ภัยแล้งมาเร็ว! เพิ่มระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ผลักดันน้ำเค็ม

ภูมิภาค 8 ม.ค.-ประชาชนทั่วประเทศเริ่มทยอยได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ส่วนเขื่อนเจ้าพระยาเริ่มระบายน้ำเพิ่มเพื่อผลักดันน้ำเค็มในพื้นที่เมืองหลวงและลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง ด้าน จ.อ่างทอง ข้าวโพดยืนต้นแห้งตาย

วันนี้สำนักงานชลประทานที่ 12 จังหวัดชัยนาท ได้เพิ่มการระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา จาก 85 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เป็น 100 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพื่อช่วยผลักดันน้ำเค็มในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ช่วงที่น้ำทะเลหนุนสูง ระหว่างวันที่ 8-10 มกราคม และขอให้ประชาชนด้านท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ตั้งแต่จังหวัดชัยนาท ไปจนถึงจังหวัดปทุมธานี งดสูบน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาไปใช้เพื่อการเกษตร ทั้งนี้ ยังไม่มีผลกระทบกับปริมาณน้ำเหนือเขื่อน ยังสามารถส่งน้ำเข้าระบบชลประทานทั้งสองฝั่งเจ้าพระยาได้ ไม่กระทบกับน้ำอุปโภคบริโภคในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา แม้ปริมาณน้ำเหนือเขื่อนมีน้อยและมีแนวโน้มลดลง

ที่จังหวัดอ่างทองแล้งหนักกระทบ แม้เป็นพืชใช้น้ำน้อย เกษตรกรต้องเร่งหาแหล่งน้ำช่วยเหลือหล่อเลี้ยงแปลงข้าวโพดหลังยืนต้นตาย สภาพคลองชลประทานในพื้นที่ตำบลอินทประมูล อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง อยู่ในสภาพน้ำแห้งติดก้นคลองมานานกว่า 1 เดือน เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดต้องนำเครื่องมือลงไปขุดร่องเปิดทางเดินน้ำที่ยังคงพอมีหลงเหลือจากที่ชาวนาเร่งสูบน้ำเข้านาปรัง จนน้ำเหลือในคลองเพียงเล็กน้อย เพื่อที่จะใช้เครื่องสูบน้ำขนาดเล็กดึงน้ำไปหล่อเลี้ยงแปลงข้าวโพดที่ใกล้ยืนต้นตาย แม้เป็นพืชที่ใช้น้ำน้อยแต่ต้องมีน้ำหล่อเลี้ยง

ส่วนจังหวัดอุตรดิตถ์ พบว่าแหล่งน้ำทั้งธรรมชาติและแหล่งเก็บกักน้ำฝนใช้ในการผลิตน้ำประปาและการเกษตร แห้งขอด ดินแตกระแหง ประชาชนเริ่มได้รับผลกระทบ จึงประกาศให้เป็นพื้นที่ภัยพิบัติแล้ง 7 อำเภอ 33 ตำบล 198 หมู่บ้าน มีประชาชนขาดแคลนน้ำเกือบ 10,000 ครัวเรือน รวมทั้งประกาศงดส่งน้ำทำนาปรัง เนื่องจากปริมาณน้ำในเขื่อนสิริกิติ์มีไม่เพียงเพียงพอ

อ่างเก็บน้ำลำเชียงไกรตอนล่าง อ่างเก็บน้ำขนาดกลางในอำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา น้ำแห้งขอด เหลือติดก้นอ่างเล็กน้อย ประตูระบายน้ำปิดสนิทสิ้นเชิง น้ำก้นอ่างวัดปริมาตรน้ำได้แค่  900,000 ลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 3 ของความจุ น้ำใช้การวัดได้ 0 ลูกบาศก์เมตร น้ำเป็นตะกอนหนาใช้การไม่ได้ ต้องระงับการสูบไปใช้ สภาพแล้งรุนแรงสุดในรอบ 10 ปี

อ่างเก็บน้ำห้วยตลาด แหล่งน้ำดิบผลิตประปาหล่อเลี้ยงเมืองบุรีรัมย์ ประปาหมู่บ้าน และใช้เพื่อการเกษตร มีสภาพตื้นเขินในรอบ 60 ปี บางจุดแห้งขอดจนเห็นเนินดินและตอไม้โผล่กลางอ่าง กระทบการผลิตน้ำประปาและชาวบ้านที่มีอาชีพประมง ปัจจุบันเหลือน้ำในอ่างเพียงประมาณ 2 ล้านลูกบาศก์เมตร จากปริมาณความจุอ่างกว่า 27 ล้านลูกบาศก์เมตร ทางจังหวัดประกาศให้งดทำนาปรัง และขอความร่วมมือให้ชวยกันใช้น้ำอย่างประหยัด

ส่วนทางภาคใต้ นาข้าวที่เห็นกำลังตั้งท้องออกรวงแบบนี้ แต่จริงๆ แล้วเริ่มเหี่ยวแห้งกินพื้นที่กว่า 1,000 ไร่ ในตำบลคลองรี อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา เนื่องจากประสบปัญหาฝนทิ้งช่วง ไม่มีน้ำเข้านา หากไม่มีฝนตกลงมา หรือทางการไม่ช่วยสูบน้ำเข้านาภายในเดือนนี้ นาข้าวจะเสียหาย เพราะไม่มีแหล่งน้ำสำหรับสูบเข้านา โดยเฉพาะชาวนาหมู่ 3 ตำบลคลองรี ทำการเกษตรโดยอาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว แหล่งน้ำธรรมชาติจากคลองอาทิตย์ และทะเลสาบสงขลาอยู่ห่างไปกว่า 2 กิโลเมตร.-สำนักข่าวไทย



ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผ่าไชน่า เรลเวย์ คว้า 3 โครงการรัฐในภูเก็ต

เหตุการณ์ตึก สตง.ถล่ม กลายเป็นปฐมบทในการปูพรมตรวจสอบบริษัท ไชน่า เรลเวย์ หลังพบเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างตึก สตง. และโครงการรัฐหลายแห่งทั่วประเทศ ล่าสุดที่ จ.ภูเก็ต ตรวจพบ 3 โครงการ และหนึ่งในนั้นกำลังมีปัญหาก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน

มหาสงครามโลก

นักวิชาการชี้ “มหาสงครามโลกครั้งที่ 3” เกิดแน่ถ้าโลกยังตึงเครียด

นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศระดับแนวหน้าของไทย มีความเห็นตรงกันว่า หากผู้นำชาติมหาอำนาจไม่เร่งลดระดับความตึงเครียดสถานการณ์โลก

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

ธรรมชาติใต้ดินเปลี่ยนไป หลังแผ่นดินไหว 1 สัปดาห์

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่งแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ แม้บนพื้นผิวดินจะไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก แต่พบความเปลี่ยนแปลงสภาพใต้ดินจนเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งหลุมยุบขนาดใหญ่ น้ำพุร้อนที่เคยพุ่งจากใต้ดินหายไป แต่น้ำตกที่แห้งในหน้าแล้งกลับมีน้ำไหลออกมา ซึ่งนักธรณีวิทยายืนยันเป็นผลพวงจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

ข่าวแนะนำ

รถบัสรับส่งพนักงานพุ่งตกคูน้ำ เจ็บ 21

รถบัสรับส่งพนักงานพุ่งตกคูน้ำ ถนนสายเอเชีย ขาขึ้น จ.พระนครศรีอยุธยา มีผู้บาดเจ็บ 21 คน คาดคนขับหลับใน เบื้องต้นยังไม่พบตัว

เน้นเครื่องจักรหนักเข้าถึงโซน B, C คาดมีผู้ติดค้างจำนวนมาก

ฝนตกหนักช่วงเช้า เพิ่มอุปสรรคค้นหาผู้ประสบภัย และการรื้อซากอาคาร สตง.ถล่ม เจ้าหน้าที่ทุกส่วนต้องหยุดปฏิบัติภารกิจชั่วคราว วันนี้ยังเน้นใช้เครื่องจักรหนักเข้าถึงโซน B และโซน C ที่มีลักษณะคล้ายร่างกายมนุษย์ติดอยู่ในซาก ด้านทีม K9 ประกาศยุติภารกิจค้นหาผู้สูญหาย