จี้รัฐแจงปัญหา “กากแคดเมียม” ชี้ BEYOND ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด

กรุงเทพฯ 11 เม.ย. – มูลนิธิบูรณะนิเวศ จี้รัฐแจงปัญหา ”กากแคดเมียม” เรียก กากซอมบี้ ชี้ BEYOND ควรรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด บนหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้รับผิดชอบ (polluter pays principle)


บริษัท เบาด์ แอนด์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน)หรือ BEYOND แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯวานนี้ (10 เม.ย.) ว่า ตามที่บริษัทฯชี้แจงเมื่อวันที่ 9 เม.ย.ถึงกระแสข่าวว่ามีการขนย้ายกากแคดเมียมมาจากที่ดินของบริษัทซึ่งตั้งอยู่ที่จังหวัดตาก นั้น เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนในบรรดานักลงทุน และประชาชนทั่วไป บริษัทฯ ขอชี้แจงว่า บริษัทฯ เป็น เพียงคู่สัญญากับเจแอนด์บีตามสัญญาซื้อขายกากแคดเมียม ฉบับลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2566 เท่านั้น โดยบริษัทฯ ไม่ได้มี ส่วนร่วมกับการประกอบกิจการของเจแอนด์บีแต่อย่างใด และกระแสข่าวมิได้สร้างผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันของบริษัทฯ

โดยบริษัทฯ ตระหนักถึงความกังวลของสาธารณชน ด้วยเหตุนี้ บริษัทฯ จึงมีความยินดีที่จะให้ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมยุติหรือบรรเทาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อ คลายความกังวลของสาธารณชน ซึ่งบริษัทฯ จะจัดให้มีการปฏิบัติให้เป็นไปตามสัญญาซื้อขายกากแคดเมียมดังกล่าวในการดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐในการยุติหรือบรรเทาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยหากมีความคืบหน้าจะแจ้งเพิ่มเติม


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า BEYOND หรือในอดีตคือบริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ซึ่งเคยเป็นผู้ประกอบกิจการเหมืองแร่และโรงถลุงแร่สังกะสีที่ จ. ตาก
เมื่อวันที่ 9 เม.ย.67 มูลนิธิบูรณะนิเวศแถลง กรณีกากแคดเมียม ระบุ “กากแคดเมียม: แค่ปิดโรงงาน/ปิดพื้นที่/ขนย้าย เรื่องไม่จบ ถึงเวลาแก้ปัญหาแบบใช้ปัญญา” โดยตั้ง6ข้อสังเกตหลักๆ ได้แก่

  1. เหตุใดจึงต้องขุดและขนกากแคดเมียมที่กำจัดแล้วออกจากหลุมฝังกลบ จ. ตาก มายัง จ. สมุทรสาคร
    -ไม่ว่าใครจะชี้แจงอย่างไร แต่เป็นที่ชัดเจนว่า กากแคดเมียมนี้ไม่ใช่กากที่ต้องการการกำจัดหรือบำบัดเพราะได้ผ่านขั้นตอนนั้นไปแล้ว โดยเป็นกากที่ถูกจัดการด้วยการใส่ลงไปในหลุมฝังกลบเรียบร้อยแล้ว ในพื้นที่โรงงานของบริษัท เบาด์ แอนด์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน) ที่ จ. ตาก ซึ่งมีพื้นที่กว่า 2,500 ไร่ โรงงานแห่งนี้ประกอบกิจการผลิตแร่สังกะสีและแคดเมียม สังกะสีแท่ง สังกะสีอัลลอยด์ และโลหะแคดเมียม คือเป็นโรงงานทำเหมืองและถลุงแร่สังกะสีและแคดเมียมโดยตรง ดังนั้น หมายความว่าโรงงานแห่งนี้เองเป็นผู้ก่อให้เกิดกากอันตรายดังกล่าว และย่อมมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องรับผิดชอบบำบัดจัดการและกำจัดกากเหล่านั้น ซึ่งตามรายงาน EIA ระบุให้ฝังกลบในพื้นที่ และที่ผ่านมา โรงงานก็ได้ทำตามมาตรการดังกล่าว คือฝังกลบไปเรียบร้อยแล้ว
    . “สิ่งที่เกิดขึ้นจึงเป็นเรื่องของการกระทำที่ไม่ปกติอย่างยิ่ง เพราะเป็นการลุกขึ้นมาเปิดหลุมฝังกลบที่ปิดไปแล้วตั้งแต่เมื่อ 5 ปีก่อน (ตามข้อมูลที่ทางมูลนิธิบูรณะนิเวศได้ทราบมา มีการอนุญาตจาก กพร. ให้ปิดหลุมฝังกลบกากแคดเมียมบ่อที่ 7 ตั้งแต่เมื่อกลางปี 2561) แล้วดึงเอากากอันตรายเหล่านั้นขึ้นมา จากนั้นยอมลงทุนขนส่งออกไปยังผู้ประกอบการรายอื่น ใน จังหวัด ที่ห่างไกลหลายร้อยกิโลเมตรประเด็นคำถามสำคัญ การกระทำเช่นนี้มีสาเหตุหรือแรงจูงใจจากอะไร “นี่เป็นเรื่องของความโลภโดยแท้ใช่หรือไม่” และเรียกร้องหน่วยงานรัฐทำความจริงให้ปรากฏ
  2. กากแคดเมียมที่โผล่เป็นข่าวขึ้นมาที่สมุทรสาครต้นเดือนเมษายนนี้ แท้จริงมีการขนกันออกมาจาก จ. ตากตั้งแต่เมื่อกลางปี 2566 ขนย้ายกากแคดเมียมชุดแรกตั้งแต่เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2566 และดำเนินการขนย้ายตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ปีเดียวกัน ส่วนการขนเที่ยวสุดท้ายคือวันที่ 8 มกราคม 2567 รวมเป็นปริมาณกากที่นำออก 13,832.10 ตัน
  3. โรงงานที่สมุทรสาครไม่มีศักยภาพจัดการกากแคดเมียมให้ปลอดภัยได้
    โรงงานของบริษัท เจ แอนด์ บี เมททอล จ. สมุทรสาคร ถูกเปิดว่าเป็นจุดที่พบกากแคดเมียม โรงงานแห่งนี้เป็นโรงหลอมโลหะมานานประมาณ 30 ปีแล้ว มีใบอนุญาตประกอบกิจการอุตสาหกรรม 3 ใบ ใบแรกได้รับเมื่อปี 2537, ใบที่สองปี 2557 และใบที่สาม เพิ่งได้รับเมื่อปี 2566 ซึ่งเป็นเพียงใบเดียวที่เกี่ยวข้องกับเรื่องกากแคดเมียมนี้ เนื่องจากเป็นใบอนุญาตโรงงานประเภทที่ 60 สามารถประกอบกิจการหลอมสังกะสีและแคดเมียม ส่วนสองใบที่มีอยู่ก่อนหน้านั้นทำได้เพียงการหลอมอะลูมิเนียม

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีใบอนุญาตให้เป็นโรงงานประเภทที่หลอมสังกะสีและแคดเมียมได้ แต่จากการตรวจสอบของมูลนิธิบูรณะนิเวศ พบว่า จนกระทั่งถึงวันที่ 4 มีนาคม 2567 นี้ โรงงานเจ แอนด์ บี เมททอลยังไม่เคยแจ้งขออนุญาตประกอบกิจการในส่วนของใบอนุญาตโรงงานประเภทที่ 60 ใบหลังสุดนี้ แต่อย่างใด นั่นหมายความว่า ในทางกฎหมายแล้ว โรงงานยังไม่สามารถดำเนินการอะไรกับกากแคดเมียมที่ไปรับมาจากเบาด์ แอนด์ บียอนด์ได้ ส่วนศักยภาพในเชิงเทคโนโลยีเป็นเรื่องที่ยังไม่ชัดเจน เนื่องจากเป็นเรื่องที่จะถูกตรวจสอบก็ต่อเมื่อมีการแจ้งขออนุญาตประกอบกิจการ

  1. บริษัท เจ แอนด์ บี เมททอล จำกัด ไม่มีศักยภาพรองรับกากแคดเมียมทั้งหมดได้ จึงเกิดการกระจายต่อไปโรงงานอื่น และยังคงหายไปเกือบ 6,000 ตัน

แรกสุดที่มีการเปิดข่าวการพบกากแคดเมียมที่โรงงานเจ แอนด์ บี เมททอล มีการให้ข้อมูลว่า ปริมาณกากมีมากถึง 1.5 หมื่นตัน แต่ต่อมาถูกพบโดยคณะส่วนราชการที่ลงพื้นที่ซึ่งนำโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมว่า ปริมาณมีเพียง 2,400 ตันเศษ ทำให้เกิดกิจกรรมไล่ล่าหากากแคดเมียมตามมา โดยพบแห่งแรกที่โรงงานรีไซเคิลเถื่อน ต. คลองกิ่ว จ. ชลบุรี จากนั้นพบในโรงงานอีกแห่งหนึ่งของ ต.บางน้ำจืด ปริมาณที่พบที่คลองกิ่วมีการแจ้งตัวเลขระหว่าง 3,000 – 7,000 ตัน โดยล่าสุดอยู่ที่ 4,400 ตัน ส่วนที่บางน้ำจืดคนละจุดกับแห่งแรก พบ 1,034 ตันเมื่อรวมกันที่ยอดสูงสุดแล้วจึงยังเท่ากับมีส่วนที่หายไปอีกกว่า 5,900 ตัน และตามที่มีกระแสข่าวบางส่วนว่าอาจมีการหลอมไปบ้างแล้วทั้งที่คลองกิ่วและสมุทรสาคร จะสามารถตรวจสอบได้หรือไม่ หรืออาจจะยังมีเล็ดลอดอยู่ในพื้นที่อื่นๆ อีกหรือไม่


ประเด็นสำคัญที่สุดในมุมนี้คือ ท่ามกลางการมีกฎหมายและกลไกควบคุมการขนส่งกากอุตสาหกรรมที่รัดกุมและดีเลิศ ตามที่รัฐบาลและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องมักกล่าวอ้าง กากแคดเมียมซึ่งเป็นสิ่งมีพิษภัยร้ายแรงถูกขนส่งกระจายไปยังหลายพื้นที่โดยระบบไม่อาจรับทราบและไม่อาจติดตามได้อย่างไร

  1. ในฐานะผู้ก่อมลพิษ บริษัท เบาด์ แอนด์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน) ถือเป็นตัวการสำคัญในความผิดเรื่องนี้ จึงไม่ควรถูกปล่อยให้หายไปหรือลอยตัวจากสมการการแก้ปัญหาเรื่องกากแคดเมียม
    มูลนิธิบูรณะนิเวศขอเสนอหลักการสำคัญในการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ ว่าจะต้องอยู่บนหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้รับผิดชอบ (polluter pays principle) และต้องยึดถือความปลอดภัยของประชาชนเป็นความสำคัญสูงสุด ดังนั้น ในฐานะที่บริษัท เบาด์ แอนด์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน) หรือเดิมคือบริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) เป็นเจ้าของผู้ก่อให้เกิดกากอุตสาหกรรมอันตรายนี้ขึ้นมา จึงควรต้องเป็นผู้เข้ามารับผิดชอบต่อปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ในความหมายที่ว่าต้องเป็นผู้จ่ายต่อความเสียหายหรือค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการแก้ไขปัญหานี้
  2. ทั้งหมดนี้สะท้อนความล้มเหลวของระบบบริหาร-จัดการกากอุตสาหกรรม โดยสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นในกรณีแคดเมียมทำให้เห็นได้ชัดเจนว่า ระบบได้อนุญาตให้เกิด “กากซอมบี้” ขึ้นมา และถูกขนย้ายข้ามพื้นที่หลายจังหวัดมายังปลายทางได้อย่างง่ายดายและไร้มาตรการควบคุมดูแล เมื่อมาถึงปลายทางตามที่แจ้งไว้ในระบบแล้ว ก็สามารถมีการกระจายขายต่อโดยหน่วยงานกำกับดูแลไม่รับทราบ เมื่อกากอันตรายหายไปจากระบบก็ไม่สามารถติดตามได้อย่างเป็นระบบ นอกจากช่องโหว่ ยังมีปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย ทั้งมิติความเข้มงวดและความจริงจัง

จากประเด็นหลัก 6 ประการนี้ มูลนิธิบูรณะนิเวศขอเสนอและเรียกร้องต่อรัฐบาลภายใต้การนำของนายกฯ เศรษฐา ทวีสิน และพรรคเพื่อไทย ใน 2 มิติ ดังนี้ มิติที่ 1 เกี่ยวกับกรณีกากแคดเมียมของบริษัท เบาด์ แอนด์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน) จำนวน 13,832.10 ตัน ให้ดำเนินการตามลำดับความเร่งด่วน ดังนี้

  1. สนับสนุนการติดตามตรวจสอบให้เกิดความชัดเจนและครบถ้วนว่า กากแคดเมียมทั้งหมดนั้น กระจายไปอยู่ในพื้นที่ใด เท่าไร ในสภาพใด
  2. ตรวจสอบกระบวนการดำเนินการที่เกิดขึ้นตลอดเส้นทาง ทั้งในประเด็นความชอบด้วยกฎหมาย ปฏิบัติการที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และการละเว้นหรือละเลยการปฏิบัติหน้าที่ รวมถึงช่องโหว่หรือจุดผิดพลาดที่เกิดขึ้น และการคอร์รัปชัน
  3. ให้เปิดเผยข้อมูลต่อประชาชนอย่างโปร่งใสและตรงไปตรงมา ส่วนภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ ให้บริษัท เบาด์ แอนด์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด โดยครอบคลุมถึงส่วนที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ด้วย

มิติที่ 2 เกี่ยวกับระบบและนโยบายการกำกับดูแลอุตสาหกรรมและกากอุตสาหกรรมในภาพรวม

  1. ทบทวนการปรับโครงสร้างการบริหารจัดการกากอุตสาหกรรมทั้งระบบ .
  2. ปรับปรุงระบบการควบคุมมลพิษและการรักษาสภาพแวดล้อม
    ยกระดับมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม การควบคุมมลพิษ และ EIA/EHIA ก่อนไปมุ่งสู่ Green Mining Green Recycling และ BCG
    สนับสนุนกฎหมาย PRTR (ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการรายงานและเปิดเผยข้อมูลการปล่อยและการเคลื่อนย้ายสารมลพิษ พ.ศ. …)
    สำรวจและขึ้นทะเบียนพื้นที่ปนเปื้อนมลพิษที่เสียหายจากกิจการฝังกลบ การหล่อหลอม และการรีไซเคิลของเสียอันตราย

3ทบทวนภาครวมทั้งหมด โดยภาครัฐควรยกเลิกคำสั่ง คสช. ที่ 4/2559 และอื่นๆ เพื่อให้มาตรการด้านผังเมืองและการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมมีการบังคับใช้โดยไม่มีข้อยกเว้น ปรับปรุงโครงสร้างอำนาจหน้าที่ที่ทับซ้อนกันของกระทรวงอุตสาหกรรม โดยเฉพาะเรื่องการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม และการส่งเสริม-การอนุญาตการลงทุนอุตสาหกรรม

อ่านรายละเอียดจาก https://www.facebook.com/100064487898444/posts/805651144927808/?app=fbl. -511-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

Joe Biden and Kamala Harris on stage

ผู้เชี่ยวชาญชี้สาเหตุที่ “แฮร์ริส” พ่ายแพ้

ผู้เชี่ยวชาญชี้สาเหตุที่นางคอมมาลา แฮร์ริส ตัวแทนพรรคเดโมแครต พ่ายแพ้การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ให้แก่นายโดนัลด์ ทรัมป์ จากพรรครีพับลิกัน

“ทรัมป์” คว้าชัยเด็ดขาด ครองตำแหน่งประธานาธิบดีอีกสมัย

โดนัลด์ ทรัมป์ ผู้สมัครจากพรรครีพับลิกัน คว้าชัยชนะเด็ดขาดในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ เหนือคู่แข่งอย่าง คอมมาลา แฮร์ริส จากพรรคเดโมแครต นับเป็นการกลับมาครองตำแหน่งผู้นำสหรัฐอีกครั้ง หลังต้องออกจากทำเนียบขาวไปเมื่อ 4 ปีก่อน

พบศพไวยาวัจกรวัดดังระยองถูกยิงดับพร้อมหญิงสาวในบ้านพัก

พบศพไวยาวัจกรวัดดัง จ.ระยอง ถูกยิงเสียชีวิตในบ้านพัก พร้อมหญิงสาวหน้าตาดี คาดเสียชีวิตมาแล้ว 3 วัน ตำรวจเร่งหาสาเหตุ

พบเด็กหญิงฝาแฝดวัย 9 ขวบ ดวงตาสีฟ้า

พบเด็กหญิงฝาแฝดชาวนครพนม วัย 9 ขวบ มีดวงตาสีฟ้าสดใส ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรมที่พบได้ยาก อาศัยอยู่กับแม่เลี้ยงเดี่ยว แม่เผยลูกมีปัญหาทางการได้ยิน ใช้ชีวิตลำบาก ถูกบลูลี่ แต่ไม่ขอเปิดรับบริจาค เพราะเคยถูกมิจฉาชีพแอบอ้าง

ข่าวแนะนำ

ศึกชิงทำเนียบขาว 2024 : ส่องทิศทางแห่งอำนาจ “รัฐบาลทรัมป์ 2.0”

รายงานพิเศษวันนี้ไปติดตามสิ่งที่ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ให้สัญญาหาเสียงเอาไว้ ที่จะทำให้พอเห็นทิศทางการครองอำนาจของเขา โดยมีหลายอย่างที่จะสร้างความสั่นสะเทือนอย่างมาก

พาชมเรือใบอิตาลีจอดเทียบท่าภูเก็ต

เมื่อ 2 วันก่อน สำนักข่าวไทยเก็บภาพของเรืออเมริโกเวส ปุชชี่ ขณะกำลังจะเข้าจอดเทียบท่าที่จังหวัดภูเก็ตให้ได้ชมไปแล้ว วันนี้คุณเพลินพิศ ชูเสน จะพาไปทำความรู้จักเรือลำนี้ให้มากขึ้นพร้อมกับพาไปเยี่ยมชมภายในตัวเรือ

“ทนายตั้ม” เครียดหนัก หลัง 3 บิ๊ก บช.ก. สอบปากคำ

“ทนายตั้ม” เครียดหนัก หลัง 3 บิ๊กสอบสวนกลาง สอบปากคำ นานกว่า 5 ชั่วโมง ขณะที่พนักงานสอบสวนเตรียมเข้าค้น “ษิทรา ลอว์ เฟิร์ม” เช้าพรุ่งนี้ หาหลักฐานเพิ่ม ก่อนฝากขังช่วงบ่าย ค้านประกันตัว

นายกฯ เผยผลสำเร็จร่วมประชุมเวทีอนุภูมิภาค GMS ACMECS

“แพทองธาร” นายกฯ เผยผลสำเร็จร่วมประชุมเวทีอนุภูมิภาค GMS ACMECS ขับเคลื่อนความร่วมมือสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต การพัฒนาคุณภาพชีวิต และความกินดีอยู่ดีของประชาชนในภูมิภาคอย่างไร้รอยต่อ