fbpx

ผลสอบเบื้องต้นพบข้อมูล “บิ๊กโจ๊ก” ส่อกระทำผิดจริง

กทม. 5 เม.ย.- คณะกรรมการตรวจสอบ 2 บิ๊กตำรวจ พบข้อมูลเบื้องต้นที่ทำให้เชื่อว่า “บิ๊กโจ๊ก” มีส่วนร่วมกระทำผิดจริง เส้นทางการเงินโยงเว็บพนัน ส่วนฝั่ง “บิ๊กต่อ” เตรียมเรียก “ทนายตั้ม” เข้าแจง 10 เม.ย.นี้ หากพบผิดฟันไม่เลี้ยง


พลตำรวจเอกวินัย ทองสอง หนึ่งในคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย กรณีปรากฏเป็นข่าวต่อสาธารณะเกี่ยวกับความขัดแย้งในเรื่องคดีของบุคคลากรภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้แถลงความคืบหน้าการตรวจสอบเป็นครั้งแรกในวันนี้ ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยกล่าวว่า ได้เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายพลตำรวจเอกสุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และฝ่ายที่กล่าวหาพลตำรวจเอกต่อศักดิ์ สุขวิมล ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เข้ามาสอบถามเกือบ 30 ราย เช่น พลตำรวจโทอัคราเดช พิมลศรี ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ, พลตำรวจตรีจรูญเกียรติ ปานแก้ว รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง, พลตำรวจตรีนำเกียรติ ธีระโรจนพงษ์, พันตำรวจเอกภาคภูมิ พิศมัย, พันตำรวจเอกดุสิต พรหมสิน ผู้กำกับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรจังหวัดสงขลา และทีมทนายความของพลตำรวจเอกสุรเชษฐ์ เข้าให้ข้อมูลและให้ส่งเอกสารชี้แจงข้อเท็จจริงภายในวันที่ 30 เมษายนนี้ พร้อมจะให้ฝั่งพลตำรวจเอกสุรเชษฐ์ ส่งข้อมูลเอกสารที่เหลือทั้งหมดมาให้คณะกรรมการภายในวัน 20 เมษายนนี้

ทั้งนี้ จากการตรวจสอบเบื้องต้น ทั้งพยานหลักฐานและสอบปากคำพยานบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เกือบ 30 คน ทางคณะกรรมการมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกับศาล ซึ่งเชื่อว่าพลตำรวจเอกสุรเชษฐ์ มีส่วนร่วมในการกระทำผิดจริง โดยเป็นการฟอกเงิน ที่พบเส้นทางการเงินจากเว็บพนันออนไลน์มายังบัญชีม้าและเชื่อมโยงมายังพลตำรวจเอกสุรเชษฐ์ จึงเชื่อว่าพลตำรวจเอกสุรเชษฐ์ รู้และได้รับประโยชน์บางส่วนจากการกระทำดังกล่าว แต่ยังต้องตรวจสอบพยานหลักฐานเพิ่มเติมอีก


พลตำรวจเอกวินัย ยืนยันว่า การตรวจสอบของคณะกรรมการนั้นมีผลออกมาก่อนที่ศาลจะออกหมายจับพลตำรวจเอกสุรเชษฐ์ โดยหากข้อมูลฝั่งพลตำรวจเอกสุรเชษฐ์ เสร็จสิ้นทั้งหมดแล้วก็จะทยอยส่งให้นายกรัฐมนตรีพิจารณา โดยไม่ต้องรอผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงฝั่งพลตำรวจเอกต่อศักดิ์ เนื่องจากหากไม่ทันกำหนดภายใน 60 วันก็สามารถขยายระยะเวลาต่อไปได้ แต่ยืนยันว่าจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน โดยให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

ส่วนที่มองว่าทางการตรวจสอบฝ่ายพลตำรวจเอกสุรเชษฐ์ แล้วเสร็จอย่างรวดเร็วนั้น เนื่องจากพนักงานสอบสวนได้รวบรวมพยานหลักฐานมาเป็นเวลานานกว่า 7 เดือน อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการชุดนี้ดำเนินการรวบรวมพยานหลักฐานจากบุคคลที่เกี่ยวข้องเอง ไม่ได้นำข้อมูลจากพนักงานสอบสวนมาอ้างอิง

สำหรับกระบวนการตรวจสอบฝั่งของพลตำรวจเอกต่อศักดิ์ นั้น วันพุธที่ 10 เมษายนนี้ เวลา 10.30 น. จะเชิญนายษิทรา เบี้ยบังเกิด หรือ ทนายตั้มเข้าให้ข้อมูลที่บ้านมนังคศิลา หลังจากที่คณะทำงานได้เชิญมาหลายครั้งแต่ทนายตั้มอ้างว่าติดภารกิจเดินสายร้องเรียน ซึ่งจะต้องสอบถามทนายตั้มเกี่ยวกับที่มาของเอกสารที่ได้นำไปร้องทุกข์กล่าวโทษพลตำรวจเอกต่อศักดิ์ และภรรยา ที่สถานีตำรวจนครบาลเตาปูน รวมทั้งที่มาของพยานบุคคลและเส้นทางการเงินอ้างว่ามีความเชื่อมโยงกับพลตำรวจเอกต่อศักดิ์และภรรยา


พร้อมยืนยันว่าคณะกรรมการชุดนี้มีอำนาจในการตรวจสอบทั้งข้าราชการและบุคคลทั่วไปที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ โดยไม่เกี่ยวข้องกับกระบวนการในชั้นศาลในอนาคต แต่หากภายหลังเกิดกรณีศาลมีคำพิพากษาว่าพลตำรวจเอกสุรเชษฐ์ ไม่ได้กระทำความผิด ซึ่งขัดกับผลการตรวจสอบของคณะกรรมการจะถือเป็นปัญหาหรือไม่นั้น พลตำรวจเอกวินัยกล่าวว่าเป็นเรื่องของอนาคต เพราะแม้ว่าศาลจะชี้ว่าไม่ผิดแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าบุคคลนั้นจะไม่ผิด เป็นเรื่องที่ต้องว่ากันตามพยานหลักฐาน หากอนาคตพลตำรวจเอกสุรเชษฐ์จะฟ้องกลับคณะกรรมการชุดนี้ก็ไม่กังวล และรู้สึกยินดี

พลตำรวจเอกวินัย กล่าวทิ้งท้ายว่าคณะกรรมการชุดนี้จะพยายามฟื้นความศรัทธาให้กับองค์กรตำรวจด้วยการทำงานอย่างตรงไปตรงมา . 412.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

“อนุทิน” ลุยเชียงใหม่ร่วมบิ๊กคลีนนิ่ง ฟื้นฟูหลังน้ำลด

“อนุทิน” ลงพื้นที่เชียงใหม่ ร่วมทีม จนท.-กู้ภัย-อาสาสมัคร “บิ๊กคลีนนิ่ง” ฟื้นฟูเมืองหลังน้ำลด เร่งจ่ายเยียวยาผู้ประสบภัย