ความเชื่อมั่นผู้บริโภค มี.ค.67 ลดลงครั้งแรกในรอบ 8 เดือน

กรุงเทพฯ 10 เม.ย.-ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.ค้าไทย ระบุดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน มี.ค.67 ปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 8 เดือน จากความกังวลเรื่องราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น กระทบค่าครองชีพ แต่ยังมองว่าทิศทางความเชื่อมั่นของผู้บริโภค หลังจากนี้จะกลับฟื้นตัวตามมาตรากระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ


นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ กล่าวถึงดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (CCI) ประจำเดือนมีนาคม 2567 อยู่ที่ระดับ 63.0 เป็นการปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 8 เดือน นับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2566 เนื่องจากผู้บริโภค เริ่มกลับมากังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวช้า และยังกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว รวมทั้งปัญหาสงครามในตะวันออกลาง ที่ยังยืดเยื้อบานปลาย อาจจะเพิ่มแรงกดดันให้ เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้าลงไปอีก ประกอบกับราคาพลังงาน ที่ปรับตัวสูงขึ้นโดยเฉพาะน้ำมันเบนซิน 

ทั้งนี้ ค่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ยังอยู่ต่ำกว่าระดับ 100 สะท้อนกังวลสถานการณ์เศรษฐกิจโดยรวม ค่าครองชีพสูง และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในประเทศไทยและทั่วโลก ตลอดจนสงครามรัสเซียยูเครน ที่ยังส่งผลกระทบทางจิตวิทยาในเชิงลบ ต่อกำลังซื้อ ต่อการท่องเที่ยว และการส่งออก โดยถือว่าสวนทางกับความคิดเห็นของภาคธุรกิจ จากสมาชิกหอการค้าไทยทุกจังหวัดทั่วประเทศ โดยดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย ในเดือนมีนาคม 2567 ที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 อยู่ที่ระดับ 55.2 


โดยความเชื่อมั่นถือว่า ดีขึ้นเกินกว่าค่ากลางระดับ 50 ในทุกภูมิภาค รวมทั้งตัวชี้วัดทุกด้านทั้งเศรษฐกิจโดยรวม การบริโภค การลงทุน ภาคท่องเที่ยว ภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม ภาคการค้า การค้าชายแดน และภาคบริการ รวมถึงการจ้างงาน ปรับตัวดีขึ้น แต่เป็นการปรับขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเพียง 0.1-0.2% สะท้อนความมั่นใจของผู้ประกอบการ ที่ทรงตัว จากการท่องเที่ยว ที่ยังไม่โดดเด่น เพราะยังกระจุกตัวในหัวเมืองใหญ่ รวมทั้งในภาคเหนือ ที่เจอผลกระทบ จากฝุ่น PM 2.5 กังวลว่าจะกระทบกับการท่องเที่ยวในช่วงสงกรานต์นี้ ทำให้ผู้ประกอบการทั่วประเทศ ต้องการให้เร่งกระตุ้นการท่องเที่ยว ให้ทันกับช่วงวันหยุดยาวนี้ รวมทั้งภาคเกษตร ที่ผลผลิตได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง  

อย่างไรก็ตาม ยังเชื่อว่า ความเชื่อมั่นของประชาชน ที่ชะลอตัวลง จะเกิดขึ้นระยะสั้น จากความกังวลเรื่องของค่าครองชีพ ตามราคาพลังงาน และรายได้ ที่อาจจะลดลงจากผลผลิตทางการเกษตรที่ได้รับผลกระจากภัยแล้ง รวมทั้งเงินงบประมาณที่ยังไม่ถูกใช้ แต่เชื่อว่า หลังจากนี้ยังเป็นทิศทางขาขึ้น กลับมาฟื้นตัวได้ จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต มาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ และการเร่งเบิกจ่ายเงินงบประมาณ จะเป็นเรื่องสำคัญโดยเฉพาะงบลงทุนที่จะกลับมา

ส่วนอีกประเด็นที่ต้องรอความชัดเจน คือ เรื่องของ อัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งหากธนาคารแห่งประเทศไทย มีการลดอัตราดอกเบี้ย จะช่วยเสริมกับ มาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่จะสนับสนุนให้คนจะซื้อบ้านได้มากขึ้น เกิดเม็ดเงินหมุนเวียน ได้ ประมาณ 2.3-3.4 แสนล้านบาท เทียบจากฐานการคำนวณในช่วงที่เคยใช้มาตรการดังกล่าว เมื่อปี 2564 จากการเก็บค่าธรรมเนียมได้มากขึ้น และมีแคมเปญจากธนาคารออกมามากขึ้น โดยรัฐบาล คาดว่า กระตุกกระตุ้นเศรษฐกิจได้ 1.4-1.8% รวมทั้งมีผลต่อการลดภาระการชำระหนี้ของประชาชน


นอกจากนี้ ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยมองว่า ธปท. จะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ เนื่องจากมีการส่งสัญญาณถึงอัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในกรอบ รวมไปถึงเศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงที่กำลังฟื้นตัวได้ตั้งแต่ไตรมาส 2 จากงบประมาณปี 2567 ที่กำลังขับเคลื่อนได้ รวมทั้งขณะนี้อัตราดอกเบี้ยของไทยต่ำสุดในอาเซียน และต่ำเมื่อเทียบกับเอเชียโดยรวม และที่สำคัญ อัตราแลกเปลี่ยน อยู่ในระดับ 36 – 37 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ดังนั้น การลดอัตราดอกเบี้ยก่อนประเทศอื่น ทำให้เกิดภาวะเงินไหลออก จากผลตอบแทนที่น้อยลง รวมไปถึงการลดดอกเบี้ย ถือเป็นการส่งสัญญาณ หรือ ยอมรับว่าเศรษฐกิจซบเซา จึงต้องใช้ดอกเบี้ยมากระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งการที่ยังไม่ลดดอกเบี้ย ถือเป็นการส่งสัญญาณว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายขณะนี้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ และเป็นไปทิศทางดอกเบี้ยที่สอดคล้องกับธนาคารกลางของโลก 

ส่วนกรณีหากจะมีการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ก็จะมาจากเศรษฐกิจเป็นหลัก ไม่เกี่ยวข้องจากการถูกรัฐบาลกดดัน เพื่อเสริมหรือกระตุ้นเศรษฐกิจฟื้นตัวได้เร็วขึ้น ซึ่งก็มีโอกาส ที่จะลดอัตราดอกเบี้ยได้ หากพิจารณาจากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ที่หักราคาพลังงาน และอาหารออก จะสะท้อนถึงอำนาจซื้อของประชาชนที่แท้จริง โดยการพิจารณาเคยอ้างอิงไว้ที่ระดับ 0.5 – 3%  ซึ่งอัตราเงินเฟ้อในไตรมาสแรกอยู่ที่ 0.4% 

ขณะที่ นโยบายเงินดิจิทัลวอลเล็ต จะมีผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่ช่วงเวลาที่ใช้ กับสัดส่วนของเงินที่ใช้ เพราะหากมีการใช้เร็ว เศรษฐกิจก็จะยิ่งถูกกระตุ้นได้เร็ว ซึ่งหากมีการใช้ในส่วนไตรมาสที่ 4 จะกระตุ้นเศรษฐกิจปีนี้ได้เพียง 0.5% เท่านั้น จากเดิมหากใช้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม จะกระตุ้นเศรษฐกิจได้ 1-1.5% ส่วนวิธีการโอนเงิน แม้จะไม่ได้ใช้ แอฟเป๋าตัง ก็มองว่าไม่น่ามีปัญหา เพราะเงินจะถึงมือประชาชนโดยตรง และมีกลไกตรวจสอบเพื่อป้องกันการทุจริต มีเพียงปัญหาการใช้งานที่จะรองรับการใช้จ่ายจำนวนมากพร้อมกันได้หรือไม่อีกด้วย.-514-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ใบประกอบวิชาชีพครู

เตือนคุณครูเปิดเทอมนี้ ต้องมี “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู”

เตือนคุณครูเปิดเทอมนี้ ต้องมี “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” แนะรีบต่ออายุใบอนุญาต หลังคุรุสภาออกมาตรการ 5 ต. คุมเข้มทุกโรงเรียนทั่วไทย

เริ่ม 1 พ.ค.นี้ นักท่องเที่ยวเข้าไทย ต้องลงทะเบียนบัตร ตม.6 แบบดิจิทัล

เริ่ม 1 พ.ค.นี้ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้าไทย ต้องลงทะเบียนบัตร ตม.6 แบบดิจิทัล หรือ TDAC ล่วงหน้า อย่างน้อย 3 วันก่อนเดินทาง ตามกฎใหม่ ตม.

พีชเรียกอาต่าย

ผบ.ตร.ไม่ปลื้ม “พีช” โอ้อวดเรียก “อาต่าย” ลั่นไม่ใช่ญาติ

ผบ.ตร.ไม่ปลื้ม “พีช” คู่กรณีรถกระบะ โอ้อวดเรียก “อาต่าย” รู้จักคนในรัฐบาล หวังผลคดี ลั่นไม่ใช่ญาติ สอนลูกเสมออย่าทำตัวเป็นขยะสังคม บอกประชาชนใช้วิจารณญาณเลือกตั้ง

“นายกเบี้ยว” ยอมรับลูกขับรถหวาดเสียว พร้อมชดใช้-ดูแลลุงคู่กรณี

“นายกเบี้ยว” รับจบแทนลูก ยอมรับลูกขับรถหวาดเสียว พร้อมชดใช้ ดูแลลุงคู่กรณี ระบุสอนลูกไม่ดี ไม่มีเวลาให้ลูก ปฏิเสธไม่สนิทกับ ผบ.ตร. อย่าเอาท่านมาแปดเปื้อน ส่วนที่ลูกชายยังไม่ไปเยี่ยมลุงคู่กรณี เนื่องจากกลัวโดนถูกโวยวาย

ข่าวแนะนำ

พายุฝนพัดต้นยางอายุร่วม 100 ปี ทับโรงครัววัดพังราบ

พายุฝนลมกระโชกแรง ซัดต้นยางอายุร่วม 100 ปี วัดนางเหลียว ล้มทับโรงครัวพังเสียหาย ชาวบ้านในงานศพตื่นตระหนก วิ่งหนีกระเจิง

ลุยรื้อถอนต่อเนื่องเข้าวันที่ 24 จนท.ทำงานหนักตลอด 24 ชม.

เดินหน้ารื้อถอนอาคาร สตง. เข้าสู่วันที่ 24 แล้ว เจ้าหน้าที่ทำงานตลอด 24 ชม. เพื่อให้เสร็จตามแผน ขณะที่ภารกิจค้นหาผู้ติดค้างยังคงดำเนินต่อเนื่อง