ป.ป.ช.ตรวจทุจริตพื้นที่ตรัง พบปัญหาทิ้งร้างการก่อสร้าง

ตรัง 5 ก.พ.- “สาโรจน์” นำทีมลงตรวจทุจริตพื้นที่ตรัง พบปัญหาทิ้งร้างการก่อสร้างวงเงินกว่า 2 พันล้านบาท พร้อมเปิดข้อมูลร้องทุจริตภาค 9 สูง รับออกเลข 388 เรื่อง ถูกร้องละเว้นการปฏิบัติหน้าที่มากสุด ตามด้วยปัญหาจัดซื้อจัดจ้าง ขณะที่ อปท. เป็นหน่วยงานถูกร้องมากที่สุด ในระดับภาคอันดับ 1 “ตรัง” แชมป์จังหวัดถูกร้อง 61 เรื่อง


นายสาโรจน์ พึงรำพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่จังหวัดตรัง เพื่อติดตามภารกิจป้องกันและปราบปรามการทุจริตในพื้นที่จังหวัดตรัง ระหว่างวันที่ 5-7 ก.พ.2568 พร้อมจัดเสวนาในประเด็น สถิติเรื่องร้องเรียนของสำนักงานป.ป.ช.ภาค 9 การบุกรุกที่ดินในเขตอุทยานแห่งชาติ หาดเจ้าไหม พื้นที่เกาะกระดาน ความเสี่ยงในการจัดจ้างต่อเติมงานก่อสร้างหอศิลป์พระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ

นายสาโรจน์ กล่าวเปิดงานว่า การลงพื้นที่จังหวัดตรังเป็นโอกาสครั้งแรกหลังเข้ารับตำแหน่งเลขาธิการ ป.ป.ช. ทั้งนี้ป.ป.ช.ทำงานหลายมิติทั้งป้องกัน ปราบปราม การตรวจสอบทรัพย์สิน เพื่อรักษาสมบัติชาติ อย่างที่ทราบไม่ว่าจะมีการป้องกันและปราบปรามการทุจริตมากน้อยแค่ไหน แต่ปัญหาการทุจริตในบ้านเรายังเป็นปัญหาสำคัญ ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศชาติ ดังนั้น การทำงานปราบปรามการทุจริต จึงต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วน ถ้า ป.ป.ช. มัวแต่ปราบอยู่ฝ่ายเดียวก็ไม่มีทางหมด เพราะจะมีการทุจริตที่ยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนที่มาในวันนี้คือการป้องกันการทุจริต และหาบทเรียน ทั้งมุมที่ประสบความสำเร็จและมุมที่เป็นปัญหาเพื่อหาทางป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการทุจริต


“ป.ป.ช. มีศูนย์ป้องกันและปรับทำการทุจริตแห่งชาติมีการเปิดรับข้อมูลชี้ช่องแจ้งเบาะแส หากประชาชนเห็นพฤติกรรมที่คิดว่าน่าจะมีพิรุธ หรือมีเหตุสงสัยก็ขอให้แจ้งเข้ามาแล้วเจ้าหน้าที่จะลงพื้นที่ จะหาข้อมูลในลักษณะของการเฝ้าระวัง ป้อมปราบก่อนการกระทำความผิด” นายสาโรจน์

นายสาโรจน์ ยังกล่าวว่า การลงพื้นที่ดูแลสภาพปัญหาต่างๆ ซึ่งมีทั้งมุมบวกและมุมลบ กรณีที่เป็นมุมบวกก็จะนำไปเป็นโมเดลเผยแพร่ให้กับหน่วยงานอื่นๆ รับให้ดำเนินการต่อไป ถ้าเป็นมุมลบก็ถือโอกาสในการป้องปรามและให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับวิธีการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

นายสาโรจน์ กล่าวอีกว่า กรณีมีเรื่องร้องเรียนเข้ามานั้น แม้จะมีจำนวนมาก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกอย่างจะมีความผิด ทั้งนี้ต้องพิจารณาว่าการกระทำที่ถูกกล่าวหาเป็นไปในลักษณะใด ซึ่งไม่ใช่เฉพาะในพื้นที่ภาค 9 ทุกภาคก็มีข้อมูลเรื่องการทุจริตและเรื่องร้องเรียนครบถ้วน ดังนั้น ป.ป.ช. จึงมีการวางแนวทาง การทำงานว่า ต้องเร่งรัดการทำงานในคดีสำคัญที่เกี่ยวข้องกับผู้มีอิทธิพล โดยสำนักงานป.ป.ช. ส่วนกลางจะเป็นผู้รับดำเนินการดำเนินการให้เร็ว ซึ่งจะเร่งดำเนินการให้เร็วตามกรอบของกฎหมายกำหนด ว่าจะต้องดำเนินการไต่สวนให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี แต่สามารถขยายเพิ่มเติมได้อีก 1-3 ปี จะช้าหรือเร็วอยู่ที่ปริมาณงานและความยุ่งยากของคดีที่ไม่เท่ากัน ซับซ้อนและการหาข้อมูลถึงการได้รับความร่วมมือจากหน่วยงาน อย่างไรก็ตามการดำเนินการไม่จำเป็นต้องต้องใช้เวลาครบตามกรอบที่กฎหมายกำหนดขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์และครบถ้วนของคดี


ด้านนายทวิชาติ นิลกาญจน์ ผู้ช่วยเลขาธิการ ป.ป.ช.ภาค 9 กล่าวว่า ในพื้นที่ภาค 9 ประกอบด้วย 7 จังหวัดกับ 1 ภาค มีเจ้าหน้าที่ทำหน้าที่ตำแหน่งพนักงานไต่สวนทั้งของภาคและจังหวัดรวม 41 คน มีการรับเรื่องออกเลขดำตรวจสอบเบื้องต้น 388 เรื่อง ดำเนินการแล้วเสร็จเข้าสู่ที่ประชุมจนได้เลขแดง 43 เรื่อง อยู่ในชั้นรอการพิจารณาอีก 25 เรื่อง ทั้งนี้ มีเรื่องไต่สวนเหลือในมือมี 345 เรื่อง เข้าที่ประชุม ป.ป.ช. พิจารณาแล้วเสร็จ 34 เรื่อง รอการพิจารณา 52 เรื่อง เหลือค้างในชั้นพนักงานไต่สวนอีก 193 เรื่อง เฉลี่ยเจ้าหน้าที่ 1 คนต้องดูแลคดี 7-8 เรื่อง ต้องขอบอกว่า เรื่องที่เข้าสู่ชั้นไต่สวนนั้น 70% จะถูกชี้มูล ซึ่งช่องทางในการร้องเรียนมายัง ป.ป.ช.คือ ประชาชนเดินเข้ามายื่นเรื่องร้องเรียนมากที่สุด รองลงมาคือเป็นบัตรสนเทศ ส่งทางเว็บไซต์ แสดงให้เห็นว่าประชาชนมีความตื่นตัว

สำหรับเรื่องที่ถูกร้องเรียนมากที่สุด คือการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 157 รองลงมาคือการจัดซื้อจัดจ้าง ส่วนหน่วยงานที่ถูกร้องเรียนเยอะที่สุด แต่ยังไม่ได้หมายความว่ากระทำความผิด คือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพราะเป็นหน่วยงานที่มีจำนวนมาก 7,850 แห่ง เป็นหน่วยงานที่ดูแลประชาชนตั้งแต่เกิดจนตาย มีฝ่ายค้านฝ่ายรัฐบาล จึงมีโอกาสถูกร้องเรียนเยอะเป็นเรื่องธรรมดา

ขณะที่หน่วยงานราชการ ที่ถูกร้องเรียนมากที่สุด คือหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 64 เรื่อง รองลงมาคือหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย โดยกรมการปกครอง มากที่สุด กรมที่ดิน และ สำนักปลัดกระทรวงมหาดไทย (สปมท. ) มีผู้ว่าและอดีตผู้ว่าที่ถูกกล่าวหาเข้ามาจำนวน 10 เรื่อง

ตามมาด้วยหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 40 เรื่อง ในจำนวนนี้เป็น การร้องเรียนกรมชลประทาน 27 เรื่องกระทรวงสาธารณสุข ถูกร้องเรียน 20 เรื่อง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ถูกร้องเรียน 31 เรื่อง ในจำนวนนี้เป็นของกรมอุทยานแห่งชาติ 20 เรื่อง สำนักงานตำรวจแห่งชาติจำนวน 27 เรื่องสถาบันอุดมศึกษา 20 เรื่อง และหน่วยงานทหารอีก 10 เรื่อง

สำหรับจังหวัดที่มีการร้องเรียนมากที่สุดในพื้นที่ภาค 9 ได้แก่ ตรัง 61 เรื่อง นราธิวาส 46 เรื่อง สงขลา 45 เรื่องปัตตานี 44 เรื่อง พัทลุง 40 เรื่อง และสตูล 22 เรื่อง สำหรับ จ.ตรังที่มีการร้องเรียนมากที่สุด อาจจะถือได้ว่าประชาชนในจังหวัดมีความตื่นตัว เวลาพบเห็นสิ่งผิดปกติจะร้องเรียน ซึ่งเรารับไว้ตรวจสอบเบื้องอยู่

นายบัณฑิต คณะสุวรรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดตรัง เปิดเผยว่า ป.ป.ช.ตรัง ไม่ได้ละเลยโครงการใดที่มีความสุ่มเสี่ยง คาดว่าจะเกิดปัญหาหรือมีแนวโน้มว่าการดำเนินการเป็นไปไม่ได้ ก็จะลงพื้นที่เข้าไปตรวจสอบ เช่น โครงการก่อสร้างอาคารสนามบินจังหวัดตรัง โครงการจัดจ้างต่อเติมงานก่อสร้างหอศิลป์พระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ รวมทั้งโครงการอื่นๆ ในจังหวัดตรัง กว่า 23 โครงการ งบประมาณกว่า 2,000 ล้านบาท ที่ทิ้งร้างเกิดปัญหา

นายสาโรจน์ กล่าวเสริมตอนท้ายว่า กรณีการเกิดทุจริตในพื้นที่จังหวัดตรังว่า ดูจากจังหวัดตรังจังหวัดเดียวมีมูลค่าความเสียหายถึง 2,000 ล้านบาท หากมองไปในระดับประเทศก็พบว่าหลายจังหวัดก็มีลักษณะการทุจริตสร้างเสียหายหลายพันล้าน ซึ่งงบประมาณที่เสียไปไม่สามารถที่จะเรียกร้องกลับมาได้ ดังนั้นเราต้องหยุดโครงการทิ้งร้าง ซึ่งสำนักงาน ป.ป.ช. มีมาตรการป้องกัน ปราบปรามและเฝ้าระวังไม่ให้เกิดการทุจริต รวมทั้งเห็นว่าหากมีโครงการทิ้งร้างแม้ไม่มีผู้ร้องเรียนเข้ามา ป.ป.ช. ชุดสืบสวนออกไปหาข้อมูลและสามารถที่จะหยิบยกขึ้นมาตรวจสอบได้เพราะอยู่ในอำนาจหน้าที่ ทางการรวบรวมข้อมูลเสนอแนะเสนอแนะแนวทางและมาตรการต่อคณะรัฐมนตรีหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้สื่อมวลชนก็ยังมีส่วนสำคัญที่จะช่วยจุดสร้างประเด็น ให้แต่ละหน่วยงานได้เข้ามาแก้ปัญหา รับผิดชอบในสิ่งที่เกิดขึ้น ไปต่อหรือพอแค่นี้ .314.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ตัดไฟแก๊งคอลเซ็นเตอร์

PEA ตัดไฟแก๊งคอลเซ็นเตอร์บริเวณชายแดนไทย-เมียนมา 5 จุด

เริ่มแล้ว การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) รับนโยบาย สมช.สั่งตัดไฟฟ้าแก๊งคอลเซ็นเตอร์ในฝั่งเมียนมา 5 จุด เมื่อเวลา 09.00 น. วันนี้

บุกจับกำนันหญิงแหนบทองคำ ฉ้อโกง 41 ล้าน

ตำรวจพิษณุโลกเปิดปฏิบัติการ “หักขาไก่” นำ 10 หมายจับ รวบตัว “กำนันหญิงแหนบทองคำ” ประธานกองทุนหมู่บ้าน กับคณะกรรมการกองทุนฯ ร่วมฉ้อโกงประชาชน หลังชาวบ้าน 140 ราย แจ้งความ มูลค่าความเสียหาย 41 ล้านบาท

ชาวเมียวดีหวั่นถูกตัดไฟฟ้า เตรียมเทียนไข-ไฟโซลาร์เซลล์

ชาวบ้านเมียวดี ฝั่งเมียนมา ตรงข้ามชายแดนแม่สอด จ.ตาก หวั่นไทยตัดไฟฟ้า กระทบวงกว้าง เตรียมเทียนไข-ไฟโซลาร์เซลล์-เครื่องปั่นไฟ รับมือ ด้าน PEA ชี้ตัดไฟเมียนมาอาจสูญเปล่า หากไม่พิจารณาให้ครบถ้วน

ข่าวแนะนำ

นายกฯ​ ยกคณะเยือนจีน หารือความร่วมมือรอบด้าน

นายกรัฐมนตรี​ ยกคณะเยือนจีนอย่างเป็นทางการ หารือความร่วมมือรอบด้าน แก้ไขปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์-อาชญากรรมข้ามชาติ ย้ำไทยปลอดภัย พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวจีนตลอดปี สานต่อ​รถไฟความเร็วสูง-แลนด์บริดจ์ ขณะที่เตรียมรับแพนด้ายักษ์คู่ใหม่​ และจะไปให้กำลังใจนักกีฬาไทยแข่งเอเชียนเกมส์ฤดูหนาว

ยายวัย 85 ดีใจได้เงินคืน ถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกโอน 2 ล้าน

อายัดบัญชี อดีตข้าราชการครูวัย 85 ปี ดีใจได้เงินคืน หลังถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์อ้างเป็นเจ้าหน้าที่ ก.คลัง หลอกโอนเงิน 2 ล้านบาท

รถทัวร์ชนต้นไม้

รถทัวร์ กทม.-เชียงใหม่ ตกร่องถนนชนต้นไม้ ดับ 2 เจ็บกว่า 30

รถโดยสารกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ขับส่ายไปมา ก่อนเสียหลักตกร่องกลางถนนพุ่งชนต้นไม้ใหญ่ เสียชีวิต 2 ราย เจ็บกว่า 30 คน สาเหตุอยู่ระหว่างตรวจสอบ