กรมวิทย์เผยไทยยังพบโควิดสายพันธุ์ JN.1* เป็นหลัก

25 พ.ย.- กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยสถานการณ์โควิดในไทยพบสายพันธุ์ JN.1* ยังคงเป็นสายพันธุ์หลัก และเป็นสายพันธุ์ที่องค์การอนามัยโลกเฝ้าระวังร่วมกับสายพันธุ์ BA.2.86*


นพ.ยงยศ ธรรมวุฒิ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยถึงสถานการณ์สายพันธุ์เชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ทั่วโลกว่า องค์การอนามัยโลกให้ความสำคัญกับการติดตาม Omicron จำนวน 9 สายพันธุ์ จากพื้นฐานของข้อมูลการเพิ่มความชุกหรือความได้เปรียบด้านอัตราการเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับสายพันธุ์อื่น ๆ และการกลายพันธุ์ในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการได้เปรียบในการก่อโรคได้แก่ สายพันธุ์ที่เฝ้าระวัง หรือ Variants of Interest (VOI)จำนวน 2 สายพันธุ์ ได้แก่ BA.2.86และJN.1 สายพันธุ์ที่ต้องจับตามอง หรือ Variants under monitoring (VUM) จำนวน 7 สายพันธุ์ ได้แก่ JN.1.7, JN.1.18,KP.2, KP.3, KP.3.1.1, LB.1* และ XEC ซึ่งสายพันธุ์ XEC เป็นสายพันธุ์ลูกผสมของ KS.1.1 และ KP.3.3 ส่วนมากพบในทวีปยุโรปและอเมริกา โดยอาการและความรุนแรงขึ้นกับภูมิคุ้มกันแต่ละบุคคล

จากฐานข้อมูลกลาง GISAID ระหว่างวันที่ 19 สิงหาคมถึงวันที่ 15 กันยายน 2567 พบว่า KP.3.1.1* (สายพันธุ์ย่อยของ KP.3) พบมากที่สุด ในสัดส่วน 46.6%โดยมีอัตราการพบที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง JN.1 พบสัดส่วน 16% มีอัตราการพบที่ลดลงต่อเนื่อง สายพันธุ์ KP.3, KP.2, LB.1, JN.1.18, JN.1.7* มีแนวโน้มลดลง โดย KP.3* คิดเป็น 14.4%, KP.2* คิดเป็น 8.1%, LB.1* คิดเป็น 6.3%, JN.1.18* คิดเป็น 1.2% และ JN.1.17* คิดเป็น 0.1%ตามลำดับ,สายพันธุ์ XEC มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในสัดส่วน 4.8%และสายพันธุ์ Recombinant มีอัตราส่วนการพบเพิ่มขึ้นในสัดส่วน 2.3%


นพ.ยงยศ กล่าวอีกว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ร่วมมือกับเครือข่ายห้องปฏิบัติการเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง และเผยแพร่ผ่านฐานข้อมูลสากล GISAID จำนวน 46,952 ราย นับตั้งแต่เริ่มสถานการณ์ระบาดโรคโควิด 19 ในประเทศไทยเดือนมกราคม 2563 ถึง 11 พฤศจิกายน 2567 สำหรับสถานการณ์โอมิครอนในประเทศไทยสายพันธุ์JN.1* ยังคงเป็นสายพันธุ์หลัก จำนวน 1,253 ราย คิดเป็นสัดส่วนสะสม 48.57% ของสายพันธุ์ทั้งหมดที่พบในประเทศไทย [JN.1* ทั่วโลก จำนวน 219,972 ราย จาก 102 ประเทศ(อ้างอิงฐานข้อมูล CoV-spectrum ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน 2567)] ส่วนสายพันธุ์ FLiRT ที่พบในประเทศไทย ได้แก่ สายพันธุ์ LB.1, KP.2,KP.3* และสายพันธุ์ XEC

สำหรับข้อมูลการถอดรหัสพันธุกรรมเชื้อก่อโรคโควิด 19 จากห้องปฏิบัติการฝ่ายไวรัสระบบทางเดินหายใจ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุขกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ระหว่างวันที่ 23 กันยายนถึงวันที่ 25 ตุลาคม 2567 จำนวน 69รายพบสายพันธุ์ JN.1* จำนวน 25 ราย คิดเป็นสัดส่วน 36.2% สายพันธุ์KP.2* (สายพันธุ์ย่อยของ JN.1.11.1) จำนวน 17 ราย คิดเป็นสัดส่วน 24.6% จำนวน 9 ราย คิดเป็นสัดส่วน 13.0%, สายพันธุ์ XEC (สายพันธุ์ลูกผสมของ KS.1.1 และ KP.3.3) จำนวน 4 ราย คิดเป็นสัดส่วน 5.8% ซี่งพบในเขตสุขภาพที่ 4 และ 13 , สายพันธุ์ KP.3 (สายพันธุ์ย่อยของ JN.1.11.1), KP.3.1.1 (สายพันธุ์ย่อยของ JN.1.11.1) และ JN.1.18 จำนวนสายพันธุ์ละ 3 ราย คิดเป็นสัดส่วนสายพันธุ์ละ 4.3% .-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ตึกถล่มพบเสียชีวิตเพิ่ม

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่าง

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ในพื้นที่โซน B และโซน C มีซากอาคารถล่มทับร่างอยู่ ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่างและค้นหาผู้สูญหายใต้ซากอาคารต่อเนื่อง

ชายวัย 50 ไหว้ขอโทษ ไม่มีเจตนากุเรื่องเมียท้อง 4 เดือน ติดใต้ซากตึก สตง.

ชายวัย 50 ปี ยกมือไหว้ขอโทษ ไม่มีเจตนากุเรื่องภรรยาท้อง 4 เดือน ติดใต้ซากอาคาร สตง.ถล่ม ด้านรอง ผบช.น. เตือนอย่าใช้โอกาสที่มีผู้ประสบเหตุสร้างความสงสารหลอกเอาทรัพย์สิน มีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน

ออกแล้ว! ผลตรวจเหล็ก 28 ชิ้น ตึก สตง.ถล่ม พบไม่ได้มาตรฐาน 13 ชิ้น

ผลตรวจตัวอย่างเหล็ก 28 ชิ้น ตึก สตง.ถล่มจากแผ่นดินไหว พบได้มาตรฐาน 15 ชิ้น ไม่ได้มาตรฐาน 13 ชิ้น ยังไม่สรุปเป็นสาเหตุตึกถล่ม ชี้ต้องดูหลายองค์ประกอบ

ข่าวแนะนำ

เริ่มใช้เครื่องจักรหนักเปิดซากอาคาร สตง.ถล่ม

102 ชั่วโมงแล้ว สำหรับปฏิบัติการค้นหาผู้รอดชีวิตจากเหตุอาคาร สตง.ถล่ม หน่วยกู้ภัยจากนานาชาติให้ความหวังว่ายังมีโอกาสเจอผู้รอดชีวิต ทำให้การค้นหาวันนี้ต้องแข่งกับเวลาอย่างเต็มที่

ทองไทยนิวไฮต่อเนื่อง ปิดตลาดเพิ่มขึ้น 550 บาท

ทองคำไทยผันผวนหนัก ปรับเปลี่ยน 18 ครั้ง ก่อนปิดตลาดปรับเพิ่ม 550 บาท ระหว่างวันขึ้นไปแตะนิวไฮ ทองคำแท่งขายออก 50,700 บาท ทองรูปพรรณขายออก 51,500 บาท ขึ้นไป ต่อเนื่อง