เปิดผลสำรวจคนจนเมือง เข้าไม่ถึงมาตรการเยียวยาจากภาครัฐ

กทม.13เม.ย.-นักวิชาการ 6 มาหวิทยาลัย เผย ผลสำรวจ  คนจนเมือง เข้าไม่ถึงมาตรการเยียวยาจากรัฐบาล ผลกระทบจากการปิดเมืองในสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 แนะรัฐควร ให้ความช่วยเหลือคนจนทุกกลุ่มที่เดือดร้อน  การใช้ระบบเอไอ คัดกรอง ทำให้คนเดือนร้อนตัวจริง ไม่ได้รับการช่วยเหลือทันเวลา  


กลุ่มนักวิชาการและนักวิจัย จาก 6 มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย  ศ.ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์  คณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รศ.ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง คณะรัฐศาสนตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ผศ.ดร.บุญเลิศ วิเศษปรีชา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รศ.ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยทักษิณ ผศ.ดร.ธนิต โตอดิเทพย์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรภา และผศ.ดร.ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยของนแก่น  ร่วมแถลงผลการสำรวจ “ผลกระทบด้านเศรษฐกิจของโควิด-19 ต่อคนจนเมือง” ผ่านทาง Facebook Live เพจFB.คนจนเมืองในภาวะวิกฤติโควิด-19 


ศ.ดร.อรรถจักร์  กล่าวว่า หลังคณะนักวิชาการและนักวิจัย ได้ร่วมกันจัดทำผลสำรวจของคนจนเมืองที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการที่เข้มงวดของรัฐบาลเพื่อจำกัดการแพร่ระบาดของโรค  โดยการประกาศปิด ห้างสรรพสินค้า สถานที่ต่างๆ รวมถึง คำขวัญ อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ โดยให้ทำงานจากที่บ้าน เพื่อต้องการทราบสถานการณ์ของคนจนเมืองในสถานการณ์วิกฤติโควิด-19 ว่า สามารถเข้าถึงมาตรการของรัฐหรือไม่ นำเสนอต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  โดยได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายองค์กรคนจนเมือง เช่น สลัม4ภาค ในพื้นที่คลองเตยและพื้นที่อื่นๆกระจายใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ เช่น กรุงเทพมหานคร  ปริมณฑล ขอนแก่น ชลบุรี เชียงใหม่ สงขลา ใช้เวลาสำรวจ4วัน  ระหว่างวันที่9-12เมษายน 2563 จากแบบสอบถามจำนวน 507 ชุด นอกจากนำเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ประชาชนได้รับทราบการดำเนินการว่ารัฐควรดำเนินการอย่างไรต่อไปในสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น


ผศ.ดร.บุญเลิศ  กล่าวว่า  การทำงานวิจัยครั้งนี้ เน้นการกระจายสำรวจลงไปในชุมชนแออัด อายุโดยเฉลี่ยของผู้ตอบคำถามอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 50 ปี แบ่งเป็นกลุ่มอาชีพ รับจ้างรายเดือน ไม่มีประกันสังคม  รับจ้างรายวัน  ค้าขาย อาชีพอิสระ ครอบคลุมถึงกลุ่มช่า วินมิไซค์ คนขับแท็กซี่  พบว่า คนจนเมืองรายได้หายไปเกือบร้อยละ50  ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต และ ร้อยละ26 พบว่าไม่มีเงินจ่ายค่าเช่าที่อยู่อาศัย และร้อยละ80 ไม่สามารถทำงานอยู่ที่บ้านได้ ตามมาตรการรณรงค์ของรัฐบาล ให้ ทำงานที่บ้าน (work from home)  รวมถึงไม่สามารถเข้าถึงความช่วยเหลือจากรัฐบาล นโยบาย เยียวยาเงิน 5,000 บาท ถึงร้อยละ 45 เนื่องจากไม่ทราบวิธีลงทะเบียน และร้อยละ80 ลงทะเบียนไม่สำเร็จ สะท้อนว่ามาตรการเยียวยาของรัฐออกมาไม่ทันการณ์  ยกตัวอย่าง ไปสัมภาษณ์ แม่ค้าขายน้ำรถเข็น ในชุมชนแออัดไม่ไกลจากสถานีรถไฟหัวลำโพง ได้รับผลกระทบจากการหยุดเดินรถไฟ ไม่สามารถขายของได้ ไม่มีเงินจ่ายค่าเช่าห้อง มีรายได้รายวัน  เข้าไม่ถึงความช่วยเหลือ รวมถึงโครงการพักชำระหนี้ คนจนถึงร้อยละ 30 ไม่สามารถเข้าถึงประโยชน์ในโครงการนี้ได้ เนื่องจากต้องหลักประกัน  สถานการณ์แบบนี้จะทำให้มีคนไร้บ้านมากขึ้น  และมีคนจนหน้าใหม่เพิ่มขึ้น รวมถึงมีคนจนที่จนลงกว่าเดิมเพิ่มขึ้น  

รศ.สมชาย  กล่าวว่า เสนอ 5  ข้อสำคัญที่รัฐต้องดำเนินการ 

1. รัฐต้องปรับนโยบายด้านการช่วยเหลือเยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 โดยต้องเปลี่ยนหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือกับผู้เดือดร้อนทุกกลุ่มเปลี่ยนจากนโยบายสังคมสงเคราะห์เป็นรัฐสวัสดิการ กระจายเงินช่วยเหลือกว้างขวางมากขึ้น ไม่ตั้งเกณฑ์คัดเลือกคนเข้า แต่เป็นการกระจายแจกเงิน และใช้เกณฑ์ในการคัดออก กรณีจ่ายเงินเยียวยา 5,000บาท การใช้ระบบเอไอ ในการคัดกรอง พบว่าบางกรณี  อาชีพวินมอไซต์ แต่ไปเรียน กศน. ระบบเอไอไปจับว่า เป็นนักเรียนนักศึกษา จึงไม่ได้รับเงินเยียวยา 

2.การตั้งงบประมาณ 4 แสนล้านบาท ในการฟื้นฟูเยียวยา หากใช้กลไก คณะกรรมการชุมชน นอกเหนือจากหน่วยงานรัฐ เข้ามาช่วยเพื่อกระจายความช่วยเหลือสู่ผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างมีประสิทธิภาพ 

3.กองทุนประกันสังคม เงินของผู้ใช้แรงงานต้องกลับคืนสู่ผู้ใช้แรงงาน ทันความต้องการเมื่อได้รับความเดือดร้อน 

4.การปิดเมือง  อยากเสนอว่าปิดเมืองไม่ใช่ปิดตาย แต่ต้องทำมาหากินได้ โดยการผ่อนปรนพื้นที่สาธารณะ เน้นความรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกันในการป้องกัน

5.ปรับเบี้ยยังชีพให้ผู้สูงอายุมากขึ้น เพราะผู้สูงอายุคืออีกกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาด 

รศ.ดร.ประภาส  กล่าวว่า นโยบายการทำงานที่บ้าน ในทุกกลุ่มอาชีพเป็นเรื่องที่ยากลำบาก จึงอยากเรียกร้องให้เข้าใจบริบทของชุมชนเมือง พื้นบานของคนในสังคม ต้องมีการคืนพื้นที่สาธารณะ แต่ต้องมีการจัดการให้ดี  ไม่ใช่การปิดทั้งหมด ที่สำคัญคือการคืนพื้นที่ทำมาหากินให้คนในสังคม พบว่ากลุ่มอาชีพรับจ้างรายวัน  เฉลี่ยแล้วกลุ่มนี้มีรายได้ประมาณ 4-5พันต่อเดือน ขณะนี้แทบไม่เหลือรายได้เลย  .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ยิงสส.กัมพูชา

ออกหมายจับชายไทย วัย 41 มือยิง ‘ลิม กิมยา” ดับกลางกรุงเทพฯ

ออกหมายจับชายไทย วัย 41 มือยิง ‘ลิม กิมยา” อดีต สส.ฝ่ายค้านกัมพูชา ดับใกล้วัดดังกลางกรุง พบเหยื่อมีบทบาทในการตรวจสอบรัฐบาลฮุนเซน

ครม.เห็นชอบร่างกฎกระทรวงเพิ่มบุหรี่ไฟฟ้า-บารากู่ไฟฟ้า เป็นของต้องห้าม

ครม. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดการประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา เพิ่มบุหรี่ไฟฟ้า-บารากู่ไฟฟ้า เป็นของต้องห้าม พร้อมกำหนดบทลงโทษหากพบเข้าไปข้องเกี่ยว

สุดเจ๋ง! นศ.วอศ.เสาวภา-วอศ.สระบุรี ชนะเลิศแข่งขันแกะสลักหิมะนานาชาติ 2025

สุดเจ๋ง! นศ.วอศ.เสาวภา และ วอศ.สระบุรี ชนะเลิศในการแข่งขันแกะสลักหิมะนานาชาติ 2025 ณ เมืองฮาร์บิน สาธารณรัฐประชาชนจีน

ข่าวแนะนำ

“เด็ก-เยาวชน” ส่ง ส.ค.ส.อวยพร “ปีใหม่-วันเด็ก” ให้นายกฯ

“เด็ก-เยาวชน” ส่ง ส.ค.ส.อวยพรปีใหม่ 2568 – วันเด็ก ให้ “นายกฯ พี่อิ๊งค์” มีความสุข สุขภาพแข็งแรง ตั้งใจทำงานเพื่อบ้านเมือง อยู่คู่ตึกไทยคู่ฟ้า บริหารประเทศไปนานๆ พร้อมฝากความคิดถึง “อดีตนายกฯ ทักษิณ”

16 บอสดิไอคอน แถลงปฏิเสธทุกข้อหา ศาลนัดตรวจพยานหลักฐาน 10 ก.พ.

16 บอส ดิไอคอนกรุ๊ป แถลงปฏิเสธทุกข้อหา ศาลนัดสอบคำให้การและตรวจพยานหลักฐาน 10 ก.พ.นี้ ขณะที่ “ทนายวิฑูรย์” เผย “บอสพอล-บอสกันต์” ดีใจ หลัง “แซม-มิน” ได้ปล่อยตัว ส่วนท่าทีทั้งคู่ดูสบายๆ ปกติ ล่าสุดมีรายงาน “บอสวิน” ยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราว อยู่ระหว่างรอผล

ภรรยา “ลิม กิมยา” ให้ปากคำกับพนักงานสอบสวน

ภรรยา “ลิม กิมยา” ให้ปากคำกับพนักงานสอบสวน รวมถึงดำเนินการเกี่ยวกับเอกสารและการติดต่อรับศพนายลิม ที่แผนกนิติเวช รพ.วชิรพยาบาล