ผู้เชี่ยวชาญแนะ ก.ดีอีเอส เร่งออกกฎหมายลูกสู้ภัยไซเบอร์

กรุงเทพฯ 15 ก.ย. – นักกฎหมายดิจิทัลสรุปบทเรียนแฮก รพ.สระบุรี เร่งกระทรวดิจิทัลเร่งออกแนวทางปฏิบัติคุ้มครองข้อมูลรัฐ


นายไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายไซเบอร์กล่าวถึงกรณีการบุกรุกระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาลที่ทำให้เกิดความเสียหายกับข้อมูลของประชาชนบางส่วนไม่สามารถกู้คืนมาได้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นบทเรียนที่เกิดขึ้นบ่อยมาก สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นการกระทำผิดคล้ายกัน คือ เป็นการส่ง ransomware เข้ามาโจมตีระบบคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ สิ่งที่รัฐบาลควรทำอย่างเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหานี้คือ การจริงจังกับการปราบปรามโดยใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง อาทิ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ที่นำมาจัดการกับคนที่ไปสร้างความเสียหายกับข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชร เพราะถือว่าเป็นการขโมยเอกสารส่วนตัวของบุคคลอื่นไปถือว่ามีความผิด นอกจากนี้ยังมี พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล แม้ปัจจุบันยังไม่มีคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล แต่กฎหมายมีผลบังคับใช้แล้ว สามารถที่จะทำผลการบังคับใช้นั้นไปดำเนินคดีกับคนที่กระทำความผิด

นอกจากนี้ควรมีแนวทางจัดการกับสถานการณ์ หรือ incident management การบริหารจัดการในสถานการณ์แบบนี้ควรมีการรายงานผลแจ้งว่าแต่ละหน่วยงานมีมาตรการป้องกันอย่างไร เมื่อ พ.ร.บ.การรักษาความั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (พ.ร.บ.ไซเบอร์) ที่มีผลบังคับใช้แล้ว ถึงจะยังไม่มีสำนักงานรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ แต่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ก็ควรเร่งออกกฎหมายลูก หรืออย่างน้อยออกเป็นระเบียบวิธีปฎิบัติเพื่อให้องค์กรธุรกิจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางในการทำงาน ถ้ายังไม่แนวทางที่เป็นมาตรฐานพื้นฐานเพื่อเป็นแนวทางป้องกันข้อมูล สิ่งที่ต้องทำเร่งด้วยไม่ใช่แค่การดูแล แต่ต้องดูแลโครงสร้างพื้นฐานทางไซเบอร์


นายไพบูลย์ กล่าวอีกว่า นี่เป็นเรื่องที่กระทรวงฯ ต้องให้ความสำคัญอย่างมาก เพราะทุกครั้งที่หน่วยงานรัฐถูกแฮก หรือมีการกระทำความผิดที่มีผลกระทบกับข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนเป็นการสะท้อนให้เห็นว่าศักยภาพของเรายังไม่ดีเท่าที่ควร กฎหมายลูกที่ต้องออกมาทั้งความมั่นคงไซเบอร์ หรือการดูแลข้อมูลส่วนบุคคลจะทำเป็นหลักเกณฑ์หรือแนวทางปฎิบัติเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องหรือเอกชนได้รู้ว่าควรต้องทำอะไรบ้าง กระบวนการเวลามีภัยคุกคามทางไซเบอร์ ต้องมีขั้อนตอนหรือกระบวนการจัดการอย่างไร ที่สำคัญคือ การกำหนดว่าเทคโนโลยีที่จะใช้ดูแลข้อมูลมาตรฐานเป็นอย่างไร ที่ใช้อยู่มีมาตรฐานไหม อย่างไร เรื่องที่เกิดขึ้นถ้าไม่มีการกระตุ้นให้ตื่นตัว หรือทำให้เอกชนเขาสร้างมาตรฐานในการพัฒนาบุคลากร หรือพัฒนาซอฟต์แวร์ และกระบวนการในการจัดการปัญหาความมั่นคงไซเบอร์เลยจะไม่ทันกับสภาพปัญหา รัฐควรเข้ามาดูอย่างจริงจัง ถ้าปล่อยไปจะกระทบกับความเชื่อมั่นของประเทศ. -สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ใบประกอบวิชาชีพครู

เตือนคุณครูเปิดเทอมนี้ ต้องมี “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู”

เตือนคุณครูเปิดเทอมนี้ ต้องมี “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” แนะรีบต่ออายุใบอนุญาต หลังคุรุสภาออกมาตรการ 5 ต. คุมเข้มทุกโรงเรียนทั่วไทย

เริ่ม 1 พ.ค.นี้ นักท่องเที่ยวเข้าไทย ต้องลงทะเบียนบัตร ตม.6 แบบดิจิทัล

เริ่ม 1 พ.ค.นี้ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้าไทย ต้องลงทะเบียนบัตร ตม.6 แบบดิจิทัล หรือ TDAC ล่วงหน้า อย่างน้อย 3 วันก่อนเดินทาง ตามกฎใหม่ ตม.

พีชเรียกอาต่าย

ผบ.ตร.ไม่ปลื้ม “พีช” โอ้อวดเรียก “อาต่าย” ลั่นไม่ใช่ญาติ

ผบ.ตร.ไม่ปลื้ม “พีช” คู่กรณีรถกระบะ โอ้อวดเรียก “อาต่าย” รู้จักคนในรัฐบาล หวังผลคดี ลั่นไม่ใช่ญาติ สอนลูกเสมออย่าทำตัวเป็นขยะสังคม บอกประชาชนใช้วิจารณญาณเลือกตั้ง

“นายกเบี้ยว” ยอมรับลูกขับรถหวาดเสียว พร้อมชดใช้-ดูแลลุงคู่กรณี

“นายกเบี้ยว” รับจบแทนลูก ยอมรับลูกขับรถหวาดเสียว พร้อมชดใช้ ดูแลลุงคู่กรณี ระบุสอนลูกไม่ดี ไม่มีเวลาให้ลูก ปฏิเสธไม่สนิทกับ ผบ.ตร. อย่าเอาท่านมาแปดเปื้อน ส่วนที่ลูกชายยังไม่ไปเยี่ยมลุงคู่กรณี เนื่องจากกลัวโดนถูกโวยวาย

ข่าวแนะนำ

ลุยรื้อถอนต่อเนื่องเข้าวันที่ 24 จนท.ทำงานหนักตลอด 24 ชม.

เดินหน้ารื้อถอนอาคาร สตง. เข้าสู่วันที่ 24 แล้ว เจ้าหน้าที่ทำงานตลอด 24 ชม. เพื่อให้เสร็จตามแผน ขณะที่ภารกิจค้นหาผู้ติดค้างยังคงดำเนินต่อเนื่อง

ปล่องลิฟต์ตึกถล่ม

กทม.เดินหน้าเจาะปล่องลิฟต์ ค้นหาผู้สูญหายตึก สตง.

ผู้ว่าฯ กทม. เผยปฏิการค้นหาร่างผู้สูญหายจากเหตุตึก สตง.ถล่ม วันนี้เน้นเจาะปล่องลิฟต์-บันไดหนีไฟ หลังวานนี้ (18 เม.ย.) พบผู้เสียชีวิตในจุดดังกล่าวเพิ่มอีก 6 ราย ยืนยัน กทม. ให้ความร่วมมือกับทุกหน่วยงานในการเข้า เก็บพยานหลักฐาน เพื่อหาตัวผู้รับผิดชอบกับเหตุการณ์ดังกล่าว