fbpx

เกษตรฯ เล็งประกันรายได้ยางพาราเฟส 2

กรุงเทพฯ 15 เม.ย. – รมว.เกษตรฯ สั่ง กยท.เร่งผลักดันราคายางพาราทั้งระบบ หลังได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้ไม่มีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ ราคาจึงลดลงเล็กน้อย ขณะนี้กำลังพิจารณาช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง โดยอาจทำโครงการประกันรายได้ครั้งที่ 2


นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ได้มอบหมายให้การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหามาตรการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางพาราที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้ส่งออกได้น้อยมาก เนื่องจากประเทศที่เป็นผู้รับซื้อรายใหญ่เกิดการระบาดของโรคนี้อย่างรุนแรงเช่นกัน แม้สถานการณ์ในจีนจะเริ่มคลี่คลายแล้ว แต่คำสั่งซื้อยังไม่กลับมาเท่าเดิม สำหรับราคายางพาราในประเทศตั้งแต่ต้นปีมีสภาพทรงตัวและลดลงเล็กน้อย โดยวานนี้ (14 เม.ย.) ราคายางแผ่นดิบคุณภาพดีอยู่ที่ 36.69  บาท/กิโลกรัม น้ำยางสด 37  บาท/กิโลกรัม  และยางก้อนถ้วย 27.20 บาท/กิโลกรัม 

ทั้งนี้ กยท.รายงานว่าตลาดรับซื้อของเอกชนปิดรับซื้อชั่วคราว เนื่องจากส่งออกทั้งยางวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์แปรรูปไปต่างประเทศลดลงมาก กยท.จึงแก้ปัญหาโดยให้เกษตรกรนำยางพารามาขายที่ตลาดกลางยางพารา 6 แห่ง ประกอบด้วย บุรีรัมย์ หนองคาย สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา และยะลา เครือข่ายตลาดกลาง 111 แห่ง และตลาด กยท.จังหวัด /สาขา 105 แห่ง ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อรองรับการจำหน่ายผลผลิตยางของเกษตรกรได้ทั่วประเทศ โดยสามารถเข้าชื่อจุดดรับซื้อยางทั้ง 222 แห่งทั่วประเทศได้ที่ www.raot.co.th


นายเฉลิมชัย กล่าวต่อว่า กำลังพิจารณาทำโครงการประกันรายได้ยางพาราครั้งที่ 2 โดยอยู่ระหว่างหารือกับนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฐ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวพาณิชย์ หากได้ข้อสรุปจะเสนอนายกรัฐมนตรีแล้วเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีต่อไป เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรในกรณีราคายางตกต่ำลงอีก หากวิกฤติโควิด-19 ยืดเยื้อ สำหรับโครงการประกันรายได้ยางพาราระยะที่ 2 ซึ่งจะเสนอ ครม.พิจารณามีระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือนเมษายน – กันยายน 2563 คาดว่าจะสามารถเพิ่มรายได้ชาวสวนยาง 1,730,000 ราย พื้นที่ 19.4 ล้านไร่ ซึ่งเป็นสวนยางอายุ 7 ปีขึ้นไปที่เปิดกรีดแล้ว รายละไม่เกิน 25 ไร่ ราคายางที่ใช้ประกันรายได้แต่ละชนิด ได้แก่ ยางแผ่นดิบคุณภาพดี 60 บาท/ กิโลกรัม  น้ำยางสด (DRC 100%) 57 บาท/กิโลกรัม ยางก้อนถ้วย (DRC 100%) 46 บาท/กิโลกรัม  ราคาที่คณะกรรมการกำหนดราคากลางอ้างอิงประกาศทุก 2 เดือนนั้น พิจารณาจากราคาตลาดกลางยางพารา ตลาดสิงคโปร์ (SICOM) ตลาดโตเกียว (TOCOM) ตลาดเซี่ยงไฮ้ และปัจจัยอื่น ๆ กำหนดให้แบ่งสัดส่วนรายได้เจ้าของสวนร้อยละ 60 และคนกรีดร้อยละ 40 ของรายได้ทั้งหมด ประมาณการณ์งบประมาณโครงการประกันรายได้ให้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 2 วงเงิน 34,938,295,360.47 บาท 

นอกจากนี้ ยังจะเสนอโครงการพัฒนาความร่วมมือการผลิตและการตลาดภาคอุตสาหกรรมยางพาราเพื่อเพิ่มปริมาณการใช้ยางพาราภายในประเทศ สร้างรายได้ให้เกษตรกร และสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง กระตุ้นให้มีการแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า เกิดความร่วมมือด้าน การผลิตและการตลาดระหว่างเกษตรกรชาวสวนยาง ภาครัฐ และภาคเอกชนเพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินให้แก่สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางผู้ผลิต ผลิตภัณฑ์ยางพาราที่ขึ้นทะเบียนกับกยท. และสมัครเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายหมอนยางพารา ซึ่งกยท. สนับสนุนเงินทุนให้แก่สถาบันเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกร ผู้ผลิตหมอนยางพาราระหว่างรอการจำหน่าย โดยใช้ผลิตภัณฑ์หมอนยางพาราเป็นหลักประกัน 50,000 ใบ คาดว่า จะมีผู้เข้าร่วมโครงการ 50 สถาบัน วงเงินงบประมาณ 11,312,000.00 บาท

สำหรับโครงการสนับสนุนสินเชื่อผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง วงเงิน 15,000 ล้านบาท โดยปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินงานในปีนี้ ผู้ประกอบกิจการยางที่เข้าร่วมโครงการต้องเพิ่มปริมาณการใช้ยางไม่น้อยกว่า 2 ตันต่อปี ในทุกวงเงิน 1 ล้านบาทซึ่งคาดว่าจะเพิ่มปริมาณการใช้ยางไม่น้อยกว่า 50,000 ตัน ต่อมาคือ โครงการสนับสนุนสินเชื่อผู้ประกอบกิจการยาง (ยางแห้ง) วงเงิน 20,000 ล้านบาทเพื่อเพิ่มกิจกรรมให้ผู้ประกอบกิจการยางซึ่งต้องซื้อยางในฤดูกาลใหม่มาเป็นวัตถุดิบในการผลิต โดยรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยในอัตราตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 2 ต่อปี เพื่อสนับสนุนในช่วงที่ผู้ประกอบกิจการไม่มีกำลังซื้อ ช่วยให้เกิดการหมุนเวียนผลผลิตของชาวสวนยาง และท้ายสุดคือ โครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการไม้ยางและ ผลิตภัณฑ์ วงเงิน 20,000 ล้านบาท โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อปี รวมถึงการสนับสนุนให้ปลูกพืชอื่นทดแทนยางพาราเพื่อลดพื้นที่ปลูกลง กำหนดให้ลดพื้นที่ปลูกทั่วประเทศรวม 400,000 ไร่ คาดว่า จะดูดซับปริมาณยางที่จะออกสู่ตลาดได้ 12 ล้านตัน


“การกำหนดมาตรการดังกล่าวเป็นการแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำครอบคลุมทั้งระบบ ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ส่วนผลการดำเนินโครงการประกันรายได้ระยะที่ 1 สามารถช่วยเหลือเกษตรกรให้ขายยางให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ราคายางเริ่มปรับตัวสูงขึ้น จนเมื่อเกิดโรคโควิด-19 ระบาดในหลายประเทศจึงส่งผลกระทบต่อการจำหน่ายยางซึ่งไทยส่งออกมากเป็นอันดับ 1 ของโลก ทำให้ทั้งเกษตรกรและผู้ประกอบการขาดสภาพคล่อง มั่นใจว่า มาตรการทั้งหมดนี้จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของผู้อยู่ในอุตสาหกรรมผลิตยางพาราได้” นายเฉลิมชัย กล่าว.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พายุฤดูร้อนถล่ม 31 จังหวัด ฝนฟ้าคะนอง-ลมแรง

กรมอุตุฯ ออกประกาศเตือนพายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 5 ฝนฟ้าคะนอง-ลมกระโชกแรง วันนี้ (3 พ.ค.) ได้รับผลกระทบ 31 จังหวัด ในภาคเหนือ อีสาน และภาคกลาง

เศร้ารับวันแรงงาน! โรงงานประกาศปิดกิจการกะทันหัน

พนักงานโรงงานผลิตกระจกเก่าแก่ใน อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ ยื่นคำร้องต่อสำนักงานสวัสดิการฯ จ.สมุทรปราการ ให้นายจ้างจ่ายชดเชยตามกฎหมาย หลังโรงงานติดประกาศปิดกิจการและเลิกจ้างพนักงานทั้งหมด

ข่าวแนะนำ

รมต.ใหม่ถ่ายภาพทำบัตร ก่อนเข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ฯ

ทำเนียบคึกคัก รมต.ใหม่ถ่ายภาพทำบัตร ก่อนเข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณ ขณะที่นายกฯ ลงมาทักทาย “ครม.เศรษฐา 1/2” เตรียมถ่ายรูปหมู่หน้าตึกไทยฯ ก่อนประชุม ครม.ชุดใหม่ นัดแรก 7 พ.ค.นี้

อดีตตำนานหงส์แดงยินดีช่วยพีอาร์ไทยผ่านฟุตบอล

3 อดีตตำนานหงส์แดง เข้าพบนายกฯ ประทับใจประเทศไทย ยินดีเป็นส่วนหนึ่งในการประชาสัมพันธ์ไทยสู่สายตาชาวโลกผ่านกีฬาฟุตบอล

ไฟไหม้โกดังพื้นที่ภาชี คุมเพลิงได้แล้ว 100%

เหตุไฟไหม้โกดังเก็บสารเคมี อ.ภาชี ผู้ว่าฯ อยุธยา ยืนยันคุมเพลิงได้ 100% แล้ว จ่อตรวจสอบชนิดของสารเคมี หาสาเหตุเพลิงไหม้ ด้าน รพ.ภาชี ยังปิดต่อเนื่อง รอให้แน่ใจไฟไม่ปะทุซ้ำ

จับอดีต ผจก.แบงก์-ผู้ใหญ่บ้าน หลอกกู้เงิน เชิดหนีกว่า 40 ล้าน

บุกจับอดีตผู้จัดการแบงก์ และอดีตผู้ใหญ่บ้านแสบ หลอกชาวบ้านกู้เงิน ก่อนเชิดหนีกว่า 40 ล้าน หลังหนีหัวซุกหัวซุนนาน 8 ปี