คลังหารือทุกฝ่ายลดผลกระทบสหรัฐขึ้นภาษี

กรุงเทพฯ 3 เม.ย. – คลังหารือทุกฝ่ายถกรับมือภาษีนำเข้า ”ทรัมป์“ เตรียมเพิ่มยอดนำเข้าสินค้าจำเป็น ผ่อนปรนอุปสรรคกีดกันสหรัฐ คาด 2 สัปดาห์ นำทีมเยือนสหรัฐ


นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า การประชุมร่วมกับหน่วยงานด้านเศรษฐกิจ ทั้งกระทรวงการคลัง ธปท., บีโอไอ สภาอุตสาหกรรมฯ สภาหอการค้าฯ หลังจากไทยถูกเก็บภาษีนำเข้าจากสหรัฐร้อยละ 36-37 หากไม่มีมาตรการใดหรือรัฐบาลนิ่งเฉย จะกระทบต่อจีดีพีของไทยร้อยละ 1 ในปีนี้ เมื่อการจัดเก็บภาษีนำเข้าของสหรัฐออกมาสูงเกินคาด รัฐบาลจึงเร่งหาแนวทางมาลดผลกระทบดังกล่าว หลังจากได้เตรียมการับมือมาระยะหนึ่งแล้ว จึงได้รายงานผลหารือครั้งให้กับนายกรัฐมนตรีรับทราบ

ปัจจุบันไทยนำเข้าสินค้าจากสหรัฐ 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.4 ล้านล้านบาท แต่ไทยส่งออกสินค้าไปสหรัฐ 60,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้มียอดเกินดุลการค้า 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่ประชุมเห็นชอบร่วมกันหาแนวทางนำเข้าสินค้าที่จำเป็น เพื่อลดยอดเกินดุลการค้าให้เหมาะสม ผ่านหลายมาตรการ เช่น การนำเข้าข้าวโพดจากสหรัฐเพิ่มเติมบางส่วน แทนนำเข้าจากประเทศอื่น เนื่องจากไทยผลิตยังไม่เพียงพอ เพื่อผลิตอาหารแปรรูปและส่งออก การแก้ไข กฎระเบียบ หรืออุปสรรคการค้าที่ไม่ใช่ภาษี เช่น การตั้งภาษีนำเข้ารถจักยานยนต์ ร้อยละ 40-60 แต่ความจริงไทยไม่ได้นำเข้า หากลดลงมาเหลือร้อยละ 10 ยังไงไทยก็ชนะ เพื่อเปิดทางให้ มอเตอร์ไซฮาเล่ย์ จากสหรัฐเข้ามาทำตลาดเมืองไทยเพิ่ม ขณะนี้สัดส่วนร้อยละ 90 ของอุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่มาตรการทางภาษี (Non-Tariff Barriers: NTB) ทราบว่าต้องใช้โอกาสนี้แก้ไข เพื่อขยายโอกาสในการส่งออกสินค้าไทยได้อีกด้านหนึ่ง เพราะไทยยังต้องการรายได้จากการส่งออกเพิ่มขึ้น แม้รัฐบาลยอมลดปริมาณเกินดุลการค้า เมื่ออีกทางหนึ่งเราผลักกันการส่งออกเพิ่ม ยิ่งทำให้การค้าระหว่างประเทศเพิ่มในอีกทางหนึ่ง เมื่อทุกหน่วยงาน ศึกษาหามาตรการได้ข้อสรุปชัดเจน จะเริ่มนำทีมไปหารือกับสหรัฐในช่วง 2 สัปดาห์ข้างหน้า ขณะนี้ไทยต้องการส่งสัญญาณออกไปให้หอการค้าไทย-สหรัฐ และส่วนต่าง ๆ ของสหรัฐรับรู้ถึงแนวทางของไทยในการเจรจาทางการค้า


นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า สภาอุตสาหกรรมฯ มีความเป็นห่วงผลกระทบจากการปรับเพิ่มภาษีนำเข้าของ ”ทรัมป์“ หลังจากหลายประเทศเพื่อนบ้านถูกปรับเพิ่มภาษีสูงมากเช่นจีน จากเดิมโดนเก็บภาษีนำเข้าร้อยละ 20 รวมกับภาษีครั้งใหม่อีกร้อยละ 34 รวมเป็นร้อยละ 54 รวมไปถึง อินเดีย เวียดนาม เมื่อสินค้าจากประเทศเหล่านี้ ส่งออกไปสหรัฐไม่ได้ สินค้าราคาถูกจะหลั่งไหลมายังไทย จึงต้องรับมือปัญหาดังกล่าวในเร็ว ๆ นี้ สินค้าหลักของไทย ส่งไปยังสหรัฐ เช่น ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ ยางรถยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เมื่อประเทศคู่ค้าเจอปัญหาการเก็บภาษีนำเข้าเหมือนกันทุกประเทศ ทำให้ต้องเดินหน้าเจรจากับสหรัฐทุกราย ส่วนไทยจะไม่เน้นการตอบโต้ ยืนยันใช้รูปแบบการเจรจาและหาทางออกร่วมกันด้วยเงื่อนไขที่เป็นประโยชน์กับสองฝ่าย.-515- สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ทีมกู้ภัยเดินหน้าค้นหาผู้สูญหายแผ่นดินไหวเมียนมา

ทีมกู้ภัยยังเดินหน้าค้นหาผู้สูญหายจากเหตุแผ่นดินไหวในเมียนมา แม้จะผ่านมา 4 วันแล้ว จนกลิ่นศพเริ่มคละคลุ้งไปทั่ว ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตใกล้แตะหลัก 3,000 ราย

ตึกถล่มพบเสียชีวิตเพิ่ม

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่าง

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ในพื้นที่โซน B และโซน C มีซากอาคารถล่มทับร่างอยู่ ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่างและค้นหาผู้สูญหายใต้ซากอาคารต่อเนื่อง

ข่าวแนะนำ

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

“ก้อง ห้วยไร่” ร้องเพลงให้กำลังใจญาติผู้ประสบภัยตึก สตง.ถล่ม

ใช้ดนตรีฮีลใจ “ก้อง ห้วยไร่” ร้องเพลงคลายเครียดให้กับญาติผู้ประสบภัยตึก สตง.ถล่ม ที่ศูนย์พักคอยฯ ทำเอาหลายคนกลั้นน้ำตาไว้ไม่ไหว เผยเข้าใจความรู้สึกแรงงานดี เพราะตนเคยทำมาก่อน

นายกฯ แถลงยินดีความสำเร็จประชุมผู้นำบิมสเทค รับรองเอกสาร 6 ฉบับ

นายกฯ แถลงยินดีความสำเร็จการประชุมผู้นำบิมสเทค รับรองเอกสารผลลัพธ์สำคัญ 6 ฉบับ ดันวิสัยทัศน์กรุงเทพฯ 2030 สร้างโอกาสเศรษฐกิจ ยันคนไทยได้ประโยชน์ พร้อมบรรเทาผลกระทบ-ฟื้นฟู ประเทศที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ ขณะที่ กต. ย้ำเชิญผู้นำเมียนมา ตามกฎบัตร ปัดคุยการเมืองภายใน ไร้ถกปมสหรัฐขึ้นภาษีนำเข้า

ประชุมBIMSTEC

นายกฯ กล่าวถ้อยแถลงเวทีผู้นำ BIMSTEC เปิด “วิสัยทัศน์กรุงเทพฯ 2030″

นายกฯ แพทองธาร กล่าวถ้อยแถลง วงประชุมผู้นำ BIMSTEC ครั้งที่ 6 เปิด “วิสัยทัศน์กรุงเทพฯ 2030″ กระชับความร่วมมือสร้างภูมิภาคที่เจริญรุ่งเรืองและเปิดกว้าง พัฒนาความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ