กรุงเทพฯ 25 ธ.ค.- 17 สมาคมปศุสัตว์ วอนนายกฯ ประกาศนำเข้ากากถั่วเหลือง ที่กำลังจะสิ้นสุด 31 ธ.ค.66 ภายในการประชุม ครม. พรุ่งนี้ หากล่าช้า หวั่นเกิดวิกฤติอาหารสัตว์กระทบทั้งห่วงโซ่ ราคาอาหารสัตว์-เนื้อสัตว์พุ่ง
สมาพันธ์ปศุสัตว์ฯ ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีร้องขอรัฐบาลเร่งออกประกาศนำเข้ากากถั่วเหลือง ที่กำลังจะสิ้นสุดลง 31 ธันวาคม 2566 ก่อนเกิดความเสียหายหนักเพิ่มต้นทุนการผลิตและกระทบห่วงโซ่การผลิตอาหารทั้งระบบหลังเรือขนวัตถุดิบกากถั่วเหลืองลอยลำไรทะเลจ่อเข้าเทียบถ้าไทย 3 มกราคม 2567 หากนำเข้าไม่ได้จะถูกค่าปรับอ่วมกระทบขีดความสามารถการแข่งขันส่งออกเนื้อไก่กุ้งของไทยและซ้ำเติมเกษตรกรคนเลี้ยงหมูที่บอบช้ำจากหมูเถื่อนมาตลอดทั้งปี ลั่นจะส่งบินเก็บค่าเสียหายทั้งหมดที่รัฐบาลด้านเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งปลาร่วมยื่นหนังสือผ่านผู้ว่าหลายจังหวัดตอกย้ำความเดือดร้อนหากวัตถุดิบอาหารกุ้งขาดแคลน
นายพรศิลป์ พัชรินทร์ เลขาธิการสมาพันธ์ปศุสัตว์และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเผยว่าเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2566 สมาพันธ์ได้ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ผ่านทางนายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกฯรัฐมนตรีซึ่งเป็นหนังสือฉบับที่หกที่ยื่นถึงรัฐในประเด็นนี้เพื่อขอเข้าพบอธิบายเหตุผลและความจำเป็นตลอดจนขอร้องให้รัฐบาลเร่งดำเนินการออกประกาศทันที
“ผลผลิตถั่วเหลืองของไทยมีเพียงปีละสองถึง 30,000 ตันซึ่งได้รับการปกป้องเกษตรกรโดยสมาพันธ์รับซื้อทั้งหมด 100% รวมถึงรับซื้อจากโรงงานผลิตน้ำมันพืชด้วยจึงมองไม่เห็นเหตุผลที่รัฐบาลจะดึงการต่ออายุประกาศนำเข้ากากถั่วเหลืองให้ล่าช้ากว่าทุกปีซึ่งจะส่งผลเสียอย่างมากจึงอยากวอนขอให้รัฐบาลนำวาระนี้เข้าที่ประชุมครม. ในวันพรุ่งนี้ (26 ธันวาคม) ซึ่งเป็นการประชุมครม. ครั้งสุดท้ายของปีโดยขอให้มีมติต่ออายุทันทีเพื่อจำกัดความเสียหายและขอให้ออกประกาศยกเว้นอากรของกระทรวงการคลังในวันเดียวกันด้วย”นายพรศิลป์กล่าว
นายสมภพ เอื้อทรงธรรม เลขาธิการสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย เปิดเผยว่า ความต้องการกากถั่วเหลืองในประเทศไทยอยู่ที่ปีละ 6 ล้านตัน วันที่สามมกราคม 2567 จะมีเรือขนถ่ายสินค้ากากทัวร์เหลืองเข้าสู่ประเทศไทย และตลอดเดือนมกราคม 2567 จะมีเรือนำเข้ากากถั่วเหลืองรวม 4 ลำปริมาณ 2.1 แสนตัน หากประกาศนำเข้าถั่วเหลืองออกไม่ทันจะทำให้เกิดความเสียหาย ดังนี้ 1.เรือที่ขนถ่ายสินค้ากากถั่วเหลืองที่จะเข้ามาไทยจะไม่สามารถขนถ่ายสินค้าได้จึงต้องมีค่าใช้จ่ายเป็นค่าระวางเรือวันละ 2.5 แสนบาทต่อลำเรือ ซึ่งในเดือนมกราคมจะมีเรือเข้ามาพร้อมกัน 4 ลำจะทำให้มีค่าใช้จ่ายรวม 1 ล้านบาทต่อวัน 2.ต้องเสียค่าใช้จ่ายในส่วนของอัตราดอกเบี้ยสูญเปล่ากรณีประกาศลดหย่อนอัตราภาษีของกระทรวงการคลังออกล่าช้า กรณีมกราคม 67 มีรายการเข้ามาจำนวน 2.1 ล้านตันมูลค่านำเข้าประมาณ 42,000 ล้านบาทมูลค่าภาษีที่ต้องสำรองจ่ายจะสูงถึง 336 ล้านบาทและมีอัตราดอกเบี้ยสูญเปล่า 1.68 ล้านบาทต่อเดือนระยะเวลาขอคืนภาษี6 เดือน คิดเป็นอัตราดอกเบี้ยสูงเปล่าในเดือนมกราคมรวม 10,08 ล้านบาท
“ปี 2566 เป็นปีที่แย่ที่สุดของผู้ผลิตอาหารสัตว์เพราะต้นทุนเพิ่มขึ้นสูงมาก โดยเพิ่มขึ้นจากสองปีที่แล้วประมาณ 15% และหากมีปัญหาประกาศนำเข้ากากถั่วเหลืองล่าช้าเพิ่มมาอีกก็จะส่งผลให้ ผู้ผลิตอาหารสัตว์มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นต้องหาวัตถุดิบอื่นมาทดแทน ต้นทุนก็จะเพิ่มขึ้นอีก 10% และเฉพาะเดือนมกราคม 67 คาดว่าจะมีความเสียหายประมาณ 40 ล้านบาทโดยเป็นค่าระหว่างเรือ 30 ล้านบาทและภาษีอีกประมาณ 10 ล้านบาท ขณะที่ปัจจุบันมีสต๊อกกากถั่วเหลืองเหลือสำหรับผลิตอาหารสัตย์ได้เพียง 2 เดือนเท่านั้น” นายสมภพ กล่าว
นายคึกฤทธิ์ อารีปกรณ์ ผู้จัดการสมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทยเปิดเผยว่า กระบวนการผลิตไก่เพื่อส่งออกมีต้นน้ำในการนำวัตถุดิบเข้ามาผลิตอาหารสัตว์จากต่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งกากถั่วเหลือง ซึ่งต้องนำเข้าปีละ 3 ล้านตันโดยมีการต่ออายุทุกๆสามปี แต่ไม่เข้าใจว่าเหตุใดปีนี้กลับเกิดความล่าช้าซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นและกระทบขีดความสามารถทางการแข่งขันของอุตสาหกรรมไก่ไทยในตลาดโลกมูลค่าการส่งออกราว 1.5 ๅล้านบาทที่ตั้งไว้น่าจะเป็นไปได้ยาก
นายสิทธิพันธ์ ธนาเกียรติภิญโญ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติระบุว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูได้รับความเดือดร้อนจากหมูเถื่อนมาหลายปีรวมถึงต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นมาโดยตลอด ขณะที่ตอนนี้ยังต้องกังวลกับสถานการณ์การนำเข้ากากถั่วเหลืองซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตอาหารสัตว์ที่เกิดความล่าช้าจากการออกประกาศนำเข้าจะกลายเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตซ้ำเติมความเดือดร้อนของคนเลี้ยงหมูอีกด้านจึงอยากขอให้รัฐบาลนำวาระการต่ออายุประกาศเข้าสู่ที่ประชุมครม. ในวันที่ 26 ธันวาคมนี้ทันทีเพื่อลดความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นตามมาอีกมหาศาล
“ปัจจุบันต้นทุนของผู้เลี้ยงหมูเฉลี่ย ทั้งปีอยู่ที่ 78 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ราคาขายอยู่ที่ 64 – 72 บาทต่อกิโลกรัม ส่งผลให้ผู้เลี้ยงหมูประสบปัญหาขาดทุนมาร่วมปีแล้ว และหากมีปัญหานำเข้ากากถั่วเหลืองล่าช้าก็ยิ่งจะเป็นการซ้ำเติมเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูขาดแคลนวัตถุดิบอาหารสัตย์ เกิดการแย่งวัตถุดิบ ต้นทุนสูงขึ้น อาจทำให้รายย่อยเจ๊ง ไม่สามารถอยู่ได้ และจะส่งผลให้เนื้อหมูราคาพุ่งสูงขึ้น กระทบผู้บริโภค
ประเทศไทยต้องนำเข้าสินค้ากากถั่วเหลืองปีละเกือบ 3 ล้านตันในการผลิตอาหารเนื่องจากประเทศไทยผลิตถั่วเหลืองได้ประมาณปีละ 2-3 หมื่นตันไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ ที่ผ่านมาสินค้ากาดถั่วเหลืองอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการนโยบายอาหารกระทรวงพาณิชย์ซึ่งเป็นผู้พิจารณากำหนดนโยบายและมาตรการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์โดยการนำเข้าสินค้ากากถั่วเหลืองภายใต้กรอบ WTO กำหนดโควต้าผู้มีสิทธิ์นำเข้า 11 รายนำเข้าได้โดยไม่จำกัดจำนวนมีอัตราภาษีร้อยละสองโดยพิจารณาคราวละสามปีซึ่งประกาศนำเข้ากากถั่วเหลือง ปี 2564-2566 จะสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคมนี้.-สำนักข่าวไทย