ก.เกษตรฯ เร่งตัดวงจรหนอนหัวดำมะพร้าว

กรุงเทพฯ  22 มี.ค. – กระทรวงเกษตรฯ เร่งเคลียร์พื้นที่ระบาดหนอนหัวดำ ปูพรม 2 จังหวัด ประจวบคิรีขันธ์และสุราษฎร์ธานี ตะลุยสร้างการรับรู้ผู้เกี่ยวข้องทุกภาค 


นางสาวชุติมา บุณยประภัศร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากมติ ครม.อนุมัติให้กระทรวงเกษตรฯ ดำเนินโครงการและงบประมาณ เพื่อป้องกันกำจัดศัตรูมะพร้าว (หนอนหัวดำ) ด้วยวิธีผสมผสานแบบครอบคลุมพื้นที่ โดยการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืนในพื้นที่ 78,954 ไร่ วงเงิน 287.73 ล้านบาท เพื่อตัดวงจรการระบาดของหนอนหัวดำมะพร้าวไม่ให้แพร่ระบาดไปยังพื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจ คือ ปาล์มน้ำมัน และลดความรุนแรงการระบาดของหนอนหัวดำไปยังพื้นที่แห่งใหม่ โดยมีพื้นที่ดำเนินการ รวม 78,954 ไร่ ใน 29 จังหวัด ตั้งแต่เดือนเมษายน – ธันวาคม 2560 ได้สั่งการให้กรมวิชาการเกษตรและกรมส่งเสริมการเกษตร ดำเนินการตามแผนแนวทางการป้องกันและกำจัดหนอนหัวดำทั้งระยะสั้นและระยะยาวตามมาตรการที่กำหนดไว้ พร้อมเร่งสร้างการรับรู้ให้แก่เกษตรกรเจ้าของสวนมะพร้าวและผู้ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่

นายสำราญ สาราบรรณ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ไทยมีพื้นที่ปลูกมะพร้าวทั้งประเทศ ประมาณ 1.24 ล้านไร่ โดยมีพื้นที่ที่มีการระบาดของหนอนหัวดำ 78,954 ไร่ ใน 29 จังหวัด และระบาดรุนแรงใน 5 จังหวัด ได้แก่ ประจวบคิรีขันธ์  62,000ไร่ พบการระบาดของหนอนหัวดำทุกอำเภอ  สุราษฎ์ธานี 5,000 ไร่ ชลบุรี 4,000 ไร่ สมุทรสาคร 2,600 ไร่ และแปดริ้ว 953 ไร่  โดยมาตรการที่เสนอ ครม.ในประเด็นความยั่งยืนนั้น จะดำเนินการครอบคลุมทุกพื้นที่ทั้ง 78,954 ไร่ ประกอบด้วย 5 มาตรการหลัก ได้แก่ การสร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมกับเกษตรกร  การจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน  มาตรการทางกฎหมาย  การเฝ้าระวังและการสำรวจ และสร้างสวนใหม่ทดแทนและส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย เพื่อให้เกิดระบบนิเวศที่สมดุลระยะต่อไป


นายสุวิทย์ ชัยเกียรติยศ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า เบื้องต้นช่วงเดือนเมษายนนี้กรมวิชาการเกษตรและกรมส่งเสริมการเกษตรจะร่วมกันดำเนินการป้องกันและกำจัดหนอนหัวดำในพื้นที่พบการระบาดรุนแรงมากใน 2 จังหวัด คือ ประจวบคิรีขันธ์และสุราษฎร์ธานี เนื่องจากที่ผ่านมาพบ 2 ปัญหาสำคัญทำให้ไม่สามารถเข้าไปดำเนินการจัดการกับหนอนหัวดำในสวนมะพร้าวบางพื้นที่ได้ โดยปัญหาแรกมาจากการที่เกษตรกรเจ้าของสวนบางรายไม่ยินยอมให้เจ้าหน้าที่ใช้สารเคมีตามหลักวิชาการ เพื่อกำจัดหนอนหัวดำ และอีกปัญหาหนึ่ง คือ เจ้าของสวนไม่ได้อยู่ในพื้นที่ปล่อยให้สวนทิ้งร้างกลายเป็นแหล่งอาศัยและเพาะพันธุ์ของหนอนหัวดำ

ทั้งนี้ กรณีการระบาดของหนอนหัวดำมะพร้าวที่จังหวัดประจวบคิรีขันธ์และเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี จากการสำรวจของเจ้าหน้าที่พบว่ามีการระบาดระดับรุนแรง หากใช้วิธีการตัดทางใบและพ่นเชื้อบีทีจะไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะกำจัดหนอนหัวดำได้ ดังนั้น จึงต้องใช้วิธีพ่นสารทางใบสำหรับต้นมะพร้าวที่มีความสูงน้อยกว่า 12 เมตร ส่วนมะพร้าวที่มีความสูงมากกว่า 12 เมตรให้ใช้วิธีฉีดสารเข้าต้น ซึ่งเป็นวิธีการที่สามารถตัดวงจรชีวิตหนอนหัวดำได้ผลดีที่สุด ซึ่งสารเคมีที่ใช้ในการดำเนินการดังกล่าวเป็นสารเคมีที่อยู่ในคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร  ดังนั้น เกษตรกรและผู้บริโภคไม่ต้องกังวงในเรื่องของสารตกค้างเพราะมีผลงานวิจัยของกรมวิชาการเกษตรรองรับว่าไม่พบสารตกค้างทั้งในน้ำและเนื้อมะพร้าว รวมทั้งไม่มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมด้วย

อย่างไรก็ตาม ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะเข้าไปดำเนินการป้องกันและกำจัดหนอนหัวดำในพื้นที่ดังกล่าว กรมวิชาการเกษตรมีแผนที่จะสร้างการรับรู้และทำความเข้าใจกับผู้ที่ได้รับผลกระทบและผู้ที่เกี่ยวข้องตามนโยบายของรัฐบาลก่อน  โดยแผนการสร้างการรับรู้ดังกล่าวจะทำทั้งในระดับประเทศ ระดับจังหวัด ระดับท้องถิ่น โดยจะใช้ระยะเวลาในการดำเนินการปฏิบัติตามแผนสร้างการรับรู้ดังกล่าวประมาณ 3 – 4 สัปดาห์ ขณะเดียวกันช่วงที่การดำเนินการตามแผนสร้างการรับรู้ดังกล่าวเจ้าหน้าที่ทางด้านวิชาการของกรมวิชาการเกษตรจะจัดทำคู่มือกำหนดวิธีการปฏิบัติในการกำจัดหนอนหัวดำในสวนมะพร้าวเพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน พร้อมทั้งหารือร่วมกับเจ้าหน้าที่ของกรมส่งเสริมการเกษตรและท้องถิ่นเพื่อชี้เป้าแหล่งระบาดที่ต้องเข้าไปดำเนินการ.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ข่าวแนะนำ

สนามบินสุวรรณภูมิ

ยูเนสโก ยกย่อง “ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ” 1 ใน 6 สนามบินสวยสุดในโลก

“สุริยะ” รมว.คมนาคม ปลื้ม ยูเนสโก ยกย่อง “ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ” ติดอันดับ 1 ใน 6 สนามบินสวยที่สุดในโลก ประจำปี 2567 ด้าน “อาคาร SAT-1” สุดปัง! หลังถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลสนามบินที่มีสถาปัตยกรรมสวยที่สุดของโลก โชว์ความโดดเด่นด้านความงาม-ความคิดสร้างสรรค์ ชูอัตลักษณ์ความเป็นไทย จ่อประกาศผล 2 ธ.ค.นี้

อัญเชิญเรือพระที่นั่งกลับพิพิธภัณฑ์

หลังสร้างความตราตรึงให้กับชาวไทยและคนทั้งโลก กับความงดงามของขบวนพยุหยาตราทางชลมารค กองทัพเรือ และกรมศิลปากร เริ่มอัญเชิญเรือพระที่นั่ง และเรือพระราชพิธี กลับเข้าสู่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือพระราชพิธี ซึ่งแต่ละขั้นตอนต้องใช้ความละเอียด รอบคอบ เพราะเรือทุกลำถือเป็นสมบัติล้ำค่าของแผ่นดิน

ย้อนรอยเส้นทางชีวิต “บิ๊กโจ๊ก”

เป็นเวลากว่า 6 เดือนแล้วที่เส้นทางตำรวจของ “บิ๊กโจ๊ก” พล.ต.อ.สุรเชชษฐ์ หักพาล ต้องยุติลง หลังถูกให้ออกจากราชการไว้ก่อน กรณีพัวพันเว็บพนันออนไลน์ จากนี้ชะตาชีวิต “บิ๊กโจ๊ก” ขึ้นอยู่กับ ป.ป.ช. ว่าจะได้กลับมาสวมชุดตำรวจอีกหรือไม่