กรุงเทพฯ 8 ส.ค. – กฟผ.เผยงบลงทุน 5 ปีข้างหน้ากว่า 600,000 ล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ – ระบบสายส่งไฟฟ้าอย่างละครึ่ง เพื่อความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จัดสัมมนาสื่อมวลชนเรื่อง “การพัฒนาระบบส่งไฟฟ้าใหม่ของประเทศไทย” โดยนายสหรัฐ บุญโพธิภักดี รองผู้ว่าการกิจการสังคม กฟผ. กล่าว ว่า ในแผนการลงทุนของ กฟผ. 5 ปีข้างหน้าจะมีงบลงทุนประมาณ 600,000 ล้านบาท และใน 10 ปีจะมีวงเงิน 1.2 ล้านล้านบาท ครึ่งหนึ่งเป็นการลงทุนสร้างโร งไฟฟ้าใหม่ และอีกครึ่งหนึ่งลงทุนระบบสายส่งไฟฟ้า เพื่อสร้างความมั่นคงพลังงานของประเทศ โดยระบบส่งจะเป็นการก่อสร้างมีทั้งทดแทนสายส่งเดิมที่มีอายุนานถึง 40 ปี การลงทุนสายส่งใหม่กระจายความมั่นคงรองรับโรงไฟฟ้าใหม่ โรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนที่จะเข้าระบบ 5 ปีข้างหน้า ประมาณ 5,000 เมกะวัตต์ การรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ตามโครงการระบบสายส่งไฟฟ้าอาเซียน ล่าสุด สปป.ลาวเสนอขยายข้อตกลงร่วมซื้อขายไฟฟ้าระหว่างกัน หรือเอ็มโอยู เพิ่มจาก 7,000 เป็น 9,000 เมกะวัตต์ ซึ่งจะเห็นได้ว่าระบบสายส่งมีความสำคัญ โดยจากผลการศึกษาของหน่วยงานวิชาการ ล่าสุดระบุว่าหากไฟฟ้าตกไฟฟ้าดับจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจทุก 1 หน่วยจะมีมูลค่า 80 บาท
นายกิจจา ศรีพัฑฒางกุระ รองผู้ว่าการนโยบายและแผน กฟผ. กล่าวว่า เม็ดเงินลงทุนระบบสายส่งรวม 6 00,000 ล้านบาทใน 10 ปีข้างหน้านั้น การระดมทุนก่อสร้างขณะนี้กำลังพิจารณาว่าจะใช้เงินกู้จากสถาบันการเงินในประเทศ แต่ยังติดปัญหาเพดานหนี้สาธารณะอาจจะต้องใช้ระบบกองทุนสาธารณูปโภคพื้นฐานมาระดมทุน แต่ระบบนี้จะทำให้ต้นทุนทางการเงินสูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 4-5 จากอัตราการกู้เงินที่จะอยู่ระดับร้อยละ 2-3 เท่านั้น ในเรื่องนี้ฝ่ายการเงินกำลังพิจารณาว่าจะใช้โรงไฟฟ้าพระนครเหนือชุดที่ 2 เป็นส่วนการระดมทุนกองทุนสาธารณูปโภค นอกจากนี้ การลงทุนสายส่งตามแผนพัฒนากำลังไฟฟ้าระยะยาว หรือพีดีพี 2015 (2558-2579) จะต้องมีการลงทุนเพิ่มอีกหลายโครงการ เช่น การก่อสร้างระบบสายส่งไฟฟ้าเพื่อป้อนเข้าสู่พื้นที่ชั้นในของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ภายหลัง 10 ปีข้างหน้า ซึ่งคาดว่าการก่อสร้างด้วยระบบสายส่งบนดินคงจะเป็นเรื่องยาก เพราะจะมีปัญหาการเวนคืนที่ดิน ซึ่งคงจะต้องใช้ระบบไฟฟ้าใต้ดิน เรื่องนี้จะต้องมีกาหารือกับ กฟน.ต่อไป
นายกิจจา กล่าวว่า ส่วนการก่อสร้างสายส่งรองรับโรงไฟฟ้าไอพีพี ของกัลฟ์อิเล็กตริกภาคตะวันออกนั้น หากกัลฟ์ได้รับอนุมัติก่อสร้างทั้ง 2 โครงการ รวม 5,000 เมกะวัตต์ ทาง กฟผ.จะต้องลงทุนก่อสร้างสายส่งไปรับมูลค่า 7,500 ล้านบาท แต่หากรัฐบาลพิจารณาว่าจะอนุมัติให้กัลฟ์สร้างเพียงโรงเดียว การลงทุนก่อสร้างสายส่งจะลดลงเหลือประมาณ 600 ล้านบาทเท่านั้น เรื่องนี้ กฟผ.กำลังจัดทำรายละเอียดการก่อสร้างสายส่ง เพื่อเสนอบอร์ด กฟผ. ซึ่งจะเป็นการดำเนินการรองรับการตัดสินใจของรัฐบาลว่าจะอนุมัติให้กัลฟ์ก่อสร้างอย่างไร โดยคาดว่าจะต้องเสนอ ครม.เพื่ออนุมัตก่อสร้างภายในต้นปี 2560
นายกิจจา กล่าวว่า การเชื่อมสายส่งไฟฟ้าไปประเทศเมียนมาร์ เพื่อส่งเสริมโครงการนิคมอุตสาหกรรมทวายนั้น ล่าสุดทางกลุ่มอิตัลไทยเสนอให้ กฟผ.ขายไฟฟ้าให้แก่เมียนมาร์ 100 เมกะวัตต์ เป็นการเริ่มต้นของนิคมอุตสาหกรรมทวาย ขณะนี้กำลังหารือรายละเอียดว่าจะดำเนินการอย่างไร
นายบุญมาก สมิทธิลีลา รองผู้ว่าการพัฒนาระบบส่ง กฟผ. กล่าวว่า เม็ดเงินลงทุนการก่อสร้างระบบสายส่งเป็นการพัฒนาระบบเศรษฐกิจในประเทศและสายส่งไทยผลิตได้เอง โดยวงเงินประมูลแต่ละโครงการจะทยอยประกาศออกมาทั่วทุกภูมิภาค โดยปี 2558 เปิดประมูล 10,000 ล้านบาท ปี 2559 จำนวน 20,000 ล้านบาท ปี 2560 จำนวน 20,000 ล้านบาท จากราคาน้ำมันที่ปรับลดลงส่งผลทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์อื่นลดลง ทำให้การประมูลก่อสร้างสายส่งไฟฟ้าลดต้นทุนประมาณร้อยละ 20-30 จากราคากลางที่ประเมินไว้ อย่างไรก็ตาม จากที่เมืองขยายตัวการก่อสร้างสายส่งยอมรับว่ามีปัญหาการคัดค้านของประชาชนมากขึ้น เช่น สายส่งไฟฟ้าไปภาคใต้มีการคัดค้านจากชาวภเก็ต การสร้างสายส่งภาคตะวันออกมีการคัดค้านจากจังหวัดระยอง เป็นต้น ซึ่งเรื่องนี้ต้องอาศัยทุกหน่วยงานร่วมทำความเข้าใจ และกำหนดค่าลิดรอนสิทธิ์ในอัตราที่เหมาะสม .-สำนักข่าวไทย