แพทย์รามาฯ–วิศวะ ม.มหิดล ร่วมผลิต ‘แพทย์นวัตกร’ ครั้งแรกในไทย

รพ.รามาฯ 15ต.ค.-โครงการร่วม ‘หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต-วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์’  ตอบโจทย์ยุคดิสรัพชั่น เปิดตัวหลักสูตรร่วมแพทย์–วิศวะ (พ.บ.-วศ.ม.) เรียน 3-1-3 ปี 2 ปริญญา ผลักดันไทยสู่การเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีทางการแพทย์ในอนาคต ตอบรับเป้าหมายเมดิคัลฮับและนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ใน EEC




นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงความสำคัญและความร่วมมือในการจัดตั้งหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต-วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ว่า เป็นนวัตกรรมที่เกิดจากแนวโน้มการนำดิจิทัลและเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในทางการแพทย์ในการรักษาผู้ป่วยมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง แพทย์จึงจำเป็นต้องปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น นอก จากความรู้ด้านการแพทย์ที่ดีแล้ว ทักษะและความเข้าใจด้านวิศวกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนการทำวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับแพทย์ยุคใหม่ อีกทั้งคนรุ่นใหม่มีความสามารถและความสนใจทั้งในด้านการแพทย์และวิศวกรรม ดังนั้น หลักสูตรร่วมแพทย์–วิศวะ (พ.บ.-วศ. ม.) จะช่วยดึงศักยภาพและเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่ในการสร้างนวัตกรรมทางการแพทย์ จากความรู้ทางด้านแพทย์และวิศวกรรม

‘จุดเด่นของหลักสูตรร่วมแพทย์–วิศวะ (พ.บ. – วศ. ม.) นักศึกษาจะเรียนรู้และพัฒนาทักษะทางการแพทย์และความรู้ทักษะพื้นฐานทางวิศวกรรม ได้รับประสบการณ์ในการพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ร่วมกับนักวิจัยและอาจารย์ทั้งในคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ใช้เวลาเรียนทั้งหมด 7 ปี ปีที่ 1-3 มีการเรียนการสอนทางด้านพรีคลินิกเช่นเดียวกับหลักสูตรแพทย์ปกติ ในชั้นปีที่4 จะเป็นช่วงของการพัฒนาทักษะด้านวิศวกรรมและลงมือพัฒนางานวิจัยหรือนวัตกรรม หลักจากนั้นในปีที่ 5 – 7 จึงกลับมาเรียนชั้นคลินิกเช่นเดียวกับหลักสูตรแพทย์ปกติ พร้อมทั้งทดลองและต่อยอดนวัตกรรมที่ได้พัฒนาขึ้นในช่วงเวลานี้ด้วยเช่นกัน’ นพ.ปิยะมิตร กล่าว  

นพ.ปิยะมิตร กล่าวต่อไปว่า เมื่อจบการศึกษาสามารถทำงานเป็นแพทย์ที่เป็นได้มากกว่าแพทย์ โดยมองเห็นปัญหาและโอกาสในการแก้ปัญหาด้วยหลักการทางวิศวกรรม มีการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบมากขึ้น เป็น “แพทย์นวัตกร”ที่ได้รับการปูพื้นฐานพร้อมจะต่อยอดเพื่อพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์ และเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ที่มีโอกาสสูงขึ้นในการได้รับเลือกให้เรียนต่อเฉพาะทางหรือหลักสูตรปริญญาเอก  ทั้งในและต่างประเทศ เนื่องจากมีประสบการณ์ทำงานวิจัยและผลงานตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ


ด้าน ผศ.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงรูปแบบการเรียนทางด้านวิศวกรรมและความเชื่อมโยงทางด้านการแพทย์ ว่า ปัจจุบันประเทศไทยได้รับยกย่องว่าเป็นประเทศหนึ่งที่มีระบบสาธารณสุขที่ดีต่อประชาชน ขณะที่ไทยกำลังก้าวเป็นสังคมสูงวัย อีกทั้งการเติบโตของบริการสุขภาพการแพทย์และแนวโน้มเฮลท์เทค ในแต่ละปีมีชาวต่างชาติที่เดินทางมาใช้บริการรักษา พยาบาลในประเทศไทย จำนวน 1.05 ล้านคนต่อปี หากรวมผู้ติดตามด้วยจะมีจำนวนเป็น 3 ล้านคนต่อปี หลักสูตรร่วมแพทย์–วิศวะ(พ.บ.-วศ. ม.) จะเป็นอีกพลังในการสร้างคนที่จะร่วมสร้างประเทศฐานนวัตกรรม นำมาซึ่งสุขภาพดี คุณภาพชีวิตและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจแก่ประเทศ และภูมิภาคอาเซียนซึ่งมีประชากร 650 ล้านคน

สำหรับการเรียนในรายวิชาด้านวิศวกรรม ผ่านหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (Biomedical Engineering)   ในการสร้างแพทย์ที่เชี่ยวชาญในการรักษาและมีความรู้ความเข้าใจด้านวิศวกรรม ทำให้สามารถมองเห็นปัญหาและโอกาสในการแก้ปัญหา     รวมทั้งสร้างนวัตกรรมให้เชื่อมโยงกับวิศวกรชีวการแพทย์ได้จะเป็นลักษณะ Project Based Learning (PBL) โดยเน้นการทำ Project เพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองและการลงมือปฏิบัติจริง ให้เกิดทักษะการทำงานวิจัย เกิดกระบวนการคิด การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ  มุ่งส่งเสริมให้มีการทำงานวิจัย นวัตกรรม การตีพิมพ์ผลงานระดับนานาชาติในวารสารวิชาการต่างประเทศ ผ่านการทำวิทยานิพนธ์ ภายใต้การดูแลจากอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ซึ่งผู้เรียนสามารถเลือกแนวทางการทำวิจัยในด้านต่างๆได้ เช่น วิศวกรรมเนื้อเยื่อและระบบส่งยา ชีวสัญญาณและการประมวลผลภาพ วิศวกรรมฟื้นฟูอวัยวะประดิษฐ์ อุปกรณ์รับรู้ทางชีวภาพและอุปกรณ์ชีวการแพทย์ การคำนวณขั้นสูงทางการแพทย์ รวมทั้งหุ่นยนต์และศัลยกรรมบูรณาการคอมพิวเตอร์ 

ทั้งนี้ เชื่อว่าโครงการหลักสูตรร่วมแพทย์–วิศวะ (พ.บ.-วศ. ม.) จะสามารถผลิต “แพทย์นวัตกร” บุคลากรทางการแพทย์ที่มีศักยภาพในการทำงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ ตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลง และสร้างคุณประโยชน์ให้แก่วงการสาธารณสุขไทยและประชาคมโลกได้เป็นอย่างดี 

สำหรับการสมัครเข้าศึกษา พ.บ. – วศ. ม. รับสมัครโดยวิธีรับตรงผ่านระบบ TCAS รอบ Portfolio ของ ทปอ. เริ่มปีการศึกษา 2563 หรือTCAS เดือนธันวาคม 2562  โดยพิจารณาคัดเลือกโดยดูจาก Portfolio โครงงานวิทยาศาสตร์  ดีเด่น /ความเชี่ยวชาญ ภาษาอังกฤษ  และสัมภาษณ์แบบ Multiple Mini Interview (MMI)  รับนักศึกษาจำนวน 20 คนต่อปีการศึกษา โดยเป็นการรับตรงในรอบที่ 1 แฟ้มสะสมผลงาน มีการรับนักศึกษาแยกจากหลักสูตรแพทย์ปกติอย่างชัดเจน

ทั้งนี้ ในวันที่ 9 พ.ย.จะมีการเปิดบ้านหรือ Open house ให้นักเรียนที่สนใจ หารายละเอียดได้ที่สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ หรือดูที่หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต-วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้ทางลิ้งค์ https://med.mahidol.ac.th/meded/th/Course_2  และ Facebook Fanpage: RAMA By D .-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เหล้าเถื่อนลาว

เสียชีวิตรายที่ 6 คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว

คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเสียชีวิตเพิ่มรายที่ 6 เป็นหญิงชาวออสเตรเลีย เสียชีวิตขณะรักษาตัวในไทย

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษา ทบ.

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ช่วยปฏิบัติราชการที่กองบัญชาการกองทัพบก หลังถูกร้องทำร้ายร่างกายผู้ใต้บังคับบัญชา พร้อมช่วยเจ้าทุกข์ย้ายหน่วยตามร้องขอ

ไฟไหม้โรงงานพัดลม เผาวอดเสียหายกว่า 50 ล้าน

ไฟไหม้โรงงานผลิตพัดลมรายใหญ่ จ.สมุทรสาคร ระดมรถดับเพลิงระงับเหตุ กว่า 5 ชม. จึงควบคุมไว้ได้ในวงจำกัด เบื้องต้นเสียหายกว่า 50 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

ภรรยาหมอบุญมอบตัว

“ภรรยา-ลูก” หมอบุญ อ้างถูกปลอมลายเซ็น ไม่เคยรู้การกระทำใดๆ

ทนายความภรรยา-ลูก หมอบุญ เผยถูกปลอมลายเซ็นเอกสาร ไม่เคยรับรู้การกระทำใดๆ ของหมอบุญ โดยภรรยาได้หย่าร้างกับหมอบุญ ก่อนปี 66

น้ำผุดเชียงดาว

น้ำใต้ดินผุดท่วมอ่วม “บ้านเรือน-พื้นที่เกษตร” อ.เชียงดาว

มวลน้ำมหาศาลผุดขึ้นจากใต้ดิน เอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่เกษตร และบ้านเรือนประชาชน หลายหมู่บ้าน ใน อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ระดับน้ำบางจุด ท่วมบ้านเกือบถึงหลังคา พื้นที่การเกษตรเสียหายกว่า 400 ไร่

เลือกตั้ง อบจ.

“แสวง” ลงพื้นที่สังเกตการณ์เลือกตั้ง นายก อบจ.อุดรธานี

“เลขาฯ แสวง” ลงพื้นที่ตรวจรับ-มอบอุปกรณ์เลือกตั้ง นายก อบจ.อุดรธานี พร้อมสังเกตการณ์เลือกตั้งพรุ่งนี้ (24 พ.ย.) วอนประชาชนออกมาใช้สิทธิ 8.00-17.00 น.