ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจฯ ม.หอการค้าไทยลดจีพีปี 63 ติดลบ -3.4%

กรุงเทพฯ 16 เม.ย. – ผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ฉุดเศรษฐกิจไทยปีนี้ แย่กว่าวิกฤตต้มยำกุ้ง จะหดตัว -3.4% ส่งออก -8.8% แต่เศรษฐกิจไทย อาจจะเริ่มฟื้นตัวได้ไตรมาสที่ 3 ปีนี้ 


นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แถลงประมาณการภาวะเศรษฐกิจไทยปี 2563 ว่า ผลจากการแพร่ระบาดของเชื่อไวรัสโควิด-19 ที่มีทีท่าที่จะยืดเยื้อออกไปจำนวนนักท่องเที่ยวหายไป รวมถึงสถานการณ์ภัยแล้ง ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจฯ จึงปรับประมาณการภาวะเศรษฐกิจไทยปี 2563  ภายใต้การมีมาตรการเยียวยาระยะที่ 3 วงเงิน 1.9 ล้านบาท โดยปรับใหม่จากเดือนมี.ค.63 ประเมินว่าจะเศรษฐกิจไทยปี 2563 จะโตได้ที่ระดับ 1.1% เป็นเศรษฐกิจไทยย่อตัวลงเป็น  -3.4% และมีโอกาส -4.9% หากการปล่อยเงินเยียวยาออกมาไม่ดี สถานการณ์โควิด-19 ปั่นป่วนลากยาวอีก 3 เดือนข้างหน้ายังไม่ชัดเจน แต่กรณีรัฐบาลไม่มีมาตรการเยียวยา ระยะที่ 3 เศรษฐกิจไทยจะติด -8.8% วิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้รุนแรงมากกว่าวิกฤตต้มยำกุ้ง

ด้านการส่งออกคาดว่าจะลดลงมากในระดับ -8.8% ถึง -12% ส่วนอัตราเงินเฟ้อ -0.5% ถึง -1.0% จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงประมาณ 30 ล้านคน เหลือนักท่องเที่ยวทั้งปีประมาณ 8-12 ล้านคน จากในปีที่ผ่านมามียอดรวมเกือบ 40 ล้านคน รายได้จากการท่องเที่ยวหายไปมาก เหลือประมาณ 700,000-800,0000 ล้านบาท จากที่ปีที่ผ่านมามีรายได้ถึง 3 ล้านล้านบาท 


นายธนวรรธน์ กล่าวว่า มาตรการเยียวยาของรัฐบาลรวม 1.9 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นใช้ในการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ วงเงิน 1 ล้านล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่ 600,000 ล้านบาท จะการดูแลด้านสาธารณสุขของประเทศ แต่ทำให้เกิดการจ้างงาน อีก 400,000 ล้านบาท ใช้ในการกระตุ้นเศรฐกิจ ส่วนเงินจากมาตรการเยียวยาจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) อีก 900,000 ล้านบาทนั้น ส่วนหนึ่งใช้ในการักษาเสถียรภาพทางภาคการเงิน เติมสภาพคล่องตราสารหนี้ เพื่อให้สถาบันการเงินไม่ล้ม  

ขณะที่เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำใช้ที่ออกมาก็ใช้เพื่อพยุง ไม่ใช่เพื่อการลงทุนที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจ  โดยภาพรวมแล้ว มาตรการเยียวยา จะมีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจประมาณ 1 ล้านล้านบาท จะทำให้เศรษฐกิจดีดตัวจากที่จะ -8.8% ดีดกลับขึ้นมาเป็น -3.4 และมีโอกาสว่า การปล่อยเงินออกมาไม่ดี สถานการณ์โควิด-19 ปั่นป่วนลากยาวอีก 3 เดือนข้างหน้ายังไม่ชัดเจน เศรษฐกิจไทยก็มีโอกาสที่จะ -4.9% 

 


สำหรับสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ประเทศไทยน่าจะเริ่มคลี่คลายเดือนพ.ค.63 และมิ.ย.63 เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่ผ่อนคลาย และเศรษฐกิจไทยจะเริ่มเคลื่อนตัวได้ในช่วงไตรมาสที่ 3 ขณะที่สถานการณ์โควิด-19 โลกอาจจะคลายตัวในช่วงประมาณเดือน ส.ค.-ก.ย.63 และเศรษฐกิจโลกจะค่อยๆ ฟื้นตัวในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 63 สิ่งที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวเร็วคือ การเริ่มกลับมาทำธุรกิจใหม่อีกครั้งในกลุ่มจังหวัดพื้นที่สีเขียวและธุรกิจที่มีความเสี่ยงน้อย สามารถปรับตัวเข้ากับเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุขได้ ธุรกิจจะเริ่มเดินได้ การจ้างงานจะเริ่มเกิดขึ้น ซึ่งเป็นแนวโน้มของกลุ่มประเทศในเอเชีย ที่สถานการณ์โควิด-19 จะจบลงในช่วงเดือน มิ.ย.ประกอบด้วยประเทศไทย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่นและประเทศกลุ่มอาเซียน โดยรวมเศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นไตรมาส 3 แต่มี สัญญาณใหม่ที่ขณะนี้เริ่มมีการติดเชื้อในประเทศอินเดียจากโควิด-19 กลายพันธ์ ที่ต้องเฝ้าระวัง ขณะที่สถานการณ์โควิด-19  ในสหภาพยุโรปคาดว่า จะฟื้นได้ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปีนี้

นายวิเชียร แก้วสมบัติ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจฯ กล่าวว่า ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบทำให้ในช่วงเดือน ม.ค.ถึง มี.ค.63  นักท่องหายไปแล้วในช่วง 3 เดือนนี้ ถึง 6 ล้านคน คาดว่าตลอดทั้งปี 63 จะหายไป 30 ล้านคน เหลือนักท่องเที่ยวประมาณ 10 ล้านคน จากที่ปีก่อนมีจำนวนมากถึงเกือบ 40 ล้านคน อาจมีผลทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการจ้างงาน เพราะเม็ดเงินรายได้หายไปจากระบบ 1.4 ล้านล้านบาท ไม่รวมการล็อคดาวน์ จึงเสี่ยงต่อการจ้างงานลดลงประมาณ 6 ล้านตำแหน่ง และการจ้างงานยังลดลงจากสาเหตุของการบริโภคที่ลดลง การลงทุนลดลงและจากสาเหตุการส่งออกลดลงจากความต้องการตลาดโลกชะลอและการติดขัดระบบขนส่ง รวมแล้ว มีความเสี่ยงต่อการจ้างงานลดลงมากถึง 10.23 ล้านตำแหน่งงาน.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผ่าไชน่า เรลเวย์ คว้า 3 โครงการรัฐในภูเก็ต

เหตุการณ์ตึก สตง.ถล่ม กลายเป็นปฐมบทในการปูพรมตรวจสอบบริษัท ไชน่า เรลเวย์ หลังพบเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างตึก สตง. และโครงการรัฐหลายแห่งทั่วประเทศ ล่าสุดที่ จ.ภูเก็ต ตรวจพบ 3 โครงการ และหนึ่งในนั้นกำลังมีปัญหาก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน

มหาสงครามโลก

นักวิชาการชี้ “มหาสงครามโลกครั้งที่ 3” เกิดแน่ถ้าโลกยังตึงเครียด

นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศระดับแนวหน้าของไทย มีความเห็นตรงกันว่า หากผู้นำชาติมหาอำนาจไม่เร่งลดระดับความตึงเครียดสถานการณ์โลก

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

ธรรมชาติใต้ดินเปลี่ยนไป หลังแผ่นดินไหว 1 สัปดาห์

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่งแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ แม้บนพื้นผิวดินจะไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก แต่พบความเปลี่ยนแปลงสภาพใต้ดินจนเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งหลุมยุบขนาดใหญ่ น้ำพุร้อนที่เคยพุ่งจากใต้ดินหายไป แต่น้ำตกที่แห้งในหน้าแล้งกลับมีน้ำไหลออกมา ซึ่งนักธรณีวิทยายืนยันเป็นผลพวงจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

ข่าวแนะนำ

ไทยตอนบนอากาศร้อน เตือนระวังพายุฤดูร้อน

กรมอุตุฯ รายงานไทยตอนบนอากาศร้อน เตือนระวังพายุฤดูร้อน ฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง

ค้นหาผู้สูญหายตึกถล่ม

เร่งปรับแผนค้นหาผู้สูญหายตึก สตง.ถล่ม

เกือบ 200 ชั่วโมง ปฏิบัติการค้นหาผู้สูญหายติดใต้ซากตึกถล่ม K9 เห่าส่งสัญญาณพบกลิ่นมนุษย์เพิ่มในโซน B แต่ยังอยู่ในจุดที่เข้าถึงยาก เจ้าหน้าที่เร่งปรับแผนให้เข้าถึงได้เร็วขึ้น

ค้นหาผู้สูญหายตึกถล่ม

ทีมกู้ภัย USAR จากแคนาดา ถึงจุดตึกถล่ม ช่วยค้นหาผู้สูญหาย

ทีมกู้ภัย USAR จากแคนาดา ถึงอาคารกำลังสร้างของ สตง.ที่ถล่มแล้ว พร้อมช่วยเหลือกู้ภัยไทยในการค้นหาผู้สูญหาย

ค้นหาตึกถล่ม

ฉีดน้ำเครื่องจักรลดความร้อน-ไม่หมดหวังค้นหาผู้รอดชีวิต

ทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤต หรือ MCATT ลงพื้นที่ดูแลญาติผู้สูญหายจากตึก สตง.ถล่ม ขณะที่เจ้าหน้าที่ทีมค้นหายังคงเดินหน้าทำงานอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางสภาพอากาศร้อนจัด