“หมอเฉลิมชัย” ชี้ คลายล็อกความรู้สึกกับความจริงต่างกัน

กรุงเทพฯ 28 เม.ย. – “นพ.เฉลิมชัย” ชี้ ความรู้กสึกกับความจริงต่างกัน  เตือนคลายล็อกเศรษฐกิจ ต้องล็อกระบบสาธารณสุขให้อยู่  ย้ำ ผ่อนคลายมาตรการ ต้องมั่นใจคุมได้ หากพลาดเกิดระบาดรอบ 2  ยอดผู้ติดเชื้อ-ผู้ตายจะพุ่ง  หวั่นซ้ำรอย สเปน อิตาลี ฝรั่งเศส 


นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง การผ่อนคลายมาตรการ : ความรู้สึก และ ความจริง มีเนื้อหาระบุว่า  ประชาชนส่วนหนึ่งมีความรู้สึกว่าอัตราการเพิ่มของผู้ติดเชื้อรายใหม่ดูจะลดน้อยถอยลง เราน่าจะควบคุมโรคนี้ได้ อัตราการเสียชีวิตต่อผู้ติดเชื้อค่อนข้างน้อย ความรุนแรงของเชื้อในเมืองไทยน้อย หรือระบบสาธารณสุขเราดี รับมือไหว อีกทั้ง แพทย์บุคลากรทางการแพทย์ตลอดจนระบบสาธารณสุขเราดีมาก ดีกว่าอีกหลายๆ ประเทศ คงจะรับมือสถานการณ์ไหว ประชาชนให้ความร่วมมือดี มีความรู้ความเข้าใจและมีวินัยสูง ประเทศเราจึงน่าจะผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ลงได้ ไม่น่าจะมีการระบาดรอบ 2 และถ้ามีการระบาดรอบ 2 จริง ประเทศไทยเราก็น่าจะรับมือไหว เพราะเราเคยควบคุมโรคระบาดนี้ได้มาแล้ว

นพ.เฉลิมชัย ระบุว่า แต่ในความเป็นจริง ขณะนี้มีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากช่วงแรกๆ ของจีนมีผู้เสียชีวิตประมาณ 3% แต่ปัจจุบันค่าเฉลี่ยทั่วโลกคือ 7% ในประเทศที่ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ มีวินัยและให้ความร่วมมือดี เมื่อควบคุมโรคให้สงบลงได้ และเริ่มผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ลง ก็พบว่าเกิดการระบาดรอบ 2 ซึ่งรวดเร็วและรุนแรงกว่ารอบที่ 1 ต้องใช้มาตรการที่เข้มข้น และมีผลกระทบทางลบต่อเศรษฐกิจและสังคมมากกว่าเดิม ตัวอย่างคือ สิงคโปร์และญี่ปุ่น ซึ่ง จำนวนเตียงผู้ป่วยอาการปานกลางของไทย ที่จะรองรับได้อยู่ในระดับหมื่นต้นๆ จำนวนเตียงผู้ป่วยหนัก (ICU) พร้อมเครื่องช่วยหายใจ(Ventilator) ที่จะรองรับผู้ป่วย COVID-19 ได้อยู่ในระดับ 2-3 พันราย 


นพ.เฉลิมชัย ระบุว่า ดังนั้น การจะผ่อนคลายมาตรการใดๆ ลง จึงต้องมีความมั่นใจว่า จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่อาจจะเกิดเพิ่มขึ้นนั้น เราจะต้องทำการหยุดยั้งให้ทัน ไม่ให้มีผู้ป่วยเกิน 1-2 หมื่นราย และไม่ให้มีผู้ป่วยหนักเกิน 2-3 พันราย เพราะถ้าเราพลาดแล้วคุมไม่อยู่ จนจำนวนผู้ป่วยเลยขีดความสามารถของระบบสาธารณสุขแล้ว อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยหนักจะก้าวกระโดด จากปัจจุบัน 1.75% ขึ้นไปในระดับ 7-12% เหมือนค่าเฉลี่ยของสเปน อิตาลี และฝรั่งเศส ที่มีผู้ป่วยที่ไม่ควรเสียชีวิต แต่ต้องเสียชีวิต เนื่องจากไม่สามารถจะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลได้ และคนที่ป่วยในโรงพยาบาลที่มีอาการหนัก ก็ไม่มีเครื่องช่วยหายใจที่เพียงพอ ตลอดจนจำนวนบุคลากร เครื่องมือเวชภัณฑ์ต่างๆ ก็จะไม่เพียงพอ เรื่องจะไปไกลถึงอุปกรณ์ป้องกันตัวบุคลากรก็ไม่เพียงพอ ทำให้บุคลากรเองต้องติดเชื้อ ยิ่งทำให้บุคลากรมีไม่เพียงพอในการดูแลผู้ป่วย ซึ่งจะเป็นวงจรที่น่ากังวลมาก

“การผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ลงบ้าง คงมีความจำเป็น แต่ต้องผ่อนคลายบนข้อมูลความจริง ที่เราแน่ใจว่าจะควบคุมสถานการณ์ได้ เพราะถ้าพลาดไปแล้ว ทุกคนจะกลับมาคิดย้อนหลังเสียดายว่า เราไม่ควรจะเร่งผ่อนคลายมาตรการเร็วเกินไปและมากจนเกินไป” นพ.เฉลิมชัย ระบุ   .- สำนักข่าวไทย 


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง