คนไทยในอิตาลีผวา พบผู้ติดเชื้อ COVID-19 กว่า 15,000 ราย

กรุงเทพฯ 13 มี.ค. – วิกฤติ COVID-19 ในอิตาลี ผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ล่าสุดมากกว่า 15,000 ราย คนไทยเรียกร้องสถานทูตและสถานกงสุลประสานใกล้ชิดเพื่อส่งความช่วยเหลือ บางส่วนผวาอยากกลับประเทศ แต่หวั่นถูกมองเป็นปัญหาสังคมเหมือนกรณีแรงงานจากเกาหลีใต้


นางสาววิยะดา กงศรี คนไทยที่อาศัยอยู่ในเมืองเซอร์เวีย แคว้นเอมิเลีย-โรมัญญา ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอิตาลี กล่าวถึงสถานการณ์ COVID-19 ซึ่งมีผู้ติดเชื้อทั้งประเทศกว่า 15,000 ราย พบการแพร่กระจายเป็นวงกว้างทุกแคว้น โดยในชุมชนเมืองมีผู้เสียชีวิตมากกว่าชนบท สำหรับในเมืองเซอร์เวีย พบผู้ติดเชื้อแล้ว 2 ราย ทั้งนี้ รัฐบาลได้ประกาศมาตรการกักกันโรคทั้งประเทศ สั่งปิดกิจการหลายอย่าง เหลือเฉพาะร้านขายยา ธนาคาร ไปรษณีย์ ซูเปอร์มาร์เก็ต สถานีขนส่ง เพื่อให้การควบคุมโรคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 


สำหรับคนไทยกลุ่มรวมใจไทยเอมิเลีย-โรมัญญา พยายามติดต่อกันโดยตลอด ย้ำเตือนให้ทุกคนทำตามที่รัฐบาลประกาศทั้งการงดออกนอกเคหสถาน ยกเว้นกรณีจำเป็นเท่านั้น ขณะเดินทางให้ใส่หน้ากากอนามัย โดยก่อนหน้านี้รัฐบาลแนะนำให้ใส่เฉพาะผู้ป่วย แต่เมื่อจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทุกคนจึงสวมหน้ากากอนามัยมากขึ้น เนื่องจากกังวลว่าจะติดเชื้อไวรัส ทั้งนี้ รัฐบาลเตือนให้ประชาชนรักษาสุขอนามัย โรงพยาบาลมีผู้ป่วยจำนวนมากจึงต้องให้บุคลากรทางการแพทย์ได้รับสิ่งจำเป็นในการป้องกันการติดเชื้อขณะทำงาน โดยเฉพาะหน้ากากอนามัยและเวชภัณฑ์ต่าง ๆ 

นางสาววิยะดา กล่าวต่อว่า ชาวอิตาลีชอบสังสรรค์ทำให้ก่อนหน้านี้คนหนุ่มสาวยังคงออกมาพบปะกัน รัฐบาลจึงรณรงค์ให้ประชาชนอยู่บ้าน โดยนักแสดง นักร้อง นักกีฬา นักการเมืองติดแฮชแทกในโซเชียลมีเดียให้งดการอยู่ในที่ที่มีคนรวมตัวกันจำนวนมาก ขณะนี้กำลังป้องกันไม่ให้ระบาดจากตอนเหนือลงไปสู่ตอนใต้ของประเทศ แต่มาตรการกักโรคทำทั้งประเทศ หากจะเดินทางข้ามเมืองต้องกรอกข้อมูลให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบและต้องแสดงบัตรประจำตัว สำหรับสินค้าอุปโภค-บริโภคยังไม่ขาดแคลน ประชาชนยังหาซื้อได้ แต่สิ่งจำเป็นในการป้องกันโรค เช่น หน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์หาซื้อยากขึ้น เนื่องจากรัฐบาลเตรียมไว้สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยก่อน


ทั้งนี้ เห็นว่ารัฐบาลอิตาลีมีมาตรการรับสถานการณ์การระบาดของโรคค่อนข้างดี แต่ตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่ยังคงสูง ซึ่งรัฐบาลขอความช่วยเหลือจากสหภาพยุโรป (EU) แต่หลายประเทศใน EU ก็เผชิญปัญหาเดียวกัน จึงส่งความช่วยเหลือได้จำกัด

ที่เป็นห่วง คือ คนไทยบางส่วนอยู่ในพื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อใหม่แบบก้าวกระโดด คนไทยกลุ่มนี้กังวลจึงต้องการให้สถานทูตและสถานกงศุลติดต่อกับคนไทยในพื้นที่เสี่ยงเพื่อช่วยเหลือ บางคนต้องการเดินทางกลับไทย แต่เกรงว่าจะถูกมองว่าเป็นภาระและก่อให้เกิดข้อขัดแย้งทางสังคมเหมือนกรณีแรงงานจากเกาหลีใต้.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง