นายกฯ เป็นประธานงานวันครู ยอมรับห่วงสถานการณ์ก่อนเลือกตั้ง

หอประชุมคุรุสภา 16 ม.ค.- นายกฯ เป็นประธานงานวันครู กราบอาจารย์โรงเรียนนายร้อยฯ พร้อมมอบนโยบายหลัก พัฒนาการศึกษา ยอมรับห่วงสถานการณ์ก่อนการเลือกตั้ง ขอประชาชนใคร่ครวญ ไม่มีสิ่งไหนให้เปล่าได้ตลอดไป ย้ำงบประมาณต้องใช้จ่ายอย่างรอบคอบ


พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานงานวันครู ครั้งที่ 67 ประจำปี 2566 ที่หอประชุมคุรุสภา ซึ่งจัดขึ้นภายใต้แนวคิด “พลังครู คือ หัวใจของการพลิกโฉมคุณภาพการศึกษา” Teacher’s Power is the Heart of Transforming the Educational Quality ในรูปแบบผสมผสาน ทั้ง Onsite และ Online ในโอกาสนี้ มีพิธีคารวะครูอาวุโสของนายกรัฐมนตรี ได้แก่ พลเอก เกษม นภาสวัสดิ์ ครูที่เคยสอนวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า และมอบรางวัล จำนวน 2 รางวัล ได้แก่ รางวัลผู้มีคุณูปการต่อการศึกษาของชาติ ประจำปี 2566 และรางวัลคุรุสภา ประจำปี 2565 “ระดับดีเด่น” รวมจำนวน 17 ราย

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พลังของครู คือหัวใจของการเปลี่ยนแปลงคุณภาพการศึกษา ในการสร้างและพัฒนาคน เพื่ออนาคตของประเทศ ครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นผู้ที่มีความสำคัญอย่างมากในการเป็นผู้นำการเรียนรู้ กระตุ้น และสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้เรียน เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าของลูกศิษย์ในด้านสติปัญญาและจิตใจและมีคุณธรรมจริยธรรมในการดำเนินชีวิตในการประกอบอาชีพ สร้างสรรค์ให้ศิษย์เป็นคนดี เป็นคนที่มีคุณภาพของสังคม


นายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า สำหรับปีนี้ได้เขียนคำขวัญทั้งของเด็กและของวันครูให้มีความสัมพันธ์กัน โดยในวันครูนี้มีคำขวัญว่า ศิษย์ดี ครูดี มีอนาคต โลกใบนี้ ไม่ใช่โลกใบเดิม มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างมากมาย ดังนั้นครูจะต้องเป็นผู้ที่กระตุ้นสร้างแรงบันดาลใจที่ดีให้กับผู้เรียนให้เจริญงอกงามในทางที่ดีและถูกต้อง ไม่ให้เกิดความวุ่นวายหรือทำให้เกิดปัญหาทางสังคม ต้องจุดประกายให้ผู้เรียนรู้จักคิดเป็น ให้เจริญเติบโตถูกต้องตามครรลองคลองธรรม คำว่าอนาคต ไม่ใช่เฉพาะตัวของของเด็ก แต่ประเทศชาติจะมีอนาคตไปด้วย จะทำให้เด็กเติบโตเป็นพลเมืองที่ดี ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากต้องลองไปหาดูว่าทำอย่างไรให้เป็นพลเมืองที่ดี ทุกอย่างอยู่ที่จิตใจร่างกายและความประพฤติประกอบกัน การทำดีหรือไม่ดี ตัวเองนั้นจะรู้ตัว ดังนั้น อย่าทำอะไรที่ไม่ดี ตนพยายามประคับประคองให้ทุกอย่างเดินหน้าไปได้และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดี ตนไม่อาจกล่าวว่าใครทำดีหรือไม่ดี เพราะตนมีหน้าที่ทำให้ดีขึ้นเรื่อยๆ นั่นคือหน้าที่ของตน
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในยุคปัจจุบันที่บริบทสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วควบคู่กับความก้าวล้ำทางเทคโนโลยี ครู และผู้บริหารการศึกษา จำเป็นต้องพัฒนาตนเองให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งรัฐบาลมีแนวทางการจัดการศึกษาให้ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในศตวรรษที่ 21 ดังนี้

1.เน้นการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีสมรรถนะในการออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นลักษณะการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์ มีทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างรู้เท่าทัน และทักษะ การใช้ชีวิตในโลกอนาคต พร้อมต้องรับผิดชอบต่อสังคม ครอบครัว รู้จักรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

2.ส่งเสริมการสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้โดยใช้เครื่องมือดิจิทัล ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศมากขึ้นในอนาคต


3.การจัดสถานการณ์การเรียนรู้ที่ทำให้นักเรียน ได้รู้จักรากเหง้า ความเป็นมาของชาติ เอกลักษณ์ของชาติ ซึ่งเป็นสิ่งที่จะสะท้อนความเป็นตัวตนของคนไทย จึงเป็นสิ่งที่ครูและบุคลากรทางการศึกษา จะต้องออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ให้นักเรียนเกิดความรัก ความภาคภูมิใจ หวงแหนแผ่นดินเกิด และเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ โดยทั้งหมดนี้จะต้องตั้งอยู่บนหลักการที่ทำให้นักเรียนสามารถสร้างความรู้ขึ้นเองด้วยหลักของเหตุและผล

4.การยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐบาลมีความปรารถนาและมุ่งมั่นมากที่สุด การจะยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบให้ดีขึ้นได้นั้น สิ่งสำคัญคือ ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา จะต้องพุ่งเป้าหมายให้ความสำคัญกับเปลี่ยนแปลงในระดับห้องเรียนและต้องใช้ปัญหาการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นตัวตั้ง

นายกรัฐมนตรี ย้ำว่า อย่าลืมรากเหง้าของตัวเอง ถ้าเราไม่รู้ว่าเรามีความเป็นมาจากไหน ก็จะไม่รักประเทศตัวเอง

“หลายคนลืมว่าเราคือคนไทย เกิดที่นี่ ประกอบอาชีพที่นี่ กินนอนที่นี่ ตายที่นี่ นี่คือแผ่นดินของเรา ต้องถ่ายทอดให้ทุกคนสำนึกตรงนี้ ต้องตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน ไม่ยากเลย แค่ทำความดี ทำเพื่อคนอื่นบ้าง ไม่เอาเปรียบใคร ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน นี่คือทำให้ประเทศไทยสงบสุขไปเยอะแล้ว” พลเอกประยุทธ์ กล่าว

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า วันนี้ตนต้องพัฒนาตัวเอง รับฟังจากผู้รู้ เพื่อให้ประเทศเดินหน้า ขอขอบคุณครูผู้อาวุโสทั้งหมดที่ได้สั่งสอนมา ให้ตนสามารถมายืนอยู่ได้ทุกวันนี้

“สิ่งสำคัญที่สุดคือครูได้สอนให้ตนเป็นคนดี มีความสุจริต ยืนยันว่าทุกอย่างจะต้องถูกดำเนินการตามกฏหมายทั้งสิ้น ไม่มีการละเว้น ตราบใดที่มีคดีเกิดขึ้นมา ลองไปย้อนดูว่าเกิดอะไรขึ้น และเมื่อเกิดขึ้น ก็ต้องมีการสอบสวน และที่ผ่านมาทำไมไม่มีคดี ก็ไม่ทราบเหมือนกัน” พลเอกประยุทธ์ กล่าว

นายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า เรื่องข้อสอบที่จะต้องมีการเลือกข้อที่ถูกต้อง ทำให้การเขียนข้อความไม่ค่อยมีความถนัดกัน ทำให้เห็นได้ว่าการร่างหนังสือค่อนข้างจะอ่อนลง แต่ก็เห็นใจ การออกข้อสอบต้องให้การเรียนรู้ไปด้วย ไม่ใช่ออกให้ยากอย่างเดียว ขณะที่วันนี้ให้ความสำคัญไปยัง กศน. ซึ่งตนได้นำ กศน.เข้าไปในค่ายทหาร เพราะทหารบางคนไม่ได้เรียนหนังสือมากนัก เพื่อที่จะได้กลับไปเป็นผู้นำชุมชน ให้ทุกคนภูมิใจว่าได้เล่าเรียนศึกษาเพิ่มเติมเพราะที่ผ่านมาไม่มีโอกาส วันนี้แม้หลายคนจะต้องออกจากการเรียนหนังสือ เพราะความจำเป็นของครอบครัว ดังนั้นจะทำอย่างไรให้คนเหล่านี้ได้กลับเข้ามาเรียน ไม่ว่าจะในวิธีใด เช่น การเรียนออนไลน์

ในช่วงท้าย นายกรัฐมนตรี ยังได้แสดงความห่วงใยต่อสถานการณ์ในช่วงนี้ที่กำลังก้าวเข้าสู่การเลือกตั้ง โดยขอให้ทุกคนเดินหน้าประเทศ ใคร่ครวญให้ดี

“สถานการณ์กำลังมีปัญหาอยู่ในอนาคตของเรา ในเรื่องของการเดินหน้าประเทศ ในเรื่องของการเลือกตั้ง ขอให้ทุกคนมีความคิดใคร่ครวญให้ดี ตนไม่กล้าที่จะพูดว่าใครดีหรือไม่ดี แต่สิ่งสำคัญที่สุด คือทำอย่างไรให้ประเทศไทยอยู่ได้ มีเสถียรภาพเข้มแข็ง เราผ่านสถานการณ์ที่ยากลำบากตั้งแต่ โควิด-19 การท่องเที่ยวก็ดีขึ้น อย่าลืมว่าเราฟันฝ่ามาได้ด้วยหยาดเหงื่อแรงกายของเราและด้วยชีวิตของหลายคนที่ต้องสูญเสีย ดังนั้นต้องให้กำลังใจซึ่งกันและกัน วันข้างหน้าต้องจับมือกันเดินไปอย่างนี้ ต้องเดินไปให้ได้ไปพร้อมกัน การช่วยเหลือที่ให้เปล่ามากๆนั้น เป็นไปไม่ได้ จำไว้ให้ว่าเป็นไปไม่ได้ ลองไปย้อนกลับดูว่าใช้งบประมาณอะไรไปแล้วบ้าง ที่พูดวันนี้พูดในนามนายกรัฐมนตรี เป็นห่วงในเรื่องเหล่านี้ ที่ผ่านมาประคับประคองทุกอย่างมาแบบนี้ทุกอย่างเดินหน้ามาได้ ก็เพราะเราพิจารณาในทุกด้านตนไม่ได้พูดเกี่ยวข้องกับเรื่องอื่นๆ และทุกคนต้องเข้าใจในการบริหารราชการแผ่นดิน” พลเอกประยุทธ์ กล่าว

ทั้งนี้ ก่อนเดินทางกลับ นายกรัฐมนตรีได้รับกำลังใจจากเด็กน้อยวัย 3 ขวบ ซึ่งได้ให้นายกรัฐมนตรีอุ้มและเด็กก็กล่าวว่า “สู้ๆ” ทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ มีสีหน้าที่ยิ้มแย้ม ก่อนขึ้นรถกลับทำเนียบรัฐบาล.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

ฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ส่งสุขรับปีใหม่

ส่งความสุขรับปีใหม่ กับฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ศิลปินลูกทุ่งเกือบ 100 ชีวิต ร่วมโชว์จัดเต็ม

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

เด้ง ตร.จราจร ปมคลิปรับเงินแลกไม่เขียนใบสั่ง

ผบก.ภ.จว.นนทบุรี สั่งย้าย “รอง สว.จร.สภ.รัตนาธิเบศร์” เซ่นคลิปรับเงินแลกไม่ออกใบสั่ง พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงภายใน 3 วัน ด้านเจ้าตัวอ้างไม่เห็นเงินที่วางบนโต๊ะในตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร