มติ ส.ว.ไม่ขัด รธน. หลังไม่เห็นชอบ “รัชนันท์” เป็น ตุลาการศาลปกครอง

ศาลรัฐธรรมนูญ 12 ต.ค.- ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก 7 ต่อ 2 ชี้ขาดปมวุฒิสภาไม่เห็นชอบให้ “รัชนันท์ ธนานันท์” เป็นตุลาการศาลปกครองสูงสุด ไม่ขัด รธน. ระบุคนละกรณีกับ ก.ศป. ไม่กระทบต่อหลักความเป็นอิสระ


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนัดออกนั่งบัลลังก์อ่านคําวินิจฉัยคำร้องของผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 กรณีที่วุฒิสภาไม่ให้ความเห็นชอบ นายรัชนันท์ ธนานันท์ ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง (ก.ศป.) ให้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลปกครองสูงสุด ขัดต่อหลักความเสมอภาค และความเป็นอิสระของการบริหารงานบุคคลเกี่ยวกับตุลาการศาลปกครอง เป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพ ที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้ อันเป็นผลจากพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 15 วรรคสาม ขัดหรือแย้งรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 และมาตรา 198 หรือไม่ โดยมีตัวแทนจากผู้ตรวจการแผ่นดิน และผู้แทนสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา มาร่วมฟังการอ่านคำวินิจฉัย

โดยศาลรัฐธรรมนูญ เห็นว่า พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 15 วรรคสาม บัญญัติให้ ก.ศป. เสนอชื่อผู้ได้รับการเลื่อนตำแหน่งหรือได้รับการคัดเลือกต่อนายกฯ และให้นายกฯ เสนอขอความเห็นชอบต่อวุฒิสภาภายใน 15 วัน และให้นายกฯ นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ซึ่งข้อโต้แย้งที่ว่าบทบัญญัติดังกล่าวมีความแตกต่างจากการแต่งตั้งผู้พิพากษาในศาลยุติธรรม ที่ไม่ต้องให้วุฒิสภาให้ความเห็นชอบ ซึ่งขัดต่อหลักความเสมอภาคนั้น เห็นว่าศาลยุติธรรมและศาลปกครองมีอำนาจหน้าที่ การจัดตั้ง และการพิจารณาคดีที่แตกต่างกัน ผู้พิพากษาหรือตุลาการแต่ละศาล จึงต้องเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจกฎหมาย และความเชี่ยวชาญในคดีแต่ละประเภทตามความเหมาะสมของแต่ละศาล มีที่มาที่แตกต่างกัน การแต่งตั้งและการคัดเลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่งย่อมแตกต่างกันด้วย จึงไม่อาจนำความแตกต่างนี้มาพิจารณาเปรียบเทียบกับการปฏิบัติที่แตกต่างกันได้ และกระบวนการในการคัดเลือกตุลาการศาลปกครองสูงสุด ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและกฎหมาย บังคับกับผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ดังนั้นจึงไม่ขัดต่อหลักความเสมอภาค ไม่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม


ส่วนกรณีข้อโต้แย้งที่ว่า บทบัญญัติดังกล่าวแทรกแซงการบริหารงานบุคคลเกี่ยวกับตุลาการศาลปกครอง และขัดต่อความเป็นอิสระในการบริหารงานบุคคลเกี่ยวกับตุลาการศาลปกครองนั้น เห็นว่า วุฒิสภาถือเป็นองค์กรนิติบัญญัติที่จะให้ความเห็นชอบบุคคล เพื่อดำรงตำแหน่งต่างๆ ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญและกฎหมาย โดยใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 128 ทั้งนี้ แม้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมิได้บัญญัติให้การแต่งตั้งตุลาการศาลปกครองสูงสุดต้องได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภา เหมือนในรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมา แต่ยังคงหลักการเดิมในการคัดเลือกและแต่งตั้งตุลาการศาลปกครองสูงสุดในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 15 วรรคสาม ซึ่งเป็นกฎหมายในระบอบพระราชบัญญัติที่บัญญัติรับรองไว้แล้ว จึงไม่ต้องบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญอีก นอกจากนั้น การที่วุฒิสภาให้ความเห็นชอบของวุฒิสภาเป็นเพียงขั้นตอนที่เกิดขึ้นหลัง ก.ศป.พิจารณาคัดเลือกบุคคลเพื่อแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลปกครองสูงสุดแล้ว โดยเป็นกระบวนการกลั่นกรองที่เกี่ยวกับความประพฤติและพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลที่จะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลปกครองสูงสุด ขั้นตอนดังกล่าวไม่ได้เกี่ยวกับการคัดเลือกที่กระทำโดย ก.ศป. และองค์ประกอบของ ก.ศป. ไม่มีวุฒิสภาเข้าไปเกี่ยวข้อง การให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบของวุฒิสภา จึงไม่เป็นการใช้อำนาจขัดหรือแย้งกับ ก.ศป. และไม่กระทบต่อหลักความเป็นอิสระการบริหารงานบุคคลเกี่ยวกับตุลาการศาลปกครองสูงสุด ดังนั้น ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีมติเสียงข้างมาก 7 ต่อ 2 วินิจฉัยว่า พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 15 วรรคสาม ไม่ขัดหรือแย้งรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 วรรคหนึ่งและวรรคสาม และมาตรา 198

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรณีวุฒิสภาลงมติด้วยวิธีลับ กรณีการเสนอชื่อ นายรัชนันท์ ให้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลปกครองสูงสุดนั้น เกิดขึ้นอย่างน้อย 2 ครั้ง ระหว่างปี 2563-2564 โดยวุฒิสภาเสียงข้างมากมีมติไม่เห็นชอบให้นายรัชนันท์ ดำรงตำแหน่งตามที่เสนอ ซึ่งกรณีดังกล่าวมีรายงานข่าวจากวุฒิสภา แจ้งว่า สาเหตุที่ ส.ว.มีมติไม่เห็นชอบดังกล่าว เนื่องจากพบว่า นายรัชนันท์ เคยถ่ายรูปและไปทักทายต้อนรับนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี สมัยที่ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตฟินแลนด์ เมื่อปี 2559 จึงเห็นว่ามีปัญหาเรื่องวุฒิภาวะที่ไปถ่ายรูปคู่กับนายทักษิณ ที่เป็นผู้ต้องหาหนีคดี และอาจมีปัญหาเรื่องความเป็นกลางทางการเมือง ขัดกับการดำรงตำแหน่งตุลาการศาลปกครองสูงสุดที่ไม่ควรฝักใฝ่ฝ่ายใด.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สามีเข้าเกียร์ค้างไว้ สตาร์ทรถพุ่งชนภรรยาดับ

สลด! สามีขับรถใส่เกียร์ค้างไว้ สตาร์ทรถพุ่งชนภรรยาเสียชีวิตในบ้านพักย่านวิภาวดี ตำรวจยังไม่ปักใจเชื่อคำให้การเบื้องต้น นำตัวสอบปากคำอย่างละเอียดอีกครั้ง

คุมฝากขัง “เอ็ม เอกชาติ” เจ้าตัวปิดปากเงียบ

ตร.ไซเบอร์คุมตัว “เอ็ม เอกชาติ” ฝากขัง เจ้าตัวปิดปากเงียบ ไม่ตอบคำถามสื่อ ด้านตำรวจพบเส้นทางการเงินจากเว็บพนัน กว่า 30 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

ทยอยนำ 3 ร่างผู้เสียชีวิตออกจากใต้ซากตึกถล่ม ส่งสถาบันนิติเวช

นำร่างผู้เสียชีวิต 3 ราย ออกจากใต้ซากอาคารถล่ม ทยอยเคลื่อนออกจากพื้นที่ ส่งสถาบันนิติเวชวิทยา ด้านตำรวจเตรียมดำเนินคดีชาวจีน 4 คน ขนเอกสารอ้างเคลมประกัน

ระดมทีมค้นหาสุดกำลัง ช่วยผู้ที่ติดค้างใต้ซากตึกถล่ม

ระดมทีมค้นหาสุดกำลัง ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ที่ติดค้างใต้ซากอาคาร สตง. ถล่มจากเหตุแผ่นดินไหว ทุกภาคส่วนยังทำงานแข่งกับเวลาและสภาพอากาศที่ร้อนจัด ล่าสุดมีรายงานพบร่างผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 4 ราย

“อนุทิน” เซ็นตั้ง คกก.สอบอาคาร สตง.ถล่มจากแผ่นดินไหว

“อนุทิน” เซ็นตั้ง คกก.สอบ หลังตึก สตง.ถล่มจากเหตุแผ่นดิน​ไหว​เพียงตึกเดียว​ คาดรู้ผลใน 7 วัน ยันไล่บี้ตั้งแต่แบบอาคารและการก่อสร้าง ชี้ทั้งบริษัทไทย-จีน​ ต้องรับผิดชอบเต็มร้อย ​ขณะทูตจีนพาผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหวพบ

บกปภ.ช. รายงานสถานการณ์แผ่นดินไหว เสียหาย 18 จังหวัด

บกปภ.ช. รายงานสถานการณ์แผ่นดินไหว เสียหายเพิ่มขึ้นเป็น 18 จังหวัด เฉพาะกรุงเทพฯ เสียชีวิต 9 ราย สูญหาย 79 ราย ยังคงเร่งค้นหาผู้รอดชีวิตจากอาคารถล่ม ขณะที่กรมบัญชีกลางขยายวงเงินทดรองราชการเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน 200 ล้านบาท