นายกฯ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่ กทม.

กทม. 15 ต.ค.- พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร มีผลตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2563 เวลา 04.00 น. เป็นต้นไป และออกประกาศคำสั่งแต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง โดย ผบ.ตร. เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง


เมื่อเวลา 04.00 น.ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ได้ออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร มีสาระสำคัญว่า

โดยที่ปรากฏว่า มีบุคคลหลายกลุ่มได้เชิญชวนปลุกระดม และดำเนินการให้มีการชุมนุมสาธารณะ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะขึ้นในกรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการและช่องทางต่างๆ ก่อให้เกิดความปั่นป่วนวุ่นวายและความไม่สงบเรียบร้อยของประชาชน มีการกระทำที่กระทบต่อขบวนเสด็จพระราชดำเนิน มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำที่มีความรุนแรง กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตหรือทรัพย์สินของรัฐหรือบุคคล อันมิใช่การชุมนุมโดยสงบที่ได้รับการรับรองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย อีกทั้งยังกระทบโดยตรงต่อสัมฤทธิผลของมาตรการควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อันส่งผลกระทบโดยตรงต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศที่อยู่ในภาวะเปราะบาง


กรณีนี้จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีมาตรการเร่งด่วน เพื่อแก้ไขปัญหากรณีดังกล่าวให้ยุติได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที เพื่อให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายและรักษาความสงบเรียบร้อยและประโยชน์ส่วนรวม

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 11 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 2548 นายกรัฐมนตรีจึงให้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 ต.ค. 2563 เวลา 04.00 น. เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 15 ต.ค. 2563

พร้อมกันนี้นายกรัฐมนตรีได้ออกประกาศคำสั่งแต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง โดยให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง มีหน้าที่และอำนาจตามที่กำหนดไว้ในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548


ส่วนข้อกำหนดที่ออกตามความในมาตรา 9 ประกอบมาตรา 11 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 เพื่อให้การแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยุติลงได้โดยเร็ว และป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงมากขึ้น นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกำหนดไว้ดังนี้

1.ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุม ณ ที่ใดๆ ตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป
2.ห้ามเสนอข่าว จำหน่าย หรือทำให้แพร่หลาย ซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใด รวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีข้อความทำให้เกิดความหวาดกลัว บิดเบือนข่าว เกิดความเข้าใจผิด กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ
3.ห้ามใช้เส้นทางคมนาคม หรือยานพาหนะ ฯลฯ ตามที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบประกาศกำหนด
4.ห้ามใช้ เข้าไป หรืออยู่ในสถานที่ใดๆ ฯลฯ ตามที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบประกาศกำหนด

  1. ในการดำเนินการตามข้อ 1-4 หัวหน้าผู้รับผิดชอบจะกำหนดเงื่อนไขและเงื่อนเวลาในการปฏิบัติตามข้อกำหนด

ทั้งนี้ หลังมีการออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ล่าสุดทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้แถลงรายละเอียดถึงอำนาจหน้าที่ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่จะต้องบังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปตามข้อบังคับของประกาศที่ระบุไว้ .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ชิงทอง

สอบเครียด! คนร้ายชิงทอง 113 บาท สารภาพเอาไปจำนำบางส่วน

สอบเครียดทั้งคืน ผู้ต้องหาชิงทอง 113 บาท รับสารภาพนำทองไปจำนำบางส่วน ซื้อเบ้าหลอมเพื่อให้ยากต่อการติดตามของตำรวจ

เมียวดีระส่ำ! ปั๊มเหลือน้ำมันสำรองได้อีก 3-4 วัน

เมียวดีระส่ำหนัก หลังไทยตัดกระแสไฟฟ้า-อินเทอร์เน็ต-น้ำมันข้ามชายแดน โดยเฉพาะน้ำมันขาดแคลนหนัก ปั๊มน้ำมันกว่า 20 แห่ง เหลือน้ำมันสำรองได้อีก 3-4 วัน ประธานหอการค้าเมียวดี เรียกร้องรัฐบาลไทยทบทวน อยากให้ 2 ประเทศ ร่วมกันปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์ให้ถูกจุด

ข่าวแนะนำ

ทำแผนชิงทอง

คุมทำแผนโจรบุกเดี่ยวชิงทอง 113 บาท

คุมตัวทำแผน โจรบุกเดี่ยวชิงทอง 113 บาท ในห้างฯ ย่านลำลูกกา สารภาพนำทองไปจำนำบางส่วน และซื้ออุปกรณ์หลอมทองเพื่อตบตาเจ้าหน้าที่

จับเรือประมงเมียนมา

จับเรือประมงเมียนมา รุกล้ำน่านน้ำไทย

ศรชล.ภาค 3 จับกุมเรือประมงเมียนมาพร้อมลูกเรือ 13 คน ขณะลักลอบนำเรือประมงจอดลอยลำในทะเลอาณาเขตของไทย บริเวณ จ.ระนอง ใกล้เกาะค้างคาว