กรุงเทพฯ 4 มี.ค.- รมว.คมนาคม จ่อถกกรมบัญชีกลาง ลดเกรดผู้รับเหมาเซ่น ถนนพระราม2 ล่าช้า เล็งปลดล็อกขยายเวลาให้ผู้รับเหมา เพื่อให้สร้างเสร็จเร็วขึ้น
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าารกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเรียกถกผู้รับเหมาก่อสร้างบนถนนพระราม2 ที่มีปัญหาการก่อสร้างล่าช้า จนได้รับฉายาว่าถนนเจ็ตชั่วโคตร ว่า ตามที่เป็นข่าวถนนพระราม2 มีการจรจรติดตั้ง ซึ่งตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมก็ได้สั่งการให้อธิบดีกรมทางหลวงเร่งรัดผู้รับเหมาให้ก่อสร้างให้แล้วเสร็จทันตามกำหนด แต่ก็ยังไม่คืบหน้าเท่าที่ควร เพราะขาดเครื่องมือบังคับผู้รับเหมา
วันนี้จึงเชิญผู้รับเหมาที่มีสัญญาบนถนนพระราม 2 รวมทั้งหมด 16 สัญญาทั้งในส่วนของกรมทางหลวง และการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเข้ามาพูดคุย หารือถึงแนวทาง และกำหนดมาตรการการดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามแผนที่วางไว้
ประกอบด้วย 1.โครงการทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก รับผิดชอบโดย กทพ. จำนวน 2 สัญญา 2.โครงการก่อสร้างทางยกระดับทางหลวงหมายเลข 35 สายธนบุรี-ปากท่อ ตอนทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน-เอกชัย รับผิดชอบโดย ทล. จำนวน 3 สัญญา และ 3.โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษ (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 82 (M82) สายทางยกระดับบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว ช่วงเอกชัย-บ้านแพ้ว รับผิดชอบโดย ทล. จำนวน 11 สัญญา
“จะเห็นว่าถนนพระราม2 มีการสร้างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ซึ่งการก่อสร้างที่เป็นแบบนี้ ถ้าเป็นผม ผมคิดว่าเราต้องไม่รอให้รถติดก่อนถึงมาสร้าง เพราะจะทำให้รถติดขึ้นไปใหญ่ จริงๆต้องมองไปข้างหน้า สร้างถนนดักไว้ก่อน ขยายถนนล่วงหน้า นี่คือสิ่งที่กระทรวงคมนาคมจะทำต่อจากนี้ ไม่ใช่ปล่อยให้รถติดแล้วไปสร้าง แล้วก็จำกีดเวลาทำงานผู้รับเหมา ให้มำเฉพาะกลางคืน ยิ่งทำให้รถติดไปใหญ่ ช่วง 2546 มีสะพานเจ็ดชั่วโคตรที่บางขุนเทียน จนผมต้องสั่งยกเลิกผู้รับเหมารายเดิม และให้ผู้รับเหมารายใหม่เข้าไปดำเนินการต่อ การก่อสร้างจึงแล้วเสร็จ มาตรการนี้ผมจะนำมาใช้กับการก่อสร้างปัจจุบัน”นายสุริยะกล่าว
รมว.คมนาคม กล่าวต่อว่า วันนี้ได้เชิญผู้รับเหมาที่ก่อสร้างบนถนนพระราม2 ทุกรายเข้ามาอธิบายปัญหาอุปสรรคที่ทำให้การก่อสร้างล่าช้า ซึ่งทุกรายยืนยันว่า จะก่อสร้างแล้วเสร็จ ภายในเดือนมิถุนายนปี 2568 ยกเว้นการก่อสร้างตอนมี่ 4 ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร รวมระยะทาง 1.264 กิโลเมตร (กม.) และตอนที่ 6 ระยะทางรวมประมาณ 1.108 กม. ที่มีการแก้ไขแบบ ซึ่งตามกำหนดจะแล้วเสร็จปลายปี 2568 โดยมีการหารือถึงแนวทางเร่งรัดการดำเนินงานให้เร็วขึ้น
แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ จึงสั่งการกรมทางหลวง ให้กำหนดตัวบุคคลเพื่อติดตามแผนทุกเดือน ในแต่ละตอนของสัญญา เพื่อไม่ให้ล่าช้า โดยตนเองจะเรียกประชุมติดตามความคืบหน้าการก่อสร้างทุก 2 เดือน เพื่อเร่งรัดให้เป็นไปตามเป้าหมาย มั่นใจว่าหากมีการติดตามอย่างใกล้ชิด ผู้รับเหมาจะสามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ เนื่องจากขณะนี้มีผู้รับเหมาชั้นพิเศษอยู่ โดยตนจะหารือกับกรมบัญชีกลาง ว่าจะมีมาตรการปรับผู้รับเหมาตกชั้นจากชั้นพิเศษ ลงมาชั้น 1 หากผู้รับเหมาก่อสร้างไม่ตรงตามเวลา ซึ่งผู้รับเหมากังวลเรื่องนี้มาก เพราะจะไม่สามารถประมูลงานโครงการใหญ่ๆได้ คาดว่าประมาณ 1 เดือนนับจากนี้จะได้ข้อสรุปเกณฑ์มาตรการของผู้รับเหมาใหม่ออกมา ซึ่งจะต้องนำไปใช้กับทุกโครงการทั่วประเทศ
“ที่ผ่านมามีผู้รับเหมาหลายรายเลื่อนชั้นจำนวนมาก แต่ยังไม่มีรายใดตกชั้น ส่วนกรณีที่ผู้รับเหมา ดำเนินการก่อสร้างล่าช้าเกิน 50% ของแผนรายเดือน ก็สามารถบอกยกเลิกสัญญาได้ ซึ่งจะไม่ทำให้เกิดสูญญากาศ เพราะกรมทางหลวงมีศูนย์ก่อสร้างสะพานรองรับกรณีผู้รับเหมาก่อสร้างไม่ทันจนต้องยกเลิกสัญญา” นายสุริยะกล่าว
ส่วนความคืบหน้างานก่อสร้างบนถนนพระราม 2 แบ่งเป็นส่วนของกรมทางหลวง ที่เป็นทางยกระดับ 3 ตอน ปัจจุบันล่าช้ากว่าแผน 11% ส่วนเส้นทางเอกชัย-บ้านแพ้ว ล่าช้ากว้า 10%
ขณะที่ในส่วนของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ) ทั้ง 3 สัญญาดำเนินการได้เร็วกว่าแผน ซึ่งตามสัญญาการก่อสร้างจะแล้วเสร็จเดือนกรกฏาคม 2568 ซึ่งขณะนี้ภาพรวมดำเนินการไปแล้ว 74% แต่ทั้งนี้ก็จะมีการเร่งรัดการดำเนินงานให้เร็วขึ้น.-517-สำนักข่าวไทย