กทม.15พ.ค.-“นพ.ยง”แจงข้อสงสัยวัคซีนวัณโรคBCGเมื่อแรกเกิด ไม่มีผลต่อการป้องกันโรคโควิด-19 หลังมีข้อสมมติฐานกันว่าคนแถบเอเชียติดเชื้อน้อยกว่าคนทางยุโรปอาจมาจากการได้รับวัคซีนดังกล่าวตั้งแต่แรกเกิด
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก เรื่อง “โควิด-19 วัคซีนวัณโรค BCG เมื่อแรกเกิด ป้องกันโรคได้จริงหรือ”
โดยระบุว่า มีการพูดกันมากว่า คนทางแถบเอเชียได้รับวัคซีนป้องกันวัณโรคแรกเกิด ติดเชื้อโควิด-19 น้อยกว่าคนทางยุโรป ที่ไม่ได้รับวัคซีนป้องกันวัณโรคเมื่อแรกเกิด จึงมีข้อสมมติฐานว่า วัคซีนBCG ป้องกันวัณโรคช่วยป้องกันการติดเชื้อ โควิด-19
จากการศึกษาที่อิสราเอล เป็นประเทศที่ให้วัคซีน BCG ในเด็กแรกเกิด มาจนถึงปี 1982 หลังจากนั้นก็ไม่ได้มีการให้อีก
เมื่อเปรียบเทียบประชากรย้อนขึ้นไป 3 ปี กับประชากรลงมา 3 ปี คือประชากรที่เกิดก่อนและหลังปี 1982 เมื่อเปรียบเทียบอายุแล้วจะอยู่ใน รุ่นราวคราวเดียวกัน และดูอัตราการติดเชื้อ โควิด-19 พบว่าผู้ที่ได้รับวัคซีน BCG ติดเชื้อโควิด-19 11.7% ผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน BCG ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 10.4% และมีความรุนแรงเสียชีวิตกลุ่มละ 1 คน
จากข้อมูลดังกล่าว ได้ลบล้างความเชื่อที่ว่า การให้วัคซีน BCG เมื่อแรกเกิดอย่างที่ประเทศไทยที่ให้กับทารกแรกเกิด ไม่มีผลในการป้องกันโควิด- 19 .-สำนักข่าวไทย