กรุงเทพฯ 18 ส.ค. โรงพยาบาลรามคำแหง เปลี่ยนผ่านโครงสร้างพื้นฐานไอที ยกเครื่องระบบรองรับการเป็นโรงพยาบาลอัจฉริยะ
นาชพิชญ สมบูรณสิน กรรมการบริหาร โรงพยาบาลรามคำแหง กล่าว กล่าวว่า วิสัยทัศน์ของโรงพยาบาลคือการมีสร้างโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อรองรับระบบสารสนเทศโรงพยาบาล (HIS หรือ Hospital Information System) โดยระบบใหม่จะเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อนำไปใช้ในโรงพยาบาล 40 แห่งภายใต้การดูแล ทั้งที่อยู่ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โรงพยาบาลได้นำระบบดาต้าเซ็นเตอร์ ประกอบด้วยเซิร์ฟเวอร์ สตอเรจ โซลูชันด้านการปกป้องข้อมูล รวมทั้งซอฟต์แวร์ virtualization ของวีเอ็มแวร์ ไปจนถึงอุปกรณ์ปลายทางทั้งเวิร์กสเตชัน เดสก์ท็อป และแล็ปท็อป โดยระบบถูกนำไปใช้ในโรงพยาบาลในเครือ 3 แห่ง คือ โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา โรงพยาบาลสุขุมวิท และโรงพยาบาลเชียงใหม่โดยโรงงานได้กำหนดให้โรงพยาบาลหลักให้การสนับสนุนโรงพยาบาลสาขาอื่น ภายในเครือโรงพยาบาลรามคำแหง ซึ่งมีโรงพยาบาลขนาด 485 เตียงในอาคารผู้ป่วย 3 แห่ง โครงสร้าางพ้นฐานใหม่มีโฮสต์ของดาต้าเซ็นเตอร์องค์กร และเป็นหนึ่งในไซต์การกู้คืนข้อมูล (DR หรือ Disaster Recovery) เพื่อรองรับและให้บริการโรงพยาบาลที่มีขนาดเล็กกว่า โดยโรงพยาบาลรามคำแหงคาดหวังที่จะมีการนำระบบที่มีขนาดเล็กกว่าไปใช้ที่โรงพยาบาลสาขา 2 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลบุรีรัมย์ราม และโรงพยาบาลพะเยา ราม โดยโรงพยาบาลสาขาแต่ละแห่งจะมี เอดจ์ ดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดเล็ก (EDC) ที่สำรองข้อมูลในแบบเรียล-ไทม์เพื่อรักษาความสมบูรณ์ของข้อมูลในขณะที่ใช้ทรัพยากร ซึ่งโฮสต์อยู่ที่โรงพยาบาลรามคำแหง ด้วยดาต้าเซ็นเตอร์ที่สร้างขึ้นบนเทคโนโลยีออลแฟลช (All-Flash) และได้รับการออกแบบมาเพื่อให้สามารถเพิ่มขนาดในการทำงาน(scale-out) ทำให้การดำเนินงานใหม่สามารถเสร็จสิ้นได้ภายในระยะเวลาที่น้อยกว่า 1 เดือนนับจากระยะเวลาที่โปรเจ็คเริ่มต้นและออกแบบมาเพื่อขยายขนาดการใช้งานใหม่สามารถดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในหนึ่งเดือนนับจากวันที่เริ่มโครงการจนถึงวันที่เริ่มต้นใช้งานจริง (go-live) เมื่อรวมกับการใช้งานแอปพลิเคชัน ที่จะช่วยประหยัดเวลาวันที่ใช้งานจริง รวมถึงการใช้งานแอปพลิเคชันช่วยประหยัดเวลาและทรัพยากรด้านไอทีให้กับโรงพยาบาล
“เป้าหมายของโรงพยาบาล คือการมีรากฐานเชิงกลยุทธ์แบบองค์รวมเข้ามาใช้กับระบบการบันทึกข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ทางการแพทย์ หรือ EHR (electronic health records) ที่ผู้ใช้ที่ได้รับมอบหมายและได้รับอนุญาตที่อยู่ภายในเครือข่ายโรงพยาบาลของเราสามารถเข้าถึงบันทึกผู้ป่วยและข้อมูลด้านสุขภาพที่อัพเดทที่สุดเพื่อสามารถให้การรักษาและการบริการผู้ป่วยได้ในทันที ซึ่งสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ด้วยโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัยเท่านั้น” นายพิชญ กล่าว
นายพิชญ กล่าวอีกว่า ด้วยโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีที่มีมาตรฐานที่ผู้ป่วยทั่วประเทศสามารถมั่นใจได้ถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้านการรักษาพยาบาลที่ได้รับไม่ว่าจะอยู่ที่ใด หรือจากโรงพยาบาลสาขาใดที่เข้ารับการรักษาก็ตาม การทำงานร่วมกับเดลล์ เทคโนโลยีส์ทำให้เรามั่นใจได้ว่าข้อมูลผู้ป่วยทั้งหมดจะถูกส่งผ่านจากดาต้าเซ็นเตอร์ไปสู่อุปกรณ์ปลายทางอย่างปลอดภัยไม่ว่าจะมีการเข้าถึงข้อมูลจากที่ใดก็ตาม การปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานทางด้านไอทีทำให้ Joint Commission International (JCI) หน่วยงานที่ตรวจสอบการดำเนินงานของโรงพยาบาลด้วยมาตรฐานระดับโลกด้านคุณภาพการดูแลและความปลอดภัยของผู้ป่วย โดยโรงพยาบาลรามคำแหงได้รับคะแนนสูงสุดในด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบโดยเฉพาะระบบสารสนเทศของโรงพยาบาล ส่วนการจัดการปัญหากระแสไฟฟ้าขัดข้องและกรณีของภัยพิบัติตามธรรมชาติที่อาจส่งผลต่อการหยุดทำงานของระบบ โรงพยาบาลได้พัฒนาระบบเพิ่มไซต์สำรอง เพื่อให้เครื่องแม่ข่ายสามารถกู้คืนข้อมูลเพื่อควบคุมการโอนถ่ายกระบวนการเฟลโอเวอร์ไปยังไซต์สำรองในกรณีที่ไซต์หลักล้มเหลวโดยอัตโนมัติทำให้ระบบลับมาทำงานได้ใหม่ภายในระยะเวลาสั้นและการหยุดชะงักในระดับต่ำ
นายนพดล ปัญญาธิปัตย์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย เดลล์ เทคโนโลยีส์ กล่าว การปรับโครงสร้างพื้นฐานไอทีของโรงพยาบาลใช้เทคโนโลยีของ เดลล์ ในการการเปลี่ยนผ่านโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีสำหรับเฮลธ์แคร์ทั้งหมด เพื่อความคล่องตัวทางธุรกิจ เริ่มตั้งแต่จุดที่ให้การดูแลผู้ป่วยไปจนกระทั่งถึงดาต้าเซ็นเตอร์ จนกระทั่งระบบคลาวด์ เพื่อการยกระดับคุณภาพการดูแลผู้ป่วยที่ดีมากยิ่งขึ้น-สำนักข่าวไทย.