สภาฯ ผ่านร่างกฎหมาย (อุ้ม-ทรมาน)

รัฐสภา 16 ก.ย.-สภาฯ ผ่านร่างกฎหมายทรมาน วาระแรก ทั้ง 4 ฉบับ พร้อมตั้ง “หมอทศพร-บก.ลายจุด” เป็น กมธ.วิสามัญฯ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. … วาระแรก ด้วยคะแนนเอกฉันท์ 368 งดออกเสียง 1 ไม่ลงคะแนน 1 โดยรับหลักการทั้ง 4 ฉบับที่มีการเสนอ คือ 1.ร่างของคณะรัฐมนตรี 2.ร่างของนายสิระ เจนจาคะ ส.ส.กทม. พรรคพลังประชารัฐ 3.ร่างของนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชาติ และ 4.ร่างของนายสุทัศน์ เงินหมื่น ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ พร้อมตั้งกรรมาธิการวิสามัญ 25 คน อาทิ นพ.ทศพร เสรีรักษ์ นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด ซึ่งพรรคเพื่อไทยเสนอ นายเอกชัย ไชยนุวัติ ส่วนพรรคประชาธิปัตย์เสนอนายสมชาย หอมลออ ขณะที่พรรคเสรีรวมไทยเป็นผู้เสนอ นางอังคณา นีละไพจิตร ทั้งนี้ กำหนดเวลาแปรญัตติ 7 วัน โดยยึดร่างของรัฐบาลเป็นร่างหลักในการพิจารณา


สำหรับใจความสำคัญ ของร่างกฎหมายฉบับนี้ อยู่ในมาตรา 5 ระบุไว้ชัดว่า ถ้าเจ้าหน้าที่รัฐทำให้ผู้อื่นเกิดความเจ็บปวด ทุกข์ทรมาน ทั้งทางร่างกายและจิตใจ เพื่อให้มีการรับสารภาพ หรือให้ได้ข้อมูล หรือเพื่อข่มขู่ รวมถึงการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม ถือว่าเป็นการกระทำความผิดฐานกระทำทรมาน มีโทษสูงสุดจำคุก 25 ปี ปรับ 5 แสนบาท ถ้าถึงขั้นเสียชีวิต มีโทษสูงสุดจำคุก 30 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต ปรับ 1 ล้านบาท เช่นเดียวกับกรณีบังคับสูญหายในมาตรา 6 ระบุว่า ถ้าเจ้าหน้าที่รัฐ มีการจับ,ขัง, ลักพาตัว โดยปกปิดชะตากรรม ปกปิดสถานที่ ถือว่าผู้นั้นกระทำความผิดฐานกระทำให้บุคคลสูญหาย โทษก็จะหนักเท่ากัน คือ จำคุก 25 ปี ปรับ 5 แสนบาท ถ้าถึงขั้นเสียชีวิต โทษสูงสุด จำคุก 30 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต ปรับ 1 ล้านบาท

ขณะเดียวกัน ร่างกฎหมายฉบับนี้ยังเอาผิดครอบคลุมไปถึงผู้สมคบคิดอยู่ในเหตุการณ์ ผู้สนับสนุน ต้องรับโทษเท่ากับคนก่อเหตุด้วยและหากผู้บังคับบัญชารู้เห็นและไม่ระงับการกระทำ ต้องรับโทษครึ่งหนึ่งของผู้ทำผิด นอกจากนี้ยังกำหนดให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเป็นประธาน และผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ร่วมเป็นกรรมการ ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย และที่สำคัญ คือ การกำหนดให้คดีทรมานบังคับสูญหายนี้ เป็นคดีพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ หมายความว่า ให้เป็นหน้าที่ ของ DSI ในการทำคดี


อย่างไรก็ตาม การมีกฎหมายฉบับนี้ จะทำให้ประเทศไทย มีกระบวนการยุติธรรมที่สอดคล้องกับหลักการสากลมากขึ้น เพราะไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ลงนามในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทรมานไว้ตั้งแต่ปี 2555 .- สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

“ทวี” แจง “ดีเจแมน-ใบเตย” ได้เยียวยา แต่ต้องรอคดีถึงที่สุด

“ทวี” แจง “ดีเจแมน-ใบเตย” ได้รับค่าเยียวยา หลังศาลชั้นต้นยกฟ้อง แต่ต้องรอให้คดีถึงที่สุด บอกหากไม่ได้รับความยุติธรรม ฟ้องรัฐได้

ถนนมิตรภาพเข้าสู่ประตูอีสานรถเพิ่มขึ้น

เริ่มแล้วเทศกาลปีใหม่ ประชาชนออกเดินทางกลับภูมิลำเนาการจราจรถนนมิตรภาพ ปริมาณรถมาก ตำรวจทางหลวง เตรียมพร้อมอำนวยความสะดวก

หมอชิต 2 เริ่มคึกคัก คาดวันนี้จะมีผู้โดยสารหนาแน่นที่สุด

สถานีขนส่งหมอชิต 2 มีประชาชนบางส่วนทยอยเดินทางกลับภูมิลำเนาแล้ว แต่ยังไม่หนาแน่นนัก ด้าน บขส. คาดตลอดทั้งวันนี้จะมีผู้โดยสารหนาแน่นที่สุดถึง 120,000 คน

นายกฯ มอบคำขวัญวันเด็กประจำปี 2568

“แพทองธาร” นายกฯ มอบคำขวัญวันเด็ก ประจำปี 2568 “ทุกโอกาส คือ การเรียนรู้ พร้อมปรับตัวสู่อนาคตที่เลือกเอง” ระบุรัฐบาลเห็นคุณค่าในตัวเด็กๆ ทุกคน ขอให้ปรับตัวเรียนรู้ ให้เข้ากับสถานการณ์