fbpx

ตั้งวอร์รูมแก้ไขปัญหาพะยูนตายต่อเนื่อง ปี 67 ตาย 20 ตัวแล้ว

กรุงเทพฯ 12 พ.ค. -“พัชรวาท” สั่งกรม ทช. และกรมอุทยานฯ ตั้งวอร์รูม แก้ปัญหาพะยูนฝั่งอันดามันตายต่อเนื่อง โดย 5 เดือนแรกปี 67 ตายแล้ว 20 ตัว ขอความร่วมมือทุกภาคส่วนคุ้มครองพะยูน ซึ่งเป็นสัตว์ป่าสงวน พร้อมพิจารณาใช้มาตรการปิดการท่องเที่ยวและกันพื้นที่คุ้มครองทางทะเล หาแนวทางอนุรักษ์เพื่อไม่ให้สูญพันธุ์


พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเปิดเผยว่า สั่งการให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชตั้งศูนย์บัญชาการร่วมเพื่อแก้ไขปัญหาพะยูนซึ่งสัตว์ทะเลหายากตายเป็นจำนวนมากและถี่ขึ้นในฝั่งทะเลอันดามัน บริเวณจังหวัดสตูล ตรัง กระบี่ พังงา ภูเก็ต และระนอง

พะยูนเป็นสัตว์ป่าสงวนลำดับที่ 6 ตามพ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 โดยพบเห็นได้มากที่จังหวัดตรัง บริเวณเกาะลิบง เกาะมุกด์ จังหวัดกระบี่ บริเวณเกาะปู เกาะจำ เกาะศรีบอยา เกาะลันตา และพื้นที่ตามแนวชายฝั่งทะเล


ในอดีตพบการตายของพะยูนจากการเจ็บป่วยตามธรรมชาติ การต่อสู้กันเองติดเครื่องมือประมงโดยบังเอิญ หรือถูกเรือชนหรือถูกใบจักรเรือฟัน แต่ปัจจุบันสืบเนื่องจากสภาวะโลกร้อน ทำให้แหล่งหญ้าทะเลเกิดการเสื่อมโทรมและสูญหายเป็นจำนวนมาก พะยูนบางส่วนที่อาศัยอยู่บริเวณจังหวัดตรังและกระบี่ เคลื่อนย้ายถิ่นไปหากินแหล่งหญ้าทะเลตามแนวชายฝั่งในพื้นที่จังหวัดอื่นๆ ใกล้เคียง จากการอพยพย้ายถิ่น ยังไม่สามารถปรับตัวได้ดีพอ ประกอบกับปริมาณการสัญจรทางน้ำและกิจกรรมประมงที่มีมากในพื้นที่โดยเฉพาะบริเวณอ่าวพังงา ส่งผลให้พะยูนมีอัตราการตายจากอุบัติเหตุทางน้ำและอุปกรณ์ทางการประมงมากขึ้น

Screenshot

พล.ต.อ. พัชรวาทกล่าวว่า กำชับให้ทั้งสองหน่วยงานร่วมกันกำหนดแนวทางสำหรับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตายจากอุบัติเหตุของพะยูน ในพื้นที่การแพร่กระจายของพะยูนและแหล่งหญ้าทะเล บริเวณอ่าวพังงา 11 พื้นที่ได้แก่ 1. อ่าวตังเข็น ภูเก็ต 2. อ่าวป่าคลอก ภูเก็ต 3. อ่าวบ้านคลองเคียน พังงา 4. เกาะหมาก พังงา 5. ช่องหลาด เกาะยาว พังงา 6. อ่าวท่าปอม กระบี่ 7. อ่าวนาง กระบี่ 8. อ่าวน้ำเมา กระบี่ 9. เกาะศรีบอยา เกาะปู กระบี่ 10. เกาะลันตา กระบี่ และ 11. แหลมไทร กระบี่

นายปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งกล่าวว่า ได้ให้ความสำคัญต่อการสร้างความเข้าใจกับเครือข่ายชุมชนชายฝั่งและชาวประมงถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องร่วมมือกันคุ้มครองไม่ให้พะยูนสูญพันธุ์ไปจากท้องทะเลไทย


ทั้งนี้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะกลุ่มเครือข่ายชุมชนชายฝั่งเป็นกำลังสำคัญของการทำงาน โดยกรมทช. และกรมอุทยานฯ จะเป็นพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำ ทำความเข้าใจ และเพิ่มเติมความรู้ในด้านต่างๆ เช่น งดการใช้เครื่องมือประมงที่เป็นอันตรายต่อชีวิตพะยูนในแหล่งที่อยู่อาศัยของพะยูน หรือในแหล่งหญ้าทะเล ปฏิบัติตามกฎหมาย และไม่ทำการประมงในพื้นที่ที่มีพะยูนอาศัยอยู่ เป็นต้น

นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานฯ กล่าวว่า ได้ร่วมกับกรมทช. หาแนวทางในการกำหนดมาตรการในการดูแลป้องกันการบาดเจ็บและตายของสัตว์ทะเลหายาก โดยเฉพาะพะยูนซึ่งปัจจุบันพบการเกยตื้นเพิ่มขึ้นเนื่องจากแหล่งหญ้าทะเลซึ่งเป็นอาหารของพะยูนเสื่อมโทรมลง ส่งผลให้มีการเคลื่อนย้ายประชากรพะยูนไปยังแหล่งหญ้าทะเลอื่นซึ่งอาจมีการสัญจรทางน้ำและการทำประมงจำนวนมากจนเกิดอุบัติเหตุทำให้พะยูนตาย

ทั้งนี้อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพีเสนอมาตรการอนุรักษ์พะยูนและแหล่งหญ้าทะเลด้วยการจัดทำเครื่องหมายแสดงเขตหญ้าทะเลและพื้นที่เสี่ยงที่พะยูนใช้ในการเดินทางอพยพหากิน โดยจะทำเป็นข้อปฏิบัติแล้วออกเป็นประกาศอุทยานแห่งชาติ เพื่อเป็นตัวอย่างและขยายผลไปยังพื้นที่ป่าอนุรักษ์ทางทะเลในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป

สำหรับมาตรการที่ทั้งสองหน่วยงานจะดำเนินการร่วมกันมีดังนี้

1. หากมีการพบเห็นพะยูนได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ให้โทรแจ้งสายด่วนหมายเลข 1362 เพื่อกรมทช. และกรมอุทยานฯ จะประสานเจ้าหน้าที่ในบริเวณใกล้เคียงเข้าไปช่วยเหลือเพื่อนำส่งศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ทะเลหายากของกรมทช. ที่มีอยู่ในพื้นที่

2. ประกาศให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวและประชาชนที่ใช้ยานพาหนะในการสัญจรทางน้ำ เดินเรือตามแนวร่องน้ำหลัก โดยขอความร่วมมือให้งดการเดินเรือในบริเวณแหล่งหญ้าทะเล และหากจำเป็นต้องเดินเรือผ่านแนวเขตหญ้าทะเล โดยให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 3 นอตและไม่เกิน 20 นอตในพื้นที่ชายฝั่งที่เป็นเขตการแพร่กระจายพะยูน

3. ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนที่ประกอบอาชีพประมงในพื้นที่หญ้าทะเลและแหล่งแพร่กระจายของพะยูน หมั่นตรวจเช็ค ดูแลเฝ้าระวังเครื่องมือประมงขณะทำการอย่างต่อเนื่อง หรือหลีกเลี่ยงการทำประมงในพื้นที่ดังกล่าว

นอกจากนี้จะร่วมกันนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการอนุรักษ์ โดยการบินสำรวจจำนวนประชากรพะยูน เพื่อตรวจสอบจำนวนและวางแผนอนุรักษ์พะยูน รวมถึงลาดตระเวนเฝ้าระวังไม่ให้มีเรือเข้าไปรบกวนหรือทำประมงผิดกฎหมายซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อฝูงพะยูน

ตลอดจนจะดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบอย่างเคร่งครัด เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์และคุ้มครองพะยูน หากพบว่า กิจกรรมจากการท่องเที่ยวและนำเที่ยว หรือการประมง เป็นสาเหตุการตายของพะยูน จะบังคับใช้มาตรการปิดการท่องเที่ยวและกันพื้นที่เข้าออกในเขตอุทยานแห่งชาติ เขตอนุรักษ์สัตว์ป่า และพื้นที่คุ้มครองทางทะเล

ทั้งนี้ ได้สั่งการให้หน่วยในสังกัดประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการ และประชาชนที่ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ทางทะเลและชายฝั่งได้รับทราบถึงแนวทางการป้องกันและช่วยเหลือพะยูนต่อไปเรียบร้อยแล้ว

ในช่วงวันที่ 7-11 พฤษภาคม 2567 พบการตายของพะยูนแล้ว 4 ตัวได้แก่ ตัวที่ 1 พบเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2567 พบพะยูนตายจากอุบัติเหตุใบพัดเรือฟัดบริเวณหัวของพะยูนเพศเมีย บริเวณอ่าวทึงทางเข้าท่าเทียบเรือหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี  จังหวัดกระบี่ ซึ่งเป็นสถานที่เรือท่องเที่ยวสัญจรเป็นจำนวนมาก ตัวที่ 2 พบเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2567 พบพะยูนเกยตื้น บริเวณท่าเทียบเรือเกาะมุกด์ ในเขตอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จังหวัดตรัง สาเหตุถูกกระแทกอย่างรุนแรงบริเวณหัว จนทำให้กระโหลกแตก คาดเกิดจากพฤติกรรมต่อสู้กัน ส่วนตัวที่ 3 และ 4 พบเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2567 พบซากพะยูนเพศเมีย 2 ตัวเป็นแม่ลูกซึ่งได้รับแจ้งว่า ชาวบ้านได้ช่วยกันลากมาไว้ที่เกาะหมากน้อย ตำบลเกาะปันหยี อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา

ข้อมูลการตายของพะยูนในปี 2565 พบ 18 ตัว ปี 2566 พบ 40 ตัว และตั้งแต่ต้นปี 2567 จนถึงปัจจุบันพบแล้ว 20 ตัว. 512 – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

ฆ่ารัดคอขับโบลท์

รวบ “ไอ้แม็ก” ฆ่ารัดคอหญิงขับโบลท์ พบเคยถูกจับคดีโหด

จับแล้ว “ไอ้แม็ก” เดนคุก ฆ่ารัดคอหญิงขับโบลท์ ทิ้งร่างอำพราง ริมถนนห้วยพลู จ.นครปฐม ก่อนเอารถไปขาย สอบประวัติ พบเพิ่งพ้นโทษ คดีล่ามโซ่ล่วงละเมิดเด็กวัย 13 ปี นาน 1 สัปดาห์ เมื่อปี 2553

พายุโซนร้อนซูลิก

ฤทธิ์พายุโซนร้อนซูลิก ทำฝนเริ่มตกหนักในพื้นที่นครพนม

ฤทธิ์พายุโซนร้อน “ซูลิก” ทำฝนเริ่มตกหนักในพื้นที่ จ.นครพนม เจ้าหน้าที่ต้องเร่งเดินเครื่องสูบน้ำลงน้ำโขง

อุตุฯ เตือนพายุ “ซูลิก” ฉบับที่ 12 ฝนถล่มหลายจังหวัด

กรมอุตุฯ ออกประกาศเตือนพายุ “ซูลิก” ฉบับที่ 12 ภาคเหนือ อีสาน กลาง รวมทั้งกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมแรง