซนร้อน “ซูลิก” ทำฝนเริ่มตกหนักในพื้นที่ จ.นครพนม เจ้าหน้าที่ต้องเร่งเดินเครื่องสูบน้ำลงน้ำโขง

อุตุฯ เตือนพายุ “ซูลิก” ฉบับที่ 12 ฝนถล่มหลายจังหวัด

กรมอุตุฯ ออกประกาศเตือนพายุ “ซูลิก” ฉบับที่ 12 ภาคเหนือ อีสาน กลาง รวมทั้งกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมแรง