การประชุม ABIS 2019 วันแรกประสบความสำเร็จอย่างงดงาม

เมืองทองธานี 2 พ.ย. – การประชุม ASEAN Business and Investment Summit 2019 ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม พร้อมผลักดันความร่วมมือภายในภูมิภาค



นายอรินทร์ จิรา ประธานสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน กล่าวว่า การประชุม ASEAN Business and Investment Summit 2019: ABIS 2019 ที่จัดขึ้นภายใต้แนวคิดหลัก คือ การเพิ่มขีดความสามารถของอาเซียนเข้าสู่ยุคดิจิทัล (Empowering ASEAN 4.0) ในวันแรกประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง โดยสภาธุรกิจอาเซียน (ASEAN-BAC) จะมุ่งเน้นสนับสนุนปัจจัยช่วยการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคภายใต้ 4 เสาหลัก คือ 1. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล  2. การสร้างความเชื่อมโยงทางด้านดิจิทัล เพื่อรองรับการค้า และการลงทุนในอาเซียน 3. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้มีทักษะใหม่และลดปัญหาการว่างงาน และ 4. การผลักดัน MSMEs เข้าถึงนวัตกรรมและแหล่งเงินทุน เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน 


ทั้งนี้ ASEAN-BAC Thailand ได้ดำเนินโครงการพิเศษ 2 โครงการ (Legacy Projects) ได้แก่ โครงการ ASEAN Human Empowerment And Development (AHEAD) ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อรองรับการปฎิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 โดยมุ่งเน้นการเพิ่มศักยภาพแรงงานและการเพิ่มสมรรถนะของบุคลากรในลักษณะ Upskill / Reskill และ โครงการ National Digital Trade Platform (NDTP) ซึ่งมุ่งเน้นการทำธุรกรรมแบบ end-to-end ในรูปแบบดิจิทัล นอกจากนี้ การประชุม ABIS ครั้งนี้ความหวังที่จะเป็นเวทีสะท้อนมุมมองและวิสัยทัศน์ของภาคเอกชนไปยังผู้นำอาเซียน 10 ประเทศ เพื่อสะท้อนให้ประชาคมโลกทราบว่าอาเซียนพร้อมที่ร่วมมือและก้าวไปพร้อมกัน ซึ่งสอดคล้องกับหัวข้อหลักของอาเซียน คือ ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน


นายโทนี่ เฟอร์นานเดส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มสายการบินแอร์เอเชีย กล่าวว่า อาเซียนมีศักยภาพเพียงพอที่จะต่อสู้กับธุรกิจจากสหภาพยุโรป (อียู) โดยการสร้างความร่วมมือผ่านระบบ NSW (National Single Window) ในอาเซียนให้เป็นหนึ่งเดียว และการสร้างระบบ Intra–ASEAN Economic จะเป็นการช่วยส่งเสริมศักยภาพในการอำนวยความสะดวกทางการค้าให้กับอาเซียน นอกจากนี้ Online Shopping, Fintech ยังมีส่วนช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (MSMEs) แต่ละประเทศผ่านระบบ e-Commerce ทั้งนี้ การเติบโตของ e-Commerce ในภูมิภาคอาเซียนมีศักยภาพและมีการขยายตัวสูง โดยปี 2025 ระบบเศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียน จะสร้างการเติบโตให้กับ GDP ของภูมิภาคอาเซียนประมาณหนึ่งล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนสำคัญที่สุดที่จะผลักดันให้ ASEAN ก้าวหน้าต่อไป คือ การพัฒนาบุคลากร ซึ่งแต่ละประเทศควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับยุค 4IR 

ทั้งนี้ การพัฒนาของอาเซียนจะประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐในการส่งเสริมศักยภาพการแข่งขันให้กับภาคธุรกิจ เพื่อสร้างตลาดการแข่งขันใหม่ให้ทัดเทียมกับอียู พร้อมย้ำว่าทุกคนต้องมีความฝัน ทำตามความฝันและเชื่อในความฝันนั้น จึงจะประสบความสำเร็จ

สำหรับการเสวนาเรื่อง “Advancing ASEAN 4.0 in the Global Value Chain” เป็นเวทีแลกเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับการส่งเสริมภูมิภาคอาเซียนให้ก้าวสู่ห่วงโซ่มูลค่าโลก (Global Value Chain) นั้น มองว่าปัจจัยภายนอกที่เป็นความท้าทายของอาเซียน ได้แก่ สงครามการค้าและ Brexit ซึ่งถูกพิจารณาในการประชุม RCEP และการลดอุปสรรค NTMs ส่งผลให้อาเซียนต้องปรับกรอบการพัฒนาอาเซียน 4.0 ให้ครอบคลุมทางด้านเทคโนโลยีและดิจิทัลเพื่อรองรับการดำเนินธุรกิจในอนาคต

อย่างไรก็ตาม อาเซียนจำเป็นต้องพัฒนาทักษะพื้นฐานที่จำเป็นให้เหมาะสมกับความต้องการในอุตสาหกรรมสมัยใหม่ ผลักดันให้ภาครัฐและภาคเอกชนมุ่งเน้นการพัฒนาในระดับภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการสร้างสภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจโดยลดข้อจำกัดให้น้อยที่สุด และควรสร้างความร่วมมือระหว่างกันมากขึ้น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภูมิภาคในการก้าวสู่ห่วงโซ่มูลค่าโลก

ด้านการเสวนาเรื่อง “Next Generation MSME Access to Finance” เป็นเวทีแลกเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (MSME)ในยุคแห่งอนาคต ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อจำกัดที่ท้าทายที่สุดสำหรับการเติบโตระยะยาวสำหรับ MSME และธุรกิจเริ่มแรก (Start-Up) ชี้แจงว่าในภูมิภาคอาเซียนที่มีจำนวน MSME เกือบ 80 ล้านราย เป็นสัดส่วน 58% ของ GDP และการเติบโตของ E-Commerce สูงถึง 367% 

สำหรับกลยุทธ์สำคัญในการรับมือกับปัญหาดังกล่าว ได้แก่ การพัฒนาฐานข้อมูลด้านพฤติกรรมทางการเงินของ MSME การปรับวิธีการพิจารณาความเสี่ยงในปัจจุบันในระบบการให้คะแนนเครดิต (Credit Scoring) โดยพัฒนาแนวทางการพิจารณาสินเชื่อ โดยใช้ฐานข้อมูลเป็นหลัก (Information Based Lending) การระดมทุนในรูปแบบใหม่ เช่น Virtual Banking การกู้ยืมเงินระหว่างบุคคลกับบุคคลผ่านระบบออนไลน์โดยไม่ผ่านตัวกลาง (P2P Lending) การระดมทุนแบบ Crowd Funding  และอื่น ๆ ในการสนับสนุนธุรกิจ E-Commerce ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ตลอดจนแนวทางที่ธนาคารจะทำงานกับตลาด E-Commerce เพื่อจัดหาสภาพคล่อง จัดหาสินเชื่อการค้า รวมถึงบริการชำระเงินในรูปแบบต่าง ๆ พร้อมสร้างความเข้มแข็งแก่ระบบนิเวศเพื่อสนับสนุนการเชื่อมโยงระหว่างประเทศ ได้มีการร่วมกันพัฒนาและการปรับเปลี่ยนการทำธุรกรรมค้าขายระหว่างประเทศ เป็นจากระบบที่เป็นเอกสารในปัจจุบัน มาเป็นระบบดิจิทัลทั้งกระบวนการตั้งแต่ต้นจนจบ (End-to-End Regional Digital Trade Transformation) เพื่อความรวดเร็วมากขึ้นและมีต้นทุนที่ถูกลง และจะช่วยเพิ่มโอกาสในการทำการค้าขายระหว่างประเทศ  . – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ป.ป.ส. รวบ 3 นักค้ายาเสพติดต่างชาติ ที่สนามบินสุวรรณภูมิ

ป.ป.ส. รวบนักค้ายาเสพติดต่างชาติ 3 ราย ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ส่งออกไปอิตาลี-อังกฤษ เลขาฯ ป.ป.ส. เผยความสำเร็จครั้งนี้เป็นผลจากการประสานงานใกล้ชิดระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ตรวจสอบตลาดปาล์มน้ำมัน หลังราคาพุ่ง

ช่วงนี้น้ำมันปาล์มตามท้องตลาดปรับราคาแพงขึ้น จากเดิมขวดละราว 10 บาท ทำให้ผู้บริโภคถึงกับโอดครวญ ขณะที่เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ระบุแม้ช่วงนี้ราคาปาล์มน้ำมันขายได้ราคาดีที่สุดในรอบหลายปี แต่เกษตรกรกลับไม่มีปาล์มขาย

ข่าวแนะนำ

เดินหน้าเสนอ ครม. ตั้งคณะกรรมการร่วมไทย-กัมพูชา เจรจาพื้นที่ทับซ้อน

กระทรวงการต่างประเทศ เดินหน้าเสนอ ครม. ตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิค JTC ไทย-กัมพูชา เจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชา ตามแนว MOU 2544 ยืนยันไม่ทำให้เสียเกาะกูด

เข้าสู่ฤดูหนาว

อุตุฯ ประกาศไทยเข้าสู่ฤดูหนาวแล้ว

กรมอุตุฯ ประกาศการเข้าสู่ฤดูหนาวของประเทศไทย ปี 2567 ตั้งแต่วันที่ 3 พ.ย. โดยเป็นการเข้าสู่ฤดูหนาวช้ากว่าปกติประมาณ 2 สัปดาห์ เนื่องจากมีพายุก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกและเคลื่อนเข้าสู่ทะเลจีนใต้ และยังมีฝนบางพื้นที่ ปีนี้จะหนาวกว่าปีที่แล้ว

ช้างพลายขุนเดช

ย้ายแล้ว “ช้างพลายขุนเดช” ไปสถาบันคชบาลแห่งชาติ จ.ลำปาง

ย้ายแล้ว “ช้างพลายขุนเดช” สู่สถาบันคชบาลแห่งชาติ จ.ลำปาง จบดราม่า หลังฝากเลี้ยงที่มูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม จ.เชียงใหม่