สำนักข่าวไทย 14 พ.ค. 63 – มาทำความเข้าใจข้อกฎหมาย เกี่ยวกับกฎหมายล้มละลายและการฟื้นฟูกิจการ จาก อาจารย์วิชา มหาคุณ
• การร้องขอฟื้นฟูกิจการเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายล้มละลาย แต่ไม่ใช่การล้มละลาย
• ล้มละลาย = ยุติการดำเนินกิจการ
• ฟื้นฟูกิจการ = ดำเนินกิจการต่อ
ล้มละลาย
• ลูกหนี้ไม่มีสิทธิ์ขอให้ตัวเองล้มละลาย
• มีหนี้สินล้นพ้นตัว (นิติบุคคลต้องมีหนี้ ไม่น้อยกว่า 2 ล้านบาท)
• ศาลพิพากษาให้ล้มละลาย และมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
• รวบรวม จำหน่าย แบ่งทรัพย์สิน เพื่อชำระหนี้
ฟื้นฟูกิจการ
• ผู้ร้องขอฟื้นฟูฯ เป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ก็ได้
• บริษัท มีหนี้สิน 10 ล้านบาทขึ้นไป
• มีเหตุสมควร และมีช่องทางฟื้นฟูกิจการได้
• ศาลยังไม่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด หรือสั่งให้เลิกกิจการ
• เมื่อศาลรับคำร้อง จะได้รับการพักชำระหนี้ทันทีโดยอัตโนมัติ
• เมื่อศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ จะเข้าสู่กระบวนการทำแผนฟื้นฟูฯ
• การทำแผนฟื้นฟูฯ มีเวลา 3 เดือน ขยายเวลาได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ครั้งละ 1 เดือน
• เสนอแผนฟื้นฟูฯ ต่อที่ประชุมเจ้าหนี้เห็นชอบ และให้ศาลพิจารณา
• ตั้งคณะผู้บริหารแผน ดำเนินการตามแผนภายใน 5 ปี