“เศรษฐา” กำชับดูแลการเพาะปลูก-พัฒนาทุเรียน

จันทบุรี 27 เม.ย.- “เศรษฐา” กำชับ ทุกหน่วยงานดูแลการเพาะปลูกพัฒนาทุเรียน เพิ่มการส่งออก เชื่อเติบโตได้อีกมาก พร้อมสั่งเยียวยาเหตุไฟไหม้ โรงงาน จ.ระยอง


นาย เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้สัมภาษณ์ถึง การเดินทางลงพื้นที่ จ.จันทบุรี ว่า วันนี้ที่มาจันทบุรี เพราะเป็นช่วงต้นฤดูของทุเรียน และปฏิเสธไม่ได้ว่าทุเรียนเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุด พันธุ์หนึ่งของประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันเราได้ส่งออกทุเรียนไปประเทศจีน คนจีนกินทุเรียนต่อคนต่อปี ประมาณ 0.7 กิโลกรัม คนไทยกิน 5 กิโลกรัม คนมาเลเซีย กิน 11 กิโลกรัม ต่อปี เพราะฉะนั้น ศักยภาพการเติบโตของตลาดยังไปได้อีกไกลมาก ในปัจจุบันนี้มีการพัฒนา การปลูกทุเรียนไปเยอะมาก รวมถึงการจัดเก็บ เป็นมืออาชีพมาก แต่ปัญหาก็มีอยู่บ้าง เรื่องการเก็บทุเรียนอ่อน ซึ่งวันนี้ทาง ปตท. มีนวัตกรรม มาเพื่อวัดให้รู้ว่า เป็นทุเรียนอ่อนหรือแก่ แล้วได้จดลิขสิทธิ์ทางปัญญา ไว้กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งทุเรียนอ่อนเป็นสิ่งหนึ่งที่เราต้องระมัดระวัง ต้องทำให้ดี เพราะอาจจะทำให้เสียชื่อเสียงของประเทศ ทุกวันนี้เราเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ให้กับจีน คู่แข่งของเราคือเวียดนาม รวมถึงพบปัญหาการลักลอบ นำเข้ามาจากต่างประเทศ จึงได้สั่งการไปยังอธิบดีกรมศุลกากร ว่าต้องอย่าให้มีการทำเรื่องนี้เกิดขึ้น

ส่วนเรื่องแหล่งน้ำของทุเรียน เพราะทุเรียนปีแรกต้องมีแหล่งน้ำ มีการสั่งงานให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หรือ สทนช. และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมชลประทาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้จัดหาแหล่งน้ำให้เพียงพอ นอกเหนือจากนั้นจะมีเรื่องการขนส่ง พบว่ารถตู้คอนเทนเนอร์ขนส่งไม่พอ ต้องมีการหมุนเวียนกันมา ปัจจุบันทุเรียนมีเยอะตู้ขนจึงไม่เพียงพอ ซึ่งพบรายได้ของประชาชนก็ดี คนที่มาช่วยตัดเก็บทุเรียน ในโรงงานมีการแกะและแช่แข็ง คนที่มาแกะและรับจ้างแกะ มีรายได้ต่อวัน วันล่ะ 1,500 บาท ก็ถือเป็นแรงงานที่สำคัญ และผู้ประกอบการก็ให้ความเป็นธรรมแก่แรงงาน


ทั้งนี้เรื่องการพัฒนาพันธุ์ทุเรียน เริ่มต้นแล้ว จังหวัด จันทบุรี ถือเป็นหัวมังกร ก็สามารถส่งก่อนจำหน่ายได้ก่อน และต้องไล่ไปที่ภาคใต้ ค่อยตามมา ซึ่งจากการลงพื้นที่ภาคใต้ จังหวัด สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ทราบปัญหาว่าปัญหาเดียวกันคือเรื่องแหล่งน้ำ และการขนส่ง เพราะฉะนั้นการแก้ปัญหาตรงนี้ จึงต้องแก้ปัญหาที่ จันทบุรีก่อน เป็นจุดเริ่มต้น เป็นจังหวัดที่ใหญ่ที่สุด ถือเหมือนเป็นเมืองหลวงของผลไม้ฤดูร้อนของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นมังคุด เงาะ ซึ่งภาคใต้ก็มีเหมือนกัน ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ก็มาดูเรื่อง ราคาว่าต้องห้ามตกต่ำ ซึ่งเรามีแนวทางแก้ไขปัญหาที่ชัดเจนแล้ว ก็นำไปพัฒนาต่อในจังหวัดภาคใต้ เพราะตอนนี้ยังไม่ถึงฤดูผลไม้ของภาคใต้

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า การลงพื้นที่ไปดูโรงงานเก็บสารเคมี อ.บ้านค่าย จ.ระยองในช่วงบ่ายนี้ โดยชาวบ้านอยากให้ดู พื้นที่โดยรอบโรงงานด้วย ว่าได้รับผลกระทบทำการเกษตรไม่ได้เลย นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า วันนี้อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ไปดูปัญหาเรื่องสภาพดินและสภาพน้ำ ซึ่งก็ต้องมาให้องค์ความรู้แก่เกษตรกรด้วย ยืนยัดูแลเยียวยาให้กับประชาชนในพื้นที่ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ .-317-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เหล้าเถื่อนลาว

เสียชีวิตรายที่ 6 คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว

คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเสียชีวิตเพิ่มรายที่ 6 เป็นหญิงชาวออสเตรเลีย เสียชีวิตขณะรักษาตัวในไทย

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษา ทบ.

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ช่วยปฏิบัติราชการที่กองบัญชาการกองทัพบก หลังถูกร้องทำร้ายร่างกายผู้ใต้บังคับบัญชา พร้อมช่วยเจ้าทุกข์ย้ายหน่วยตามร้องขอ

ไฟไหม้โรงงานพัดลม เผาวอดเสียหายกว่า 50 ล้าน

ไฟไหม้โรงงานผลิตพัดลมรายใหญ่ จ.สมุทรสาคร ระดมรถดับเพลิงระงับเหตุ กว่า 5 ชม. จึงควบคุมไว้ได้ในวงจำกัด เบื้องต้นเสียหายกว่า 50 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

ศึกชิงนายก อบจ.สุรินทร์ “ธัญพร มุ่งเจริญพร” เข้าป้าย

ศึกชิงนายก อบจ.สุรินทร์ ลุ้นกันจนนาทีสุดท้าย “ธัญพร มุ่งเจริญพร” พลิกชนะ “พรชัย มุ่งเจริญพร” แชมป์เก่าแบบขาดลอย คว้าเก้าอี้มาครอง นั่งนายก อบจ.หญิงคนแรกของจังหวัด

เลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี ครึ่งวันเช้าคึกคัก

ภาพรวมการใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี ครึ่งวันเช้าค่อนข้างคึกคัก มีประชาชนทยอยใช้สิทธิต่อเนื่อง ยังไม่มีรายงานการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง

ปชช.ตื่นตัวใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ท่ามกลางสายฝน

ชาวนครศรีธรรมราช ตื่นตัวออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ. ท่ามกลางสายฝน กกต.เผยภาพรวมครึ่งวันเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ยังไม่มีรายงานการทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง

ช้างป่ายกโขลงประชิดหมู่บ้าน ไล่ระทึกทั้งคืน

ไล่ระทึกกันทั้งคืน ช้างป่ายกโขลงบุกประชิดหมู่บ้านตลิ่งชัน อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา ออกหากินผลผลิตทางการเกษตรของชาวบ้าน