ด่วน..สั่ง กฟผ.สำรวจความเห็นคน”กระบี่” เอาไหมโรงไฟฟ้าถ่านหิน

 


 

กรุงเทพฯ  28 พ.ย. –พล.อ.อนันตพร  กาญจนรัตน์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน สั่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สำรวจความคิดเห็นประชาชนในพื้นที่จังหวัดกระบี่เอาหรือไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน ยอมรับประมูล”บงกช-อาราวัณ”เสร็จปี 61 เตรียมแผนรองรับทั้งเร่งนำเข้าแอลเอ็นจี-แอลพีจี โดยจะนำเสนอ กพช.ขอนำเข้าสัญญาระยะยาวเพิ่มนำเข้าจาก ปิโตรนาส 1.2 ล้านตัน/ปี


พล.อ.อนันตพร   กล่าวว่า ได้สั่งการ กฟผ. สำรวจความคิดเห็นประชาชนในพื้นที่จังหวัดกระบี่เอาหรือไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน อย่างแท้จริงว่ามีความต้องการหรือไม่ต้องการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ หรือไม่  เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน  โดยขอให้เป็นความคิดเห็นเฉพาะคนในพื้นที่จังหวัดกระบี่เท่านั้น  และขอให้สรุปอย่างรวดเร็วที่สุด แม้ว่าขณะนี้ทางจังหวัดกระบี่จะนำส่งรายชื่อประชาชนผู้สนับสนุนกว่า 15,000  รายชื่อแก่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา  นายกรัฐมนตรีแล้ว แต่ทางกระทรวงต้องการความคิดเห็นเพิ่ม เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน  ซึ่งเป็นการดำเนินการตามที่ นายกรัฐมนตรีชะลอโครงการเพราะต้องการเห็นความชัดเจนจากประชาชนในพื้นที่

ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่าหากมีโรงไฟ้ฟ้าถ่านหินกระบี่เกิดขึ้นจะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานในภาคใต้  เพราะปัจจุบันกำลังการผลิตในพื้นที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการต้องส่งไฟฟ้าจากภาคกลางไปให้ภาคใต้  ขณะที่ความต้องการเพิ่มขึ้นในภาคใต้ร้อยละ 5-6  ต่อปี  ซึ่งการส่งไฟฟ้าระยะไกลจะมีความเสี่ยงเรื่องไฟฟ้าสูญเสีย  มีความเสี่ยงไฟตกไฟดับ หากโรงไฟฟ้าถ่านหินไม่เกิดขึ้นก็ต้องสร้างโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติทดแทน  ขณะที่ก๊าซฯ ในประเทศมีปริมาณลดลงต้องพึ่งพานำเข้าจากต่างประเทศรูปแบบก๊าซธรรมชาติเหลว  (แอลเอ็นจี)  ต้นทุนสูงกว่า

“ให้ กฟผ.สำรวจความต้องการคนในพื้นที่ว่าต้องการอะไรกันแน่ เพราะการมีโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่สร้างงาน สร้างรายได้ และยังมีเงินกองทุนพัฒนารอบโรงไฟฟ้าอีกประมาณ  120  ล้านบาทต่อปี  ตลอดเวลา 30 ปีมีเงินรวมถึง  3,600  ล้านบาท  และที่สำคัญเทคโนโลยีถ่านหินที่จะนำมาใช้จะเป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด ซึ่งสะอาดมาก ๆ มีผลกระทบน้อยที่สุด”  รมว.พลังงาน  กล่าว


รมว.พลังงาน กล่าวด้วยว่า  ส่วนเรื่องการประมูลพื้นที่สัมปทานปิโตรเลียมแหล่งบงกชและเอราวัณที่ล่าช้ากว่าแผน เนื่องจากคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียมและภาษีปิโตรเลียมมีการท้วงติงมานั้น  ยอมรับว่าการเปิดประมูลไม่สามารถเปิดได้ทันภายในเดือนมีนาคม 2560  แต่จะพยายามเปิดประมูลให้ได้ภายในปี 2560  และทุกอย่างจะประมูลเสร็จสิ้นได้รายชื่อผู้ที่จะเข้ามาดำเนินการภายในปี 2561  แม้ล่าช้ากว่าแผน แต่ต้องยอมรับ  โดยทางกระทรวงได้มีการหารือกับภาคเอกชนในการดูแลการผลิต  โดยยอมรับว่าหากเป็นรายเดิมการคงกำลังการผลิตให้ลดน้อยลงที่สุดจะมีผลกระทบน้อยกว่าการได้รายใหม่  แต่หากได้รายใหม่กระทรวงจะดูแลในการดำเนินการเกิดผลกระทบต่อการผลิตน้อยที่สุด

รมว.พลังงาน  กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) วันที่ 2 ธันวาคมนี้ นอกจากจะมีการหารือเรื่องการประกาศราคาแอลพีจี ประจำเดือนธันวาคมแล้ว  ยังจะมีการหารือเรื่องแนวโน้มการเปิดเสรีการนำเข้าแอลพีจี และสัญญาการซื้อขายแอลเอ็นจีระยะยาวของ บมจ.ปตท.และปิโตรนาสแห่งมาเลเซีย  โดยภาพรวมจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับการประมูลแหล่งปิโตรเลียมล่าช้า  ซึ่งยอมรับว่าจะกระทบทั้งการนำเข้าแอลเอ็นจีและการผลิตแอลพีจีในประเทศที่ต้องนำเข้าเพิ่มขึ้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บมจ.ปตท.ได้มีการเจรจาจะนำเข้าแอลเอ็นจีจากปิโตรนาส 1.2  ล้านตันต่อปี  นับเป็นบริษัทที่ 4  ที่ ปตท.จะมีการนำเข้าสัญญาระยะยาวต่อเนื่องจากก่อนหน้านี้ทางรัฐบาลเห็นชอบให้นำเข้าจากกาตาร์  2  ล้านตัน  เชลล์และบีพีรายละ 1  ล้านตัน  โดยการนำเข้าจากปิโตรนาสนี้เดิมที่ ปตท.เสนอนำเข้า 2  ล้านตันต่อปี  เบื้องต้นกระทรวงเห็นว่า 1.2  ล้านตันเป็นสัญญาระยะยาวที่เหมาะสม  ที่เหลือจะมีการเจรจาลักษณะสัญญาตลาดจร(SPOT)จากปริมาณความสามารถการนำเข้าแอลเอ็นจีสถานีรับจ่ายก๊าซแหล่งที่  1  รวม  11.5  ล้านตันต่อปี  โดยจะนำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) 8 ธ.ค.นี้

ส่วนการนำเข้าแอลพีจีเสรีขณะนี้จะดำเนินการรองรับกรณีการเปิดประมูลแหล่งบงกชและเอราวัณล่าช้าอย่างต่ำจะทำให้แอลพีจีหายไปจากระบบร้อยละ 20  ของกำลังการผลิตจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติ  ปัจจุบันความต้องการใช้แอลพีจีของประเทศประมาณร้อยละ 50 หรือ 320,000  ตันต่อเดือนจะมาจากโรงแยกก๊าซอีกประมาณ 150,000  ตัน จะมาจากโรงกลั่นน้ำมัน ที่เหลือประมาณ 30,000-40,000  ตันต่อเดือนมาจากนำเข้าแอลพีจี  โดยตามแผนคาดว่าการผลิตจากโรงแยกก๊าซจะลดลงอย่างหนักตั้งแต่ปี  2563 ก๊าซแอลพีจีจะหายไปอย่างต่ำ 60,000  ตันต่อเดือน  ดังนั้น  คาดว่าไทยจะนำเข้าแอลพีจีช่วงดังกล่าวไม่ต่ำกว่า 90,000 ตันต่อเดือน   โดยการเปิดเสรีขณะนี้วางแผนไว้หลายรูปแบบ เ ช่น  การให้เอกชนนำเข้าอย่างเสรีสามารถเลือกใช้คลังนำเข้า ณ จุดใดก็ได้ หรือกำหนดโควตานำเข้า และรวมถึงการเปิดเสรีราคาหน้าโรงกลั่นน้ำมันจากเดิมเป็นสูตรราคาตะวันออกกลางลดลง 20 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน  (cp-20 ดอลลาร์) อาจเป็นราคาเสรี  ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้โรงกลั่นฯ ผลิตแอลพีจีเข้ามาในระบบมากขึ้น  .-สำนักข่าวไทย

 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

เชิญชวนร่วมงาน “มหานคร คัลเลอร์ฟูล ปาร์ตี้ 2025”

“กำภู-รัชนีย์” พาทัวร์งาน “มหานคร คัลเลอร์ฟูล ปาร์ตี้ 2025” ณ ลานจอดรถ บมจ.อสมท พบปะผู้ประกาศ ดีเจ และอินฟลูเอนเซอร์ รวมไปถึงศิลปินที่จะมาร่วมสนุกในงาน “มหานคร คัลเลอร์ฟู ปาร์ตี้ 2025”

วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลักพุ่งเหินฟ้าคารถ 6 ล้อ

รอดตายปาฏิหาริย์! วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลัก ก่อนพุ่งเหินฟ้าติดคาบนรถ 6 ล้อ พลเมืองดีเข้าช่วยเหลือออกมาจากรถ ปลอดภัย

แม่คะนิ้งโผล่ภูกระดึง เตรียมเปิดอุทยานฯ พรุ่งนี้

จังหวัดเลย อุณหภูมิลดลง 1-2 องศาฯ “แม่คะนิ้ง” โผล่ภูกระดึง เตรียมเปิดให้ท่องเที่ยวพรุ่งนี้ (23 ธ.ค.) หลังปิดมา 9 วัน จากเหตุช้างป่า