กรุงเทพฯ 6 ต.ค. สมุทรสงคราม โชว์ผล ใช้ระบบบิ๊กดาต้า ค้นหาคนจน วางยุทธศาสตร์แก้ปัญหาแบบบูรณาการ
การค้นหาคนจนที่แท้จริง มาตรการของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการช่วยเหลือภาคประชาชนที่มีความยากจน ด้วยการลงทะเบียน เพื่อให้ความข่วยเหลือตามมาตรการ เครื่องมือที่ภาครัฐนำมาแยกแยะเพื่อให้ความช่วยเหลือ ประชาชนที่มีฐานยากจน จริงๆ ได้มีการตั้ง คณะท่างานเฉพาะกิจเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบ Big Data ของภาครัฐในประเด็น การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งในด้านการเพิ่มรายได้ ลดภาระค่าครองชีพ และเพิ่มโอกาสด้านอาชีพ
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้พัฒนาระบบจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า หรือ TPMAP ระบบที่พัฒนาต่อยอดมาจากระบบบริหารจัดการข้อมูลคนจนแบบชี้เป้า (Thai People Map and Analytics Platform)โดยใช้ข้อมูลจำเป็นพื้นฐานของกรมการพัฒนาชุมชน และข้อมูลผู้ลงทะเบียน สวัสดิการแห่งรัฐของกระทรวงการคลัง และใช้วิธีการประมวลข้อมูลเพื่อดูความยากจนในหลายมิติ โดยสศช. ได้น่ามาปรับใช้กับประเทศไทย ให้สามารถครอบคลุมปัญหาที่กว้างขึ้น เช่น เด็กแรกเกิด การศึกษา ผู้สูงอายุ การพัฒนาสภาพที่อยู่อาศัย โดยยังคงความสามารถของระบบเดิมในการชี้เป้าความยากจนไว้ด้วย
ระบบ TPMAP สามารถใช้ระบุ ปัญหาความยากจนในระดับบุคคล ครัวเรือน ชุมชน ท้องถิ่น / ท้องที่ จังหวัด ประเทศ หรือปัญหาความยากจน รายประเด็น ซึ่งทำให้การแก้ปัญหาตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น และสามารถออกแบบนโยบายโครงการ ในการแก้ปัญหา ให้ตรงกับความต้องการหรือสภาพปัญหาได้ สามารถระบุได้ว่าคนจนนั้นอยู่ที่ไหน มีปัญหา ในมิติอะไรบ้าง หลักการท่างานของ TPMAP คืออาศัยข้อมูลจากหลายแหล่งมายืนยันซึ่งกันและกัน ใช้สมมติฐานว่าคนที่ได้รับการส่ารวจว่าคนจน เป้าหมายที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน TPMAP จึงตั้งต้นโดยใช้ข้อมูล ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) จากกรมการพัฒนาชุมชน และข้อมูลผู้ลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐ จากกระทรวงการคลัง มายืนยันซึ่งกันและกัน หรืออีกนัยหนึ่ง “คนจนเป้าหมาย” ใน TPMAP คือคนจน ใน จปฐ. ที่ไปลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐTPMAP สามารถวิเคราะห์ข้อมูลคนจนจาก หลายแหล่งซึ่ง Data Integration ท่าให้ทราบข้อมูล คนจนที่ใกล้เคียงกับความจริงที่สุด สามารถระบุได้ว่า “คนจนเป้าหมาย” มีปัญหาอะไรบ้างในแต่ละมิติจากข้อมูลจำนวนคนในครัวเรือนยากจน ที่ตกตัวชี้วัดความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ในแต่ละมิติ โดยตัวชี้วัด จปฐ. ที่น่ามาใช้ในการคำนวณดัชนีความยากจนหลายมิติ (MPI) สามารถระบุกลุ่มที่ต้องช่วยเหลือเร่งด่วน ได้รวดเร็ว และชัดเจนมีรายงานเชิงแผนที่ แสดงความยากจนใน 5 มิติ ได้แก่ ด้านการศึกษา ด้านสุขภาพ ด้านความเป็นอยู่ ด้านการเข้าถึงบริการภาครัฐ และด้านการเงิน ประกอบด้วย ข้อมูลด้านสุขภาพ ด้านความเป็นอยู่ ด้านการศึกษา ด้านรายได้ และ ด้านการเข้าถึงบริการรัฐ TPMAP สามารถเปรียบเทียบข้อมูลปีต่อปี ทำให้เห็นสภาพปัญหาว่ามีทิศทางปรับลดหรือรุนแรง มากขึ้นเพียงใด ซึ่งสามารถนำมาใช้ประเมินปัจจัยที่อาจส่งผลต่อปัญหาดังกล่าว หรือประเมินประสิทธิภาพของ นโยบายที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นได้ ซึ่งจะช่วยให้การแก้ปัญหาตรงจุด และเลือกนโยบายได้มีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น ข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์กับผู้ก่าหนดนโยบายและหน่วยงานแก้ไขปัญหาในพื้นที่ให้สามารถ ออกนโยบายและปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาได้ตรงจุด โดยในอนาคต TPMAP จะผนวกรวมข้อมูลจากมิติอื่นเพิ่มเติม เพื่อให้การวิเคราะห์ครอบคลุมและแม่นยำขึ้น ปัจจุบันมีการนำเสนอระบบ TPMAP แก่ส่วนราชการ หลายจังหวัด เพื่อเป็นการสร้างฐานข้อมูลคนจนที่ถูกต้องในแต่ละจังหวัดก่อนที่จะให้หน่วยราชการในจังหวัด ๆนำไปกำหนดยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาความยากจนในแต่ละพื้นที่
ตัวอย่างการดำเนินการที่จังหสัดสมุทรสงคราม นายชรัสบุญณสะ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม กล่าวว่า ผลจากการวิเคราะห์ฐานข้อมูล ได้ใช้กำหนดนโยบายในการแก้ปัญหาและพัฒนาจังหวัด ข้อมูล TPMAP พบว่าจังหวัดสมุทรสงครามมีคนจนที่จะต้องดำเนินการแก้ไขในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จำนวน 65 ครัวเรือน 850 คน การดำเนินงานจึงเน้นหลักการมีส่วนร่วมและการบูรณาการจากทุกภาคส่วนเพื่อให้เกิดความรวดเร็วมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในการแก้ไขปัญหาความยากจนจึงได้สนับสนุนการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการขับเคลื่อนงานโดยนำระบบ IPMAP Logbook (แฟ้มบ้านพัฒนาคนไทย) ซึ่งเนคเทคได้พัฒนาจากระบบ IPMAP และออกแบบเป็นเครื่องมือสนับสนุนการบูรณาการและความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาสามารถบันทึกปัญหาความต้องการและความช่วยเหลือของหน่วยงานได้รวมทั้งให้เจ้าหน้าที่ในท้องที่มีข้อมูลตั้งต้นที่เกิดจากการบูรณาการข้อมูลลดความซ้ำซ้อนสามารถติดตามสถานการณ์และการแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็วยกระดับคุณภาพชีวิต-สำนักข่าวไทย.