กรุงเทพฯ 7 มี.ค. -ภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้ากล่าวในงานเสวนา “เดลินิวส์ ทอล์ก2024” (Dailynews Talk 2024)“ เช็กความพร้อมยานยนต์ไทย สู่ท็อปเทนโลก อย่างยั่งยืนในหัวข้อ “อนาคตรถสันดาป-รถอีวี ไปทางไหน? ประสานเสียงไทยมีความพร้อมที่จะเป็นศูนย์ผลิตรถไฟฟ้าอีวีได้แน่ โดยรัฐบาลจะต้องเปิดกว้างเร่งสนับสนุนทุกด้านเพื่อให้ไทยเป็นศูนย์การผลิตรถไฟฟ้าครบวงจร
นายกฤษฎา อุตตโมทย์ นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย กล่าวว่า สมาคมฯ ตั้งมาตั้งแต่ปี 58 ตั้งแต่มีรถไฟฟ้าในตลาดน้อย ปัจจุบันมีสมาชิก 390 ราย ประกอบด้วย บริษัทรถ ชิ้นส่วน ประกัน เกี่ยวข้องกับรถไฟฟ้าทั้งระบบ สมาคมฯ ถือเป็นด่านหน้าในการให้ข้อมูลกับบริษัทต่างๆ ที่จะเข้ามาในไทย เช่น เทสล่า สมาคมฯ ก็ได้ให้ข้อมูลไป โดยอุตฯ รถไฟฟ้า ที่เติบโตทั่วโลก เกิดจากหลายๆ ประเทศต้องการเปลี่ยนระบบขนส่ง ด้วยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม การปล่อยคาร์บอนฯ เป็นศูนย์ เป็นต้น ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่พอสมควร
ทั้งนี้ หากดูยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกมีโอกาสเติบโตขึ้นเรื่อยๆ โดยคาดว่าในปี 2035 จะมีสัดส่วนเกินครึ่งของตลาดรถยนต์ โดยประเทศจีนจะเป็นตลาดใหญ่มาก เกินครึ่งของทั่วโลก ส่วนในอาเซียนก็มีการเปลี่ยนแปลง มีบริษัทรถยนต์ไฟฟ้าเข้ามาตั้งโรงงานในหลาย ๆ ประเทศในภูมิภาคนี้ แต่ประเทศไทยมีโอกาสมากกว่าจากนโยบายของภาครัฐที่สนับสนุน ทำให้การใช้รถไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น และมีบริษัทต่างชาติเข้ามาตั้งโรงงานผลิต โดยในไตรมาส 3 ปี 66 ที่ผ่านมา ยอดขายรถไฟฟ้า 5 คัน เมื่อถึงสิ้นปีมียอดจดทะเบียน 7.6 หมื่นคัน มีรถขายทั้งหมด 54 โมเดล จาก 25 แบรนด์ ในสิ้นปีที่ผ่านมา โดยผลตอบรับดี ทำให้เติบโต โดยส่วนใหญ่เป็นรถไฟฟ้าจากจีน ส่วนสถานีชาร์จมี 9,600 หัวจ่าย จาก 2,200 โลเคชั่น เป็นสัดส่วนประมาณ 20 คันต่อ 1 หัวจ่าย โดยในปีนี้จะเห็นแบรนด์ใหม่ ๆ เข้ามาอีก การแข่งขันจะรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะด้านราคา ประโยชนจะอยู่ที่ผู้บริโภค ส่วนผู้ประกอบการต้องปรับตัว
อย่างไรก็ตาม อยากเห็นแนวทางภาครัฐให้การสนับสนุนจากนโยบาย อีวี 3.0 ถึง อีวี 3.5 ทำให้ต่อไปประเทศไทยจะมีรถไฟฟ้ามากขึ้น สิ่งหนึ่งที่ภาครัฐต้องดูเรื่องวีธีการกำจัดเรื่องแบตเตอรรี่อย่างไร ต้องดำเนินการแบบครบวงจร สมาคมฯได้หารือกับนายก เพื่อขอพื้นที่ในการจัดการแบตเตอรี่เป็นพื้นที่เฉพาะในอีอีซี เพื่อเป็นฐานจัดการแบตฯแบบครบวงจร โดยรถไฟฟ้า จะมีการใช้ชิ้นส่วนที่ลดลง มูลค่า จึงจะอยู่ที่เรื่องแบตเตอรรี่ ที่ผ่านมาไทยรำเข้า 100% แต่ตอนนี้มีการตั้งโรงงานผลิตแล้ว ก็มีโอกาสที่ผู้ผลิตชิ้นส่วนจะเข้ามาตั้งโรงงานในไทย เพื่อผลิตชิ้นส่วนป้อนโรงงานรถไฟฟ้า ซึ่ง การที่ประเทศไทย จะเป็นฮับยายยนต์ไฟฟ้า มีโอกาสเกิดขึ้นได้จริง เมื่อมองดูประเทศต่างๆ ในอาเซียนไม่มีนโยบาย ส่งเสริมแบบไทย ที่ให้สิทธิพิเศษต่างๆ เช่นเรื่อง ภาษีสรรพสามิตร รวมทั้งไทยต้องสนับสนุนพลังลงานหมุนเวียน พลังงานสีเขียวมากขึ้น เพราะบริษัทต่างชาติให้ความสำคัญเรื่องนี้ในการเข้ามาตั้งโรงงาน นอกจากนี้รัฐบาลต้องส่งเสริมเรื่องคน ในอุตสาหกรรมรถไฟฟ้าและความพร้อมภาคแรงงาน และหลักสูตร การเรียนการสอนต้องมีการพัฒนา รองรับตลาดแรงงานในอนาคต รัฐต้องจับมือกับเอกชน ให้แรงงาน นักศึกษา มีสถานที่ฝึกงาน และต้องผลักดีนให้เกิดการค้าร่วมทุนการค้าไทย และรถที่ผลิตจากไทยมีคุณภาพ ได้รับการยอมรับจากประเทศอื่นๆ ก็มีโอกาสกระจายสินค้าจากไทยไปต่างประเทศได้มาก
นายพงษ์ศักดิ์ เลิศฤดีวัฒนวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็มจี เซลล์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า เอเชียเป็นตลาดใหญ่สุดในยอดขายรถยนต์ และเป็นอีวี 9.9 ล้านคั่นทั่วโลก เท่ากับ 14% โดยตลาดที่มีอัตราเติบโต คือ ตลาดที่ไม่มีพลังงานของตัวเอง สำหรับประเทศไทยรถยนต์สันดาป หรือรถน้ำมัน จะยังไม่หายไปจากตลาด ทำอย่างไร ทำอย่างไรให้รถยนต์สันดาป และอีวี โตไปด้วยกัน โดยรถอีวีเป๋นตัวเสริม โดยตลาดรถยนต์ของไทยปีที่แล่วมียอดขาย 7.7 แสนคัน เป็นรถอีวี 7 หมื่นคัน แต่ 10% แต่ยังมีโอกาสเติบโต โดยในปีนี้น่าจะมียอดขายได้ถึง 1 แสนคัน ต้องขอบคุณภาครัฐที่สนับสนุนเรื่องนี้ โดยมีเป้าหมายผลิตให้ได้ 30% ก็มีความเป็นไปได้สูง แต่ส่วนใหญ่จะเป็นรถยนต์นั่งก่อน
ทั้งนี้ ประเทศไทยยังขาดเรื่องแบตเตอรี่ เนื่องจากรัฐยังมองเป็นเรื่องวัตุต้องห้าม ต้องทดสอบ จึงเป็นอุปสรรคมากกว่าโอกาส จึงอยากให้ภาครัฐ ส่งเสริมดีมานด์หรือความต้องการในประเทศก่อน ซึ่งไทยพร้อมในทุกเรื่องของรถไฟฟ่าหรืออีวี แต่ไทยขาดเรื่องแบตเตอรี่อย่างเดียว ภาคเอกชนไทยมีศักยภาพ แต่ยังไม่โดดลงมาเล่น อยากให้รัฐบาลส่งเสริมให้เอกชนเข้ามา ซึ่งเอกชนไทยสามารถทำได้แน่ ทั้งเรื่องการผลิตและรีไซเคิล ซึ่งแบตเตอรี่รถยนต์อีวี เป็นแบตฯที่มีคุณภาพสูงสามารถเอามารียูสใช้ได้ ก่อนที่จะเอาไปรีไซเคิล
“การทำให้ไทยติดท็อป 10 ผู้ผลิตรถไฟ้า ทำได้ไม่ยาก แต่การทำให้ยั่งยืน ถือเป้นเรื่องยาก เมื่ออุตสาหกรรมเมื่อถูกดิสรัปชั่นแล้ว ก็จะเปลี่ยนแปลงไป โลกเปลี่ยนตลอดเวลา เราต้องเป็นเจ้าของเทคโนโลยี ถึงจะช่วยให้เกิดความยั่งยืน ไม่ช่นนั้นจะถุกคู่แข่งแซง เพราะตลาดไทยไม่ใหญ่ การเป็นเจ้าของเทคโนโลยีเองจะช่วยให้เกิดความยั่งยืนมากกว่า รวมถึงกติกาการค้าใหม่ จะใช้เรื่องสิ่งแวดล้อม มากีดกันทางการค้า มองว่าไทยมีโอกาสมากกว่าประเทศอื่นๆ ในอาเซียน เพราะไม่ได้เป็นศัตรูกับใครจึงเห็นว่า จีน ยุโรป มาลงทุนในไทย การผลักดันเรื่องสิ่งแวดล่อม จะเป็นตัวเสริมมาช่วย ลดการกีดกันทางการค้า อยู่ที่ไทยจะฉวยโอกาสได้อย่างไร จากประเทศที่มีความขัดแย้ง ซึ่งเรื่องรถไฟฟ้า มีเรื่องระบบความปลอดภัย มีระบบการเชื่อมต่อ มีซอฟท์แวร์เข้ามาเกี่ยวข้อง ไทยมีคนเก่งเรื่องซอฟท์แวร์ จึงเป็นโอกาสของไทย”นายพงษ์ศักดิ์ กล่าว
นายสุวัชร์ ศุภกาญจน์เดชากุล นายกสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยกล่าวว่า อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยเป็นผู้ผลิตอันดับ 10 ของโลก มี 49 บริษัทกระทบกับการเปลี่ยนรถยนต์สันดาปไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้า โดยการเข้ามาของรถยนต์ไฟฟ้า มี 44 แบรนด์ 78 รุ่นในปัจจุบัน เกือบครึ่งเป็นรถยนต์ไฟฟ้าจากจีน รุ่นที่ขายดีคือ 37% ราคาต่ำกว่า 1 ล้านบาท และมีมากกว่าครึ่งราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท การแข่งขันราคารุนแรงมาก
ทั้งนี้ ข้อมูลยานยนต์ในไทยปี 2565 (คศ.2022) ผลิตจำนวน 1.88 ล้านคัน และจะเพิ่มขึ้นในปีนี้มาอยู่ที่ 1.9 ล้านคัน ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกต่างประเทศ 1.15 ล้านคัน และขายในประเทศ 7.5 แสนคัน โดยไทยเป็นที่หนึ่งในอาเซียน ส่วนตลาดยานยนต์ไฟฟ้าในไทย มียอดจดทะเบียน 76,000 คัน มากกว่าประเทศอื่นในอาเซียนมาก ซึ่งรองลงมาจะเป็นมาเลเซียเพียงกว่า 1 หมื่นคันเท่านั้น โดยมองว่าการปรับเปลี่ยนเข้ามาของการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า ทำให้รถสันดาปลดลง
นอกจากนี้ ตลาดส่งออกหลายตลาดหลายภูมิภาคยังดี ยิ่งในเอเชีย โดยเพาะอาเซียนเป็นตลาดใหญ่ มีเวียดนามลดความต้องการลงจากปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งทวีปโอเชียเนีย ตะวันออกลางบวกเยอะ ทำให้ภาพรวมโอกาสส่งออกยังมีบวกอยู่บ้างเล็กน้อย ดังนั้นทมองว่าถ้าเป็นมุมอุตสาหกรรม ถ้ามีดีมานด์ มีผู้ซื้อ คือโอกาส แต่การเข้าของรถยนต์รุ่นใหม่ยี่ห้อใหม่ไม่ได้ตอบโจทย์ซัพพลายเชนในปัจจุบัน ที่สามารถผลิตเครื่องยนต์เปลี่ยนเป็นผลิตมอเตอร์ได้หรือไม่ ซึ่งอาจมีผู้ผลิตอยู่แล้ว ที่สำคัญคือ ปัญหาผู้ประกอบการ ทำอยู่บนชิ้นส่วนสันดาป ไปสู่รถยนต์ไฟฟ้า และมีการผลิตตามนโยบาย อีวี 3.0 และอีวี 3.5
อย่างไรก็ตาม อุปสรรคที่ต้องให้ภาครัฐเห็น เพราะถึงแม้จะมีเงิน มีทุน มีเทคโนโลยี แต่มีคนซื้อหรือเปล่า? การดึงคนซื้อมาถึงผู้ผลิต ถ้ามีกำลังซื้อจะเกิดได้ ขณะที่กติกาการค้าโลกใหม่ ยอมรับว่าหนีไม่พ้นแต่ละประเทศต้องมีเรื่องคาร์บอนต่ำ คาร์บอนเป็นกลาง ที่เห็นชัดคือ การวัดรถยนต์เป็น CO2 ซึ่งตลาดไทยผูกตลาดส่งออกเยอะ ทำให้ปรับตัวไปสู่ยานยนต์เทรนด์ของโลก เช่นเดียวกับข้อตกลงการค้าเสรี FTA ปัจจุบันมี FTA 14 ฉบับ กับ 18 ประเทศ หลักๆคือ ในอาเซียน และเมื่อไทยอยู่อันดับ 10 ของโลกแต่เป็นผู้ผลิตไม่ใช่เจ้าของแบรนด์ และมีอีกหลายเจรจา FTA ที่กำลังเจรจา ซึ่งต้องดูให้สอดคล้องดูที่ไม่มีฐานการผลิตในประเทศนั้น ต้องเป็นการศึกษา และจะเป็นจุดดีถ้าเปิด FTA ได้ จะเพิ่มการส่งออกได้
“ถ้ารัฐบาลยังส่งเสริมยานยนต์ให้ไทยสามารถผลิตได้มาก ซึ่งไทยมีรถปิ๊กอัพ รถอีโคคาร์ ที่เป็นโปรดักส์แชมป์เปี้ยน โดยต้องดูว่าจะไปประเทศไหน ต้องดูด้วยว่าเป็นพาวเวอร์เทรนด์แบบไหนในประเทศนั้นๆ และสิ่งที่จะฝากถึงนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี คือ ในอุตสาหกรรมยานยนต์อยากให้เพิ่มตลาดส่งออกไปต่างประเทศ แต่ต้องดูว่าคู่ค้าไหนที่ส่งออกมากกว่านำเข้า อยากฝากรัฐบาลเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ซึ่งสิ่งหนึ่งที่ทำได้คือสมาคมฯเป็นผู้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ อยากให้ภาครัฐเลือกเปิดตลาด หาตลาด ทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์เดินหน้าผ่านไปได้ เดิมอุตสาหกรรมรถยนต์ผู้เล่นหลักเป็นญี่ปุ่น ยุโรป มีจีนเข้ามาเป็นผู้เล่นรายใหญ่ มองเป็นประโยชน์เพิ่มกำลังการผลิต ทำให้ต้องปรับมุมมองภาครัฐ ส่งเสริมสนับสนุนต่อเนื่องและฟังเสียงผู้ประกอบการ ต้องช่วยกันทำให้ตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้นไปอีก” นายสุวัชร์ กล่าว. -514-สำนักข่าวไทย