ผู้เชี่ยวชาญ-นักวิชาการหนุนปลดล็อกการบินไทยจากสายการบินแห่งชาติ-รัฐวิสาหกิจ

กรุงเทพฯ 14 พ.ค. – ผู้เชี่ยวชาญด้านการบินและนักวิชาการทีดีอาร์ไอ ฟันธงปลดล็อกการบินไทยจากสายการบินแห่งชาติ -ความเป็นรัฐวิสาหกิจ ไม่ส่งผลกระทบธุรกิจการบินของไทยในช่วงเปิดน่านฟ้าเสรีแล้ว ขณะที่แกนนำรัฐบาลตั้งวงใหญ่ถกแนวทางฟื้นฟูการบินไทย 15.00 น.วันนี้






นายชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ อดีตรองปลัดคมนาคมและอดีตอธิบดีกรมการขนส่งทางอากาศ และผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจการบิน  กล่าวถึงประเด็นการฟื้นฟูกิจการของการบินไทยในขณะนี้ ซึ่งเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ว่า โจทย์สำคัญในการแก้ไขปัญหาการบินไทย คือ ทำให้ธุรกิจกลับมาคล่องตัวสามารถแข่งขันได้  โดยเรื่องของสายการบินแห่งชาตินั้น ยืนยันว่าปัจจุบันทั่วโลกไม่ได้ให้ความสำคัญกับประเด็นดังกล่าว โดยได้ยกตัวอย่างกรณีหากคนไทยต้องการทำการบินไปยังเมืองสำคัญในสหรัฐ เช่น นิวยอร์ก ซึ่งการบินไทยก็ไม่ได้ให้บริการบินอยู่แล้ว แต่ปัจจุบันการเดินทางยังสามารถทำได้โดยมีสายการบินอื่น ๆ อีกมากมายให้บริการ ดังนั้น ในช่วงที่มีการเปิดเสรีด้านการบินไปแล้ว ผู้ใช้บริการมีทางเลือกมากมายที่เหมาะกับความต้องการและกำลังซื้อของผู้โดยสาร ประเด็นสายการบินแห่งชาติจึงมีหลายประเทศ เลิกให้ความสำคัญไปแล้ว สิ่งสำคัญที่สุดคือการทำให้ผู้โดยสารเข้าถึงบริการ และภาครัฐดูแลให้บริการของสายการบินปลอดภัยมีมาตรฐาน ค่าบริการเป็นธรรมกับผู้ใช้

ส่วนประเด็นการบินไทยจะยังคงเป็นรัฐวิสาหกิจหรือไม่ นายชัยศักดิ์ ระบุว่าโดยฐานะของการบินไทยขณะนี้จำเป็นต้องทำให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการ มีค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม ครอบคลุมถึงความจำเป็นต้องลดสวัสดิการ ทั้งผู้บริหารและพนักงานที่เกินจำเป็นให้มีความเหมาะสม


นายชัยศักดิ์ ระบุทิ้งท้ายว่าในช่วงที่ธุรกิจการบินทั่วโลกได้รับผลกระทบจากปัญหาการระบาดโควิด-19 และไม่รู้ว่าจะสามารถกลับมาฟื้นตัวได้เมื่อไหร่นั้น ถือเป็นจังหวะที่ดีที่การบินไทยจะใช้เวลาช่วงปีกว่าถึง 2 ปีนี้ เร่งฟื้นฟูกิจการตัวเอง ให้กลับมาแข็งแรง  

นายสุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัย ด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ  ระบุคำว่า สายการบินแห่งชาติไม่ได้จำเป็นในยุคเปิดเสรีน่านฟ้าแล้ว  ส่วนการบินไทยควรจะคงความเป็นรัฐวิสาหกิจไว้หรือไม่นั้น  เห็นว่าการมีรัฐเป็นเจ้าของ หรือเอกชน ไม่สำคัญเท่าผลสำเร็จของการบริหารจัดการที่ต้องมีประสิทธิภาพแข่งขันได้ โดยยกตัวอย่าง เช่น สิงคโปร์แอร์ไลน์ แม้จะมีรัฐบาลเป็นเจ้าของ (ถือหุ้นโดยเทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ ) แต่ก็มีการบริหารจัดการที่คล่องตัวธุรกิจแข่งขันได้  แต่ต้องยอมรับว่าในส่วนของประเทศไทยประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการบริหารจัดการรัฐวิสาหกิจอาจไม่ได้เป็นในลักษณะดังกล่าว 

ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในการเร่งจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการวันนี้หน่วยงานและบุคคลที่ได้รับมอบหมาย อาทิ นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม ผู้บริหารสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) บอร์ดและฝ่ายบริหารการบินไทยจะประชุมร่วมกันในช่วงบ่ายวันนี้ (14 พ.ค.) โดยอาจมีรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องจำนวนมากไม่ว่าจะเป็นนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแลกระทรวงคมนาคม นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เข้าร่วมหารือด้วย เพื่อเร่งทำแผนให้เสร็จตามที่นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กำหนดก่อนวันที่ 21 พฤษภาคมนี้ เพื่อเร่งนำเข้าขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว  เพื่อให้มีทิศทางชัดเจนไปในทางหนึ่งทางใด  เนื่องจากมีรายงานข่าวระบุด้วยว่าการบินไทยจะประสบปัญหาสภาพคล่อง เรื่องค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น การจ่ายเงินเดือนพนักงาน หลังเดือนพฤษภาคม เป็นต้นไป.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ฆ่าตัดนิ้วชิงทรัพย์

เร่งล่าฆาตกรโหดตัดนิ้วชิงทรัพย์หญิงวัย 67 ทิ้งศพกลางสวนปาล์ม

ตำรวจเร่งล่าฆาตกรโหดฆ่าตัดนิ้วหญิงวัย 67 ปี ชิงทรัพย์ ก่อนทิ้งศพกลางสวนปาล์ม อ.วังจันทร์ จ.ระยอง ชาวบ้านเผยพบรถเก๋งต้องสงสัยสีขาววิ่งเข้าไปในจุดพบศพ

จับนายก อบต.นาบัว

คอมมานโดบุกจับนายก อบต.นาบัว-พวก รวม 16 คน

คอมมานโดกองปราบฯ บุกจับฟ้าผ่า! นายก อบต.นาบัว อ.นครไทย ประธาน “ธนาคารหมู่บ้าน” พร้อมพวก รวม 16 คน ฐานร่วมกันฉ้อโกงและร่วมกันกู้ยืมเงิน มูลค่าความเสียหายนับร้อยล้านบาท

New Zealanders march towards Wellington to protest Indigenous treaty bill

ชาวเมารีเต้นฮากาประท้วงร่าง กม.นิวซีแลนด์

เวลลิงตัน 15 พ.ย.- ผู้คนในหลายเมืองทั่วนิวซีแลนด์เข้าร่วมการเดินขบวนมุ่งหน้าไปยังกรุงเวลลิงตัน เพื่อประท้วงร่างกฎหมายลิดรอนสิทธิของชนพื้นเมือง โดยมีการเต้นฮากาที่เป็นวัฒนธรรมของชาวเมารีในระหว่างการประท้วงด้วย รัฐสภานิวซีแลนด์ผ่านความเห็นชอบในเบื้องต้นเมื่อวานนี้ เรื่องการตีความใหม่สนธิสัญญาอายุ 184 ปี ที่มกุฎราชกุมารอังกฤษกับหัวหน้าชาวเมารีมากกว่า 500 คนลงนามในปี พ.ศ.2383 กำหนดเรื่องการปกครองนิวซีแลนด์ร่วมกัน ซึ่งเป็นแนวทางในการออกกฎหมายและนโยบายของประเทศมาจนถึงปัจจุบัน ความเคลื่อนไหวดังกล่าวทำให้เกิดการชุมนุมประท้วงตามเมืองต่าง ๆ ทั่วนิวซีแลนด์ โดยมีการจัดเดินขบวนเป็นเวลา 9 วันมุ่งไปยังกรุงเวลลิงตัน คาดว่าขบวนจะถึงเมืองหลวงในวันที่ 19 พฤศจิกายน ตำรวจแถลงวันนี้ว่า มีคนประมาณ 10,000 คน เข้าร่วมการเดินขบวนในเมืองโรโตรัว ห่างจากกรุงเวลลิงตันไปทางเหนือราว 450 กิโลเมตร ผู้ประท้วงแต่งกายในชุดชนพื้นเมือง มีการเต้นฮากาที่เป็นวัฒนธรรมของชาวเมารี โดยได้รับการต้อนรับจากคนจำนวนมากที่มาโบกธงเมารีและร่วมร้องเพลง.-814.-สำนักข่าวไทย

ข่าวแนะนำ

อุตุฯ เผยไทยตอนบนอุณหภูมิลดลงเล็กน้อย-ลมแรง

กรมอุตุฯ เผยประเทศไทยตอนบน อุณหภูมิลดลงเล็กน้อยกับมีลมแรง และอากาศเย็นในตอนเช้าในภาคเหนือ ภาคอีสาน โดยมีฝนบางแห่งในด้านตะวันตกของภาคเหนือและภาคกลาง ส่วนกรุงเทพฯ และปริมณฑล อุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อยกับมีลมแรง

ลิงลพบุรีแหกกรง กว่า 200 ตัว จ่าฝูงนำทีมบุกโรงพัก

ลิงลพบุรีกรงแตก เพ่นพ่านกว่า 200 ตัว จ่าฝูงนำทีมบุกโรงพักท่าหิน ตำรวจปิดประตูหน้าต่างวุ่น ล่าสุดกลับมากินอาหารในกรงแล้วกว่า 100 ตัว กรมอุทยานฯ เร่งลุยจับ คาดใช้เวลา 2-3 วัน

มนุษย์ ภัยคุกคามพะยูน ?

ช่วงนี้พบพะยูนในทะเลฝั่งอันดามันตายเพิ่มขึ้นแบบถี่ยิบ จนน่าเป็นห่วงว่าพะยูนอาจสูญพันธุ์ไปในอนาคต โดยเฉพาะล่าสุดเมื่อมีการพบพะยูนตายในทะเลภูเก็ต อยู่ในสภาพถูกตัดหัว คาดนักล่าหวังเอาเขี้ยว

typhoon Man-Yi barrels through the Philippines

ซูเปอร์ไต้ฝุ่น “หม่านหยี่” เข้าฟิลิปปินส์

มะนิลา 17 พ.ย.- ซูเปอร์ไต้ฝุ่นหม่านหยี่ พัดเข้าเกาะลูซอนที่เป็นเกาะหลักและมีประชากรอยู่หนาแน่นที่สุดของฟิลิปปินส์แล้วในวันนี้ เสี่ยงทำให้เกิดฝนตกหนักในกรุงมะนิลาที่เป็นเมืองหลวง หม่านหยี่ เป็นภาษาจีนกวางตุ้ง เป็นชื่อของอ่างเก็บน้ำในฮ่องกง นับเป็นพายุลูกที่ 6 ที่พัดเข้าฟิลิปปินส์ในรอบ 1 เดือน มีความเร็วลม 185 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อ่อนกำลังลงเล็กน้อยหลังจากขึ้นฝั่งเมืองปางานีบัน จังหวัดคาตันดัวเนส ที่เป็นเกาะขนาดเล็ก เมื่อคืนวันเสาร์ ข้ามมาจนถึงจังหวัดคามารีเนส นอร์เต บนเกาะลูซอน ในเช้าวันนี้ ไต้ฝุ่นลูกนี้มีแนวโน้มจะทำให้เกิดฝนตกหนักทั่วเขตมหานครมะนิลา ซึ่งมีการอพยพประชาชนจากพื้นที่เสี่ยงแล้วกว่า 1 ล้านคน แต่ยังไม่มีรายงานผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต แม้ว่ากระแสลมแรงได้สร้างความเสียหายให้แก่สิ่งปลูกสร้างในจังหวัดคาตันดัวเนสก็ตาม.-820(814).-สำนักข่าวไทย