ผู้นำใหม่คิวบาจะไม่คุยกับทรัมป์แบบไม่เท่าเทียม

ฮาวานา 17 ก.ย.- ประธานาธิบดีมีเกล ดีอัซ-กาเนล ของคิวบาให้สัมภาษณ์ครั้งแรกตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนเมษายนว่า รัฐบาลของเขาจะไม่คุยกับประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ หากยังมีทัศนคติไม่ปกติต่อคิวบา 


ประธานาธิบดีดีอัซ-กาเนลวัย 58 ปี ให้สัมภาษณ์สถานีโทรทัศน์เวเนซุเอลาที่ออกอากาศเมื่อเย็นวันอาทิตย์ว่า คิวบาต้องการเจรจากับสหรัฐ แต่ต้องเป็นไปอย่างเท่าเทียม คิวบาไม่ยอมรับการถูกยัดเยียดและจะไม่ยอมอ่อนข้อ คิวบาไม่ได้รุกราน แต่ปกป้องและแบ่งปัน พร้อมกับชื่นชมความเป็นพันธมิตรกับเวเนซุเอลาและแสดงความยินดีกับนายอันเดรส มานูเอล โลเปซ โอบราดอร์ที่ชนะเลือกตั้งเมื่อเดือนกรกฎาคมและจะเข้ารับตำแหน่งในปลายปีนี้ว่า เป็นความหวังของลาตินอเมริกา 

ความสัมพันธ์คิวบากับสหรัฐเสื่อมทรามลงอย่างมากตั้งแต่ทรัมป์ขึ้นเป็นผู้นำสหรัฐและทยอยยกเลิกข้อตกลงประวัติศาสตร์ที่ผู้นำของสองประเทศคือประธานาธิบดีบารัค โอบามากับประธานาธิบดีราอูล คาสโตรตกลงฟื้นความสัมพันธ์ระดับปกติหลังจากเป็นปรปักษ์กันมานาน 54 ปี ประธานาธิบดีดีอัซ-กาเนลกล่าวถึงอดีตผู้นำวัย 87 ปีว่า เปรียบเสมือนบิดาอีกคนของเขาและยังคงสนทนาพูดคุยกันเกือบทุกวัน


ผู้นำใหม่คิวบากล่าวถึงร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เปิดให้ชุมชนต่าง ๆ ถกเถียงแสดงความเห็นกันอยู่ในขณะนี้เพื่อนำมาใช้แทนรัฐธรรมนูญที่ใช้ตั้งแต่ยุคสงครามเย็นว่า การนำคำว่าระบอบคอมมิวนิสต์ออกจากร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้หมายความว่าคิวบาละทิ้งเจตจำนงนี้ เพราะยังคงมีคำว่าสังคมนิยม ซึ่งสื่อนัยถึงคอมมิวนิสต์ ส่วนเรื่องที่มีการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีการแต่งงานของคนเพศเดียวกัน เขาเห็นด้วยว่าไม่ควรมีการเลือกปฏิบัติ แต่ก็ต้องขึ้นกับประชาชนว่าเห็นด้วยหรือไม่.- สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เชียงใหม่อากาศแปรปรวน เจอลมหนาว-ฝนตก 3 วันติด

ชาวเชียงใหม่เจอลมหนาวและฝนตกต่อเนื่อง 3 วันติด อุตุฯ ย้ำอากาศแปรปรวน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย ยังมีฝนตกและลมหนาว แนะรักษาสุขภาพ

ข่าวแนะนำ

อุตุฯ เผย “เหนือ-อีสาน” อากาศเย็นตอนเช้า-ภาคใต้ฝนหนัก

กรมอุตุฯ เผย “เหนือ-อีสาน” อากาศเย็นในตอนเช้า เตือนภาคใต้ฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง พร้อมอัปเดตเส้นทางพายุ “หยินซิ่ง”

MOU44

MOU 44 ผลประโยชน์ชาติ กับ การเมือง ตอนที่ 1

ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา เรื่องเอ็มโอยู 44 และเส้นแบ่งอาณาเขตทางทะเล หรือเส้นเคลม กลายเป็นปมร้อน ท่ามกลางความกังวลถึงผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และสิทธิเหนือเกาะกูด ติดตามความเห็นและมุมมองจากผู้เกี่ยวข้องในรายงาน “ปมร้อน เอ็มโอยู 44 ผลประโยชน์ชาติ กับ การเมือง”