การท่าเรือฯ ลงนามท่าเรือเมืองโยโกฮามา พัฒนากิจการท่าเรือ

เมืองโยโกฮาม่า 22 ม.ค.-“สุริยะ” นำการท่าเรือฯ ลงนาม LOI ร่วมกับเมืองโยโกฮามา ย้ำความสัมพันธ์ครบรอบ 10 ปี จับมือพัฒนากิจการท่าเรือ-โครงสร้างพื้นฐาน-บุคลากร-สิ่งแวดล้อม-ชุมชนของทั้งสองท่าเรือ ให้มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามมาตรฐานสากลด้วยความยั่งยืน

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นำการท่าเรือแห่งประเทศไทย ร่วมลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงระหว่างการท่าเรือฯ และเมืองโยโกฮาม่า และประชุมร่วมกับบริษัท Yokohama-Cargo-Center (YCC) พร้อมด้วยนายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานกรรมการการท่าเรือฯ คณะกรรมการการท่าเรือฯ นายเกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข ผู้อำนวยการการท่าเรือฯ และผู้บริหารการท่าเรือฯ ณ ประเทศญี่ปุ่น


นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในวันนี้นับเป็นอีกก้าวที่สำคัญสำหรับการลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนง (Letter of Intent : LOI) ฉบับใหม่ เพื่อยกระดับความสัมพันธ์และความร่วมมือในด้านการพัฒนากิจการท่าเรือ โครงสร้างพื้นฐานและพื้นที่หลังท่า ส่งเสริมการตลาด เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมพร้อมสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้ชุมชนของทั้งสองท่าเรือ เพื่อก้าวเป็นท่าเรือที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน รวมทั้งการส่งเสริมความร่วมมือเชิงวิชาการระหว่างกัน โดยเมืองโยโกฮาม่าจะสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญเพื่อร่วมการศึกษาโครงการพัฒนาท่าเรือกรุงเทพและการใช้ประโยชน์พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการสำคัญ (Flagship Project) ตามนโยบายของกระทรวงคมนาคม และจะสนับสนุนความช่วยเหลือเชิงวิชาการในด้านการพัฒนาท่าเรือสีเขียว การส่งเสริมโครงการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Decarbonization) มุ่งพัฒนาบุคลากรให้มีความพร้อม พัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล และการตลาดเชิงรุก เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันในอนาคต

นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคมในฐานะประธานกรรมการการท่าเรือฯ กล่าวต่อว่า การเดินทางเยือนโยโกฮาม่าในครั้งนี้ เป็นการเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ครบรอบ 10 ปี ระหว่างการท่าเรือฯ และเมืองโยโกฮาม่า แสดงถึงมิตรภาพและความร่วมมือระหว่างไทยกับญี่ปุ่นที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องและมั่นคง ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ปี 2557 อีกทั้ง ท่าเรือโยโกฮาม่ายังมีการพัฒนาท่าเรือที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล มุ่งเน้นการยกระดับการให้บริการท่าเรือที่ประสิทธิภาพปลอดภัย รวดเร็ว และแม่นยำ ส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของท่าเรือเพื่อรองรับเรือขนาดใหญ่ พัฒนาพื้นที่หลังท่าเพื่อให้เกิดการบูรณาการที่เชื่อมโยงระบบการขนส่ง เพื่อลดปัญหาการจราจร และลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ ทั้งยังมีการพัฒนาโครงการ Minato Mirai 21 ซึ่งเป็นพื้นที่ริมน้ำสำหรับชุมชนและเป็นจุดชมวิวที่สำคัญ ที่สามารถสร้างเศรษฐกิจในพื้นที่รวมถึงการสร้างงานให้กับชุมชน นอกจากนี้ ท่าเรือโยโกฮาม่ายังให้ความสำคัญกับการส่งเสริมอุตสาหกรรมการขนส่งทางทะเลอย่างยั่งยืน โดยการประกาศนโยบาย Net Zero Carbon ภายในปี 2593 ซึ่งสนับสนุนการใช้เรือลากจูงพลังงานแอมโมเนีย และให้สิทธิพิเศษกับรถบรรทุกและเรือที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือเป็นต้นแบบในการพัฒนาเพิ่มศักยภาพและยกระดับมาตรฐานของการท่าเรือฯ


นายเกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข ผู้อำนวยการการท่าเรือฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ภายหลังพิธีลงนามฯ และการหารือในครั้งนี้ ทราบว่าการพัฒนาในด้านต่างๆ ของท่าเรือโยโกฮาม่า มีแนวทางการพัฒนาและกำหนดนโยบายเช่นเดียวกับกระทรวงคมนาคมที่มุ่งเน้นการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาพื้นที่ท่าเรือกรุงเทพให้เกิดประโยชน์สูงสุด ควบคู่กับการบริหารจัดการด้านจราจร ชุมชน และสิ่งแวดล้อม เพื่อก้าวสู่ Smart & Green Port รองรับการเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งการเดินทางมาศึกษาดูงานในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์กับการท่าเรือฯ ในการแลกเปลี่ยนมุมมองการพัฒนาท่าเรือและสามารถนำมาปรับใช้กับการพัฒนาท่าเรือ รวมทั้งต่อยอดในโครงการต่างๆ ในหลายประเด็น อาทิ

1)การพัฒนาท่าเรือให้เป็นเมืองท่าและศูนย์กระจายสินค้า การพัฒนาศูนย์โลจิสติกส์ของท่าเรือโยโกฮาม่าสามารถเป็นหนึ่งในต้นแบบสำหรับโครงการพัฒนาท่าเรือกรุงเทพประกอบด้วย 3 โครงการหลัก ได้แก่ โครงการพัฒนาศูนย์กระจายสินค้าอาคารสำนักงาน และพื้นที่สนับสนุนท่าเรือกรุงเทพ (Bangkok Logistics Park) ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศได้ถึง 1.41 พันล้านบาท หรือประมาณ 0.01% ของ GDP อีกทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าผ่านท่าเรือกรุงเทพ ส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ กระตุ้นเศรษฐกิจและเกิดการสร้างงาน ช่วยยกระดับภาพลักษณ์ของท่าเรือกรุงเทพให้เป็นท่าเรือที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สอดคล้องกับเป้าหมายของรัฐบาลในการพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ในภูมิภาค
2)การพัฒนาและบริหารจัดการพื้นที่หลังท่าให้เกิดประโยชน์สูงสุดพร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน
การพัฒนาพื้นที่หลังท่าของเมืองโยโกฮาม่า โดยเฉพาะการพัฒนาทางยกระดับ ถือเป็นแนวทางในการต่อยอดโครงการพัฒนาทางเชื่อมต่อท่าเรือกรุงเทพและทางพิเศษสายบางนา-อาจณรงค์ (S1) เพื่อเชื่อมต่อท่าเรือกรุงเทพกับทางพิเศษ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้า ลดปัญหาจราจรติดขัดรอบพื้นที่ท่าเรือ รองรับการขยายตัวของโครงการ Smart Community และ Smart City และเพิ่มมูลค่าที่ดินของการท่าเรือฯ นอกจากนี้ยังช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยรอบด้วยการลดปัญหาการจราจรและอุบัติเหตุ จากการศึกษาความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจพบว่าโครงการนี้มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) อยู่ในช่วง 1,187.02 – 1,528.77 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนภายในจากการลงทุน (EIRR) อยู่ระหว่าง 17.99% – 19.51% และอัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน (B/C Ratio) อยู่ที่ 1.60 – 1.77 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความคุ้มค่าในการลงทุน
3)การพัฒนาระบบการให้บริการโลจิสติกส์เพื่อลดปัญหาการจราจร โดยพัฒนาพื้นที่จุดพักรถบรรทุก (Truck Parking) ควบคู่กับการใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการจราจร (Truck Q) เพื่อลดปัญหาการจราจรทั้งภายในและภายนอกท่าเรือ โดยจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็น อาทิ ร้านอาหาร ฯลฯ สำหรับรถบรรทุกที่เข้ามารอเวลารับ-ส่งสินค้าจากสายเรือ
4)การพัฒนาท่าเทียบเรือสำราญและสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อส่งเสริมภาคการท่องเที่ยว การบริหารจัดการและพัฒนาท่าเรือท่องเที่ยวให้มีประสิทธิภาพ โดยพัฒนาโครงการ Bangkok Port Passenger Cruise Terminal บนพื้นที่ 67.41 ไร่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยาให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งและการท่องเที่ยวทางน้ำ เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวและส่งเสริมเศรษฐกิจในระยะยาว โดยคำนึงถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามแนวคิด Eco City โดยโครงการนี้จะช่วยยกระดับภาพลักษณ์ของประเทศไทยในฐานะจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวชั้นนำและสร้างรายได้ให้กับประเทศอีกด้วย นอกจากนี้ การท่าเรือฯ จะเร่งพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล โดยเฉพาะระบบ Port Automation และ Port Community System รวมทั้งการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการดำเนินงาน ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ยกระดับประสิทธิภาพระบบคมนาคมและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้ชุมชนต่อไป

สำหรับประเทศญี่ปุ่นนับเป็นคู่ค้าที่สำคัญของไทย (อันดับที่ 3) โดยมีเมืองโยโกฮาม่าเป็นเมืองที่มี ขนาดใหญ่และมีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 รองจากโตเกียว และมีท่าเรือโยโกฮาม่าที่เป็นท่าเรือสำคัญ ซึ่งกำกับดูแลโดยเมืองโยโกฮาม่าและประกอบการท่าเทียบเรือตู้สินค้าโดยบริษัท Yokohama Kawasaki International Port Corporation (YKIP) เป็นท่าเรือที่มีปริมาณตู้สินค้าผ่านท่าสูงเป็นอันดับ 2 ของประเทศญี่ปุ่น หรืออันดับที่ 68 ของโลก รองจากท่าเรือโตเกียว (อันดับที่ 46 ของโลก) โดยในปี 2566 มีปริมาณตู้สินค้าผ่านท่า 3.02 ล้าน ทีอียู เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.68 จากปีก่อนหน้า นอกจากนี้ ท่าเรือโยโกฮาม่าเป็นท่าเรือท่องเที่ยวอันดับที่ 1 ของประเทศญี่ปุ่น โดยในปี 2566 รองรับเรือท่องเที่ยว จำนวน 171 ลำ และผู้โดยสาร จำนวน 467,536 คน โดยท่าเรือโยโกฮาม่าสร้างมูลค่าเชิงเศรษฐกิจคิดเป็นร้อยละ 30 ของรายได้ทั้งหมดของเมืองโยโกฮาม่า.-513.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

คนขับแท็กซี่ตายคารถ กว่าจะรู้ผ่านไปหลายชม.

รถแท็กซี่จอดอยู่ป้ายรถเมล์ตั้งแต่เที่ยงจนถึงเย็น มีผู้โดยสารขึ้นรถ แล้วก็ลงมา แถมถูกบีบแตรไล่ จนพ่อค้าขายข้าวโพดต้มเข้าไปเรียกพบคนขับนอนคอพับเสียชีวิต

ถอนตัวWHO

“ทรัมป์” ลงนามในคำสั่งให้สหรัฐถอนตัวจากการเป็นสมาชิกอนามัยโลก

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐกล่าววานนี้ว่า สหรัฐจะออกจากการเป็นสมาชิกองค์การอนามัยโลก โดยเขาระบุว่า องค์การอนามัยโลกดำเนินการผิดพลาดในการรับมือกับโรคโควิด-19

พิตบูลขย้ำหัวพระ

“อเมริกันบูลลี่” ขย้ำหัวพระ-กัดข้อมือหาย มรณภาพคากุฏิ

สลด! หลวงพี่ เลขาเจ้าอาวาสวัด เลี้ยงอเมริกันบูลลี่ไว้ตั้งแต่เป็นลูกสุนัข ผ่านไปปีกว่า ถูกขย้ำหัวมรณภาพคากุฏิ ข้อมือขาดหายไป ยังหาไม่พบ

ข่าวแนะนำ

จำคุกทนายเดชา

ศาลสั่งจำคุก 1 ปี “ทนายเดชา” ปมไลฟ์หมิ่น “อ.อ๊อด”

ศาลสั่งจำคุก 1 ปี “ทนายเดชา” คดีหมิ่น “อ.อ๊อด” ปรับ 1 แสนบาท ปมไลฟ์ด่าเสียหาย ให้รอลงอาญา โจทก์เตรียมอุทธรณ์ต่อ ขอให้ติดคุกจริง

ตรวจสอบสิทธิ์เงินหมื่น

ตรวจสอบสิทธิ์เงินหมื่นคนอายุ 60+ ผ่านแอป “ทางรัฐ” ได้แล้ว

“จิรายุ” ย้ำเงินหมื่นเฟส 2 มอบคนอายุ 60+ รัฐบาลพร้อมโอนไม่มีเปลี่ยนแปลงแล้ว วันจันทร์ที่ 27 ม.ค.นี้ แน่นอน สามารถตรวจสอบสิทธิ์ผ่านแอป “ทางรัฐ” ได้แล้ววันนี้ ส่วนคนไม่มีสมาร์ทโฟน ฝากลูกหลานช่วยด้วย

นายกฯหารือบริษัทยา

นายกฯ ถกบริษัทยา Astrazeneca พร้อมร่วมมือด้านวิจัยและพัฒนาในไทย

บริษัทยาระดับโลก Astrazeneca หารือนายกฯ ยืนยันไทยยังเป็นพันธมิตรที่ดีมายาวนาน พร้อมร่วมมือด้านวิจัยและพัฒนาในไทยอย่างต่อเนื่อง ขณะที่นายกฯ มั่นใจการแพทย์ของไทยติดระดับโลก ยืนยันหลายประเทศทั่วโลกบินมารักษาในไทยจำนวนมาก

ค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน

ค่าฝุ่น PM 2.5 เกินมาตรฐาน 60 จังหวัด สูงต่อเนื่องถึง 27 ม.ค.

กรมควบคุมมลพิษ เผยวันนี้ค่าฝุ่น PM 2.5 เกินมาตรฐาน 60 จังหวัด สูงต่อเนื่องถึง 27 ม.ค. ประสานทุกหน่วยงานยกระดับการแก้ไขปัญหา พร้อมเตือนประชาชนเฝ้าระวังสุขภาพและปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข