คลังย้ำฐานะการคลังแข็งแรง พร้อมดูแลคนตัวเล็ก


กระทรวงการคลัง 4 ก.พ. – คลังโต้ข้อวิจารณ์เศรษฐกิจถดถอย ย้ำฐานะการคลังแข็งแรง พร้อมดูแลคนตัวเล็ก



นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง ชี้แจงกรณีมีผู้วิจารณ์ว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทยแย่ลงเรื่อย ๆ ฐานะการคลังมีความเปราะบางจน อาจนำไปสู่การล้มละลายทางการคลัง และรัฐบาลไม่ดูแลประชาชนและผู้ประกอบการรายเล็กรายน้อย ว่า สถานการณ์เศรษฐกิจไทยในปัจจุบันส่งสัญญาณดีขึ้น จากรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนธันวาคม 2563 ของสำนักงานเศรษฐกิจการคลังชี้ว่า เศรษฐกิจไทยมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นทั้งในด้านอุปสงค์จากต่างประเทศ และอุปสงค์ในประเทศ สะท้อนจากการส่งออกสินค้าที่กลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 8 เดือน ที่ร้อยละ 4.7 ต่อปี ประกอบกับเครื่องชี้การบริโภคในหมวดสินค้าคงทนและการลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน ขณะที่เสถียรภาพเศรษฐกิจไทยอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำ และทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง ทั้งนี้ จากสถานการณ์เศรษฐกิจไทยล่าสุด สะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดแล้วและจะปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยยังคงได้รับความเชื่อมั่นจากนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ โดยล่าสุด สำนักข่าว Bloomberg ได้ประเมินมุมมองอนาคตเศรษฐกิจของไทยปี 2564 ว่าเป็นประเทศที่น่าสนใจเป็น อันดับ 1 ใน 17 ประเทศในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ (Emerging Market Economies) สะท้อนได้จากเงินสำรองระหว่างประเทศในระดับสูง ความแข็งแกร่งในภาคการเงินระหว่างประเทศและศักยภาพในการดึงดูดเงินทุนจากต่างประเทศ อีกทั้ง Bloomberg ได้เผยแพร่ดัชนีประสิทธิภาพของระบบรักษาสุขภาพ (Bloomberg Heath-Efficiency Index 2020) โดยชื่นชมประเทศไทยว่าเป็นหนึ่งในสิบอันดับแรก (อันดับที่ 9) ของประเทศที่มีระบบรักษาสุขภาพที่มีประสิทธิภาพสูงเหนือกว่าอีกหลายประเทศจากกลุ่มตัวอย่าง 57 ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ แสดงให้เห็นถึงระบบสาธารณสุขของไทยที่มีประสิทธิภาพสูง


ในส่วนของการจัดเก็บรายได้รัฐบาลจะเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศ โดยในช่วงปีงบประมาณ 2557 – 2563 การจัดเก็บรายได้รัฐบาลขยายตัวเพิ่มขึ้นจาก 2,074,660 ล้านบาท เป็น 2,391,570 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 2.1 ต่อปี (Compound Annual Growth Rate) ซึ่งมีเพียงปีงบประมาณ 2557 2560 และ 2563 ที่การจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิลดลงจากปีก่อนหน้า โดยในปีงบประมาณ 2563 รายได้รัฐบาลลดลง เนื่องจากผลกระทบของการระบาดของ COVID-19 ได้ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย และการออกมาตรการทางภาษีเพื่อบรรเทาภาระให้แก่ประชาชนและเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเป็นเร่งด่วน

นอกจากนี้สถานการณ์ทางการคลังประเทศไทยในปัจจุบันยังอยู่ในระดับที่เข้มแข็ง โดยฐานะทางการคลังมีความมั่นคงและมีสภาพคล่องเพียงพอต่อการดำเนินนโยบายของรัฐบาล ระดับเงินคงคลังยังอยู่ในระดับที่เพียงพอสามารถรองรับการเบิกจ่ายงบประมาณของหน่วยงานภาครัฐ และการดำเนินนโยบายต่าง ๆเพื่อสนับสนุนการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศในระยะต่อไป

ทั้งนี้ ระดับเงินคงคลังปลายงวด ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2563 อยู่ที่ 473,001 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าเงินคงคลังปลายงวด ณ สิ้นปีงบประมาณก่อนหน้า ถึงร้อยละ 49.5 นอกจากนี้ ในส่วนของหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2563 มีจำนวนทั้งสิ้น 8.1 ล้านล้านบาท โดยมีสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เท่ากับร้อยละ 52.1 ซึ่งยังคงอยู่ภายใต้กรอบวินัยทางการคลังที่กำหนดให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ไม่เกินร้อยละ 60 และซึ่งหนี้ที่เกิดขึ้นเป็นการนำไปลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่ส่งผลให้เกิดการจ้างงานและช่วยยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน


อย่างไรก็ดี หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมีความเห็นตรงกันว่า เศรษฐกิจไทยน่าจะผ่านจุดต่ำที่สุดในปี 2563 แล้ว และได้ปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น ซึ่งสะท้อนได้จากเครื่องชี้เศรษฐกิจหลายตัวดีขึ้นตามลำดับ ตามสถานการณ์เศรษฐกิจ การเมือง และการค้าโลกที่ปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำวัคซีนมาใช้ในปี 2564 ซึ่งจะทำให้การดำเนินกิจกรรมเศรษฐกิจ ค่อย ๆ กลับเข้าสู่สภาวะปกติ และเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัว การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลก็จะมีแนวโน้มดีขึ้น ขณะเดียวกัน กระทรวงการคลังจะเร่งผลักดันและแก้ไขเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาคต่าง ๆ ให้กลับมาเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยโดยเร็ว

ประเด็นด้านการดูแลประชาชนและผู้ประกอบการ รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้ดำเนินมาตรการเพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 อย่างต่อเนื่อง ทั้งในส่วนของมาตรการเยียวยาและช่วยเหลือให้แก่ประชาชน มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ และมาตรการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ ซึ่งครอบคลุมประชาชนในหลากหลายกลุ่มอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ เกษตรกร กลุ่มเปราะบาง กลุ่มผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผู้มีอาชีพรับจ้าง หาบเร่ แผงลอย นอกจากนี้ มาตรการที่รัฐบาลได้ดำเนินในช่วงที่ผ่านมา ยังมุ่งเน้นไปที่การสนับสนุนให้เกิดการใช้จ่ายและการหมุนเวียนเศรษฐกิจในระดับฐากราก เพื่อช่วยเหลือให้ผู้ประกอบการรายย่อยได้มีรายได้ในช่วงภาวะเช่นนี้

สำหรับการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการ SMEs รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังได้ดำเนินมาตรการ ผ่านการให้แหล่งเงินต้นทุนต่ำภายใต้มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจต่าง ๆ เช่น ธนาคารออมสิน ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือ ธพว. เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้กำหนดกลไกลดความเสี่ยงด้านเครดิตผ่านการค้ำประกันสินเชื่อของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขยาดย่อม หรือ บสย. และในปัจจุบันยังมีมาตรการด้านการเงินเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการที่ยังดำเนินการอยู่และครอบคลุมผู้ประกอบการ SMEs ในทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ SMEs ทั่วไป ผู้ประกอบการ SME ภาคธุรกิจท่องเที่ยวและสาขาธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ซึ่งเป็นภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ตลอดจนผู้ประกอบการรายเล็กรายน้อยต่าง ๆ เช่น พ่อค้า แม่ค้าในตลาด เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีในส่วนของมาตรการบรรเทาภาระหนี้สิน โดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจแต่ละแห่งได้มีการจัดกลุ่มลูกหนี้และมีการพิจารณามาตรการเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้แต่ละรายเพิ่มเติมเป็นการเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นการขยายเวลาการชำระหนี้ การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และการให้สินเชื่อเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง รวมถึงมีการติดต่อลูกค้าเพื่อช่วยเหลือในเชิงรุก สำหรับลูกค้าที่อยู่ในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุด

ทั้งนี้ กลไกการช่วยเหลือดังกล่าวมีความสอดคล้องกับแนวทางการให้ความช่วยเหลือ SMEs ในต่างประเทศ โดยผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับความช่วยเหลือควรเป็นผู้ประกอบการ SMEs ที่ยังพอมีศักยภาพทางธุรกิจ แต่ประสบปัญหาจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 แต่สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่อาจขาดศักยภาพหรืออยู่ในภาคอุตสาหกรรมที่จำเป็นต้องปรับปรุงโครงสร้าง กระทรวงการคลัง โดย บสย. ได้จัดตั้งศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs หรือ บสย. F.A. Center ที่จะเป็นพี่เลี้ยงให้ความรู้และแนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสมกับผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มดังกล่าวนี้ด้วย นอกจากนี้ เพื่อให้การกำหนดมาตรการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กระทรวงการคลังได้มีการติดตามสถานการณ์และผลการดำเนินมาตรการต่าง ๆ ที่ออกมาอย่างใกล้ชิด ตลอดจนแก้ไขปัญหาข้อติดขัดในการดำเนินมาตรการต่าง ๆ และพร้อมที่จะออกมาตรการที่เหมาะสมมาดูแลและเยียวยาผู้ประกอบการ SMEs รวมถึงดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจไทยได้อย่างทันการณ์ต่อไป . – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

จับมือปืน

ล้อมจับมือปืนอันดับ 1 ประวัติร้ายกาจที่สุดในพื้นที่ภาค 9

ตำรวจล้อมจับมือปืนอันดับ 1 มีประวัติร้ายกาจที่สุดในพื้นที่ภาค 9 มีหมายจับติดตัว 9 หมาย ทั้งคดีฆ่า รับจ้างทวงหนี้ ยิงบ้าน และค้ายาเสพติด

สู้งูจงอาง

สาวใจเด็ด! สู้งูจงอางด้วยมือเปล่าจนรอดตาย

สาวใจเด็ด! เข้าไปหาเห็ดเจองูจงอาง ถูกฉกเป็นแผลเหวอะ ตัดสินใจฮึดสู้ด้วยมือเปล่า เตะก้านคองูแล้วกระทืบซ้ำ ก่อนจับกดพื้นลากไปหาหมอพร้อมกัน ล่าสุดอาการดีขึ้นแล้ว

บริจาคอวัยวะ

หนุ่มวัย 26 ปี บริจาคอวัยวะช่วยต่ออายุ 9 ชีวิต

ชื่นชมหนุ่มพนักงานช่วยเหลือคนไข้ รพ.ภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ บริจาคอวัยวะ แม้ต้องเสียชีวิตก่อนวัยอันควร อายุเพียง 26 ปี แต่อวัยวะสามารถต่อชีวิตให้กับผู้อื่นได้อีก 9 ชีวิต

ข่าวแนะนำ

โกงข้อสอบนิติจุฬา

ผบช.สอท. ชี้ ‘อดีตบิ๊ก ตร.’ รอดยาก เหตุข้อสอบเป็นแบบเฉพาะบุคคล

ผู้บัญชาการตำรวจไซเบอร์ระบุอดีตบิ๊กตำรวจรอดยาก เนื่องจากข้อสอบที่ใช้เป็นข้อสอบเฉพาะบุคคล มีการระบุชื่อชัดเจน เร่งตรวจสอบไลน์ย้อนหลัง 2 ปี ว่า ใครสั่งให้นำข้อสอบออกมา

สอบฮั้วเลือก สว.

ผู้ตรวจการแผ่นดินยุติสอบฮั้วเลือก สว. ไม่เข้าเงื่อนไขส่งศาล รธน.

ผู้ตรวจการแผ่นดินยุติสอบฮั้วเลือก สว. เหตุไม่เข้าเงื่อนไขส่งศาลรัฐธรรมนูญ แนะผู้ร้องยื่นเองตามช่องทางกฎหมาย

“กัน จอมพลัง” ส่งหลักฐานพัวพันเว็บพนัน จี้เอาผิด สป.สายไหม กับพวก

“กัน จอมพลัง” ส่งหลักฐาน สป.สายไหม กับพวกพัวพันเว็บพนัน ให้ตำรวจไซเบอร์เร่งเอาผิด พร้อมเผย ลูกสาวลุงป้า เลือกให้ตนช่วยคดีต่อ ไม่รับเงื่อนไข “พีช” ที่ยอมชดใช้แต่ต้องไม่มี “กัน จอมพลัง” บนโต๊ะเจรจา

6.2 quake hits Istanbul, Turkiye cr.USGS

มีผู้บาดเจ็บกว่า 200 คนจากแผ่นดินไหวทูร์เคีย

มีผู้ได้รับบาดเจ็บอย่างน้อย 236 คน จากแผ่นดินไหวขนาด 6.2 ที่เกิดขึ้นที่นครอิสตันบูลเมื่อวานนี้ ขณะที่ประชาชนกังวลอาฟเตอร์ช็อกจึงยังอยู่นอกอาคารบ้านเรือนกันไม่กล้าเข้าบ้าน