รัฐสภา 10 ก.พ.-สว.พันธุ์ใหม่ เรียกร้องเพื่อน สว. ร่วมโหวตวาระแรกแก้รัฐธรรมนูญ ไม่ต้องกังวลเพราะสุดท้ายต้องทำประชามติ ขอนายกฯ แสดงจุดยืนสนับสนุนร่างแก้ไข รธน.
นางนันทนา นันทวโรภาส สมาชิกวุฒิสภา (สว.) พร้อมส.ว. พันธุ์ใหม่ แถลงข่าวเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ประชาชนสนใจเพราะถือเป็นครั้งแรกที่ประธานรัฐสภาได้มีการบรรจุระเบียบวาระว่าด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญเข้าสู่การพัฒนาซึ่งถือเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามกระบวนการนิติบัญญัติที่ถูกต้องจึงเป็นข้อที่มีการถกเถียงกันในสังคมว่ามุมมองของคนที่มองเรื่องการแก้ไขและมนูญเป็นอย่างไร ซึ่งในมุมมองของ สว. พันธุ์ใหม่มองว่า 1.เราเห็นด้วยกับการทำประชามติแบบ 2 ครั้ง ซึ่งครั้งแรกจะเป็นการทำประชามติหลังการแก้รัฐธรรมนูญตามมาตรา 256 เรื่องที่มาของ ส.ส.ร. ให้ประชาชนเห็นด้วยกับวิธีการได้มาซึ่ง ส.ส.ร. 2.หลัง ส.ส.ร. ร่างเรียบร้อยแล้วก็จะมีการร่างประชามติ ให้ประชาชนโหวตรับร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ จึงมองว่าการทำประชามติ 2 ครั้ง เป็นการประหยัดงบประมาณ ทำให้เรารัฐธรรมนูญที่มาจากประชาชนและไม่สิ้นเปลืองงบประมาณ
ทั้งนี้ ตนเห็นด้วยกับร่างแก้ไชรัฐธรรมนูญของพรรคเพื่อไทย และพรรคประชาชน ซึ่งตรงกับจุดมุ่งหมายของกลุ่ม สว. พันธุ์ใหม่ ที่ ส.ส.ร. ควรมาจากการเลือกของประชาชน จึงจะสะท้อนการปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้มากที่สุด
ส่วนอำนาจในการแก้รัฐธรรมนูญของ สว. นั้น นางนันทนา ยอมรับว่า ที่มาของ สว. ต่างจาก สส. ซึ่งมาจากประขาชน ดังนั้นอยากให้อำนาจในการแก้รัฐธรรมนูญครั้งนี้มาจากสภาผู้แทนราษฎร พร้อมเชิญเพื่อน สว. มาร่วมประชุมเพื่อโหวต ให้กับการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 และหมวด 15/11
ด้าน นายเทวฤทธิ์ มณีฉาย สมาชิกวุฒิสภา กล่าวว่า ตอนนี้มี 3 ฝากด้วยกัน เนื่องจากอีก 3 วันจะมีการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดย 1.ฝากให้นายกฯ พูดถึงเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญ ซักครั้งก่อนถึงวันที่จะมีการประชุมร่วมรัฐสภาให้สมกับเป็นนโยบายของรัฐบาล รวมถึงหัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาลด้วย 2.ฝากถึง สส. บางพรรคที่อาจรู้สึกกังวลแต่อย่างน้อยขอให้มาร่วมเป็นองค์ประชุม 3.ฝากถึง สว. ว่าการประชุมครั้งนี้จะพิสูจน์ว่า สว. ชุดนี้ จะแตกต่างจาก สว. เดิมอย่างไร ในการเป็นองครักษ์พิทักษ์รัฐธรรมนูญฉบับรัฐประหารหรือไม่
ส่วนข้อกังวลในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยอ้างคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนั้น นายเทวฤทธิ์ มองว่าการแก้รัฐธรรมนูญมาตรา 256 และหมวด 15/1 เป็นเพียงการขอมติในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ พอแก้แล้วก็ต้องไปถามประชาชน ซึ่งสมเหตุสมผลอยู่แล้ว ต่างจากรัฐธรรมนูญ 2560 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ที่มีการทำประชามติเพียงครั้งเดียว ดังนั้นจึงไม่มีอะไรที่น่ากังวล พร้อมยืนยันไม่ใช่การตัดอำนาจ สว. และเป็นการทำให้อำนาจ สว. เสมอเทียบเท่ากับ สส. ที่มาจากเสียงของประชาชน ไม่ใช่กันเองแบบ สว..-312.-สำนักข่าวไทย