ภัยยาลดน้ำหนัก อาหารเสริมมรณะ ตอน 1

กทม. 2 ก.ย.-มีผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักขายออนไลน์และขายตรงจำนวนมาก บางผลิตภัณฑ์ผสมสารไซบูทรามีน ซึ่งเป็นอันตรายต่อระบบหลอดเลือดและหัวใจ ในโครงสร้างสารยังมีอนุพันธ์คล้ายกับยาบ้า ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยาของจุฬาฯ เก็บข้อมูลพบผู้ป่วย และที่หนักจนถึงขั้นเสียชีวิตน่าจะมีนับสิบราย หรือมากกว่านั้น ในช่วงก่อนที่ยังไม่มีระบบซักถามเจาะลึก ติดตามจากรายงานพิเศษ “ภัยยาลดน้ำหนัก อาหารเสริมมรณะ” วันนี้เสนอเป็นตอนแรก
                          
แม้บริษัทผู้ผลิตได้ถอนตัวยาไซบูทรามีน ยาลดน้ำหนักที่มีผลข้างเคียงถึงขั้นเสียชีวิต ออกไปจากท้องตลาดแล้วร่วม 10 ปี และปี 61 อย. ยังจัดให้ไซบูทรามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประเภท 1 ห้ามผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ผสมสารนี้ แต่ยังคงมีข่าวการเสียชีวิตของผู้กินยาลดความอ้วนผสมไซบูทรามีนอย่างต่อเนื่อง เช่น หญิงชาวอ่างทองเพิ่งคลอดบุตรที่กินยาชุดลดความอ้วนสั่งซื้อทางออนไลน์เมื่อกลางปีนี้

ส่วนยาลดความอ้วนผสมไซบูทรามีนยี่ห้อลีนที่มีผู้สั่งซื้อทางออนไลน์ แต่กินแล้วเสียชีวิต ผ่านไป 1 ปี น้องชายผู้เสียชีวิตชาวกาญจนบุรี แสดงผลชันสูตร พี่สาวหัวใจล้มเหลวจากผลแทรกซ้อนของสารไซบูทรามีน หลังกินยาลดความอ้วนได้เพียง 5 เม็ด ก็แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก   


ตำรวจดำเนินคดีผู้ต้องหา 3 คน คือ เจ้าของผลิตภัณฑ์และเจ้าของโรงงานที่ผลิต ในข้อหาประมาท ทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และร่วมกันปลอมปนอาหารและยา เมื่อกลางปีที่แล้ว ตอนนี้คดีอยู่ในชั้นอัยการ ส่วนตัวกังวลว่าจะเอาผิดการซื้อขาย ครอบครอง ลักลอบใส่สารไซบูทรามีน ซึ่งมีโทษหนัก ได้หรือไม่

ข้อมูลจากศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา หรือ กพย. คณะเภสัชฯ จุฬาฯ พบมีผลิตภัณฑ์ลดความอ้วนขายผ่านอินเทอร์เน็ตและขายตรงมากมาย การเก็บตัวอย่างสินค้าระหว่างปี 57-61 พบสารปลอมปน 145 ตัวอย่าง โดยพบสารไซบูทรามีนเพียงอย่างเดียวถึง 125 ตัวอย่าง และพบในกลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมากที่สุด รองลงมาคือ กาแฟสำเร็จรูปชนิดผง

โดยในรอบ 6 ปี มีรายงานผู้ได้รับผลกระทบทางสุขภาพจากไซบูทรามีน 70 ราย คาดว่าเสียชีวิตจากไซบูทรามีนอย่างน้อย 14 ราย และมีผลยืนยันทางนิติวิทยาศาสตร์ 4 ราย   

ในวารสารนิติเวชศาสตร์ ไซบูทรามีน เป็นอนุพันธ์ของสารฟีนิลเอทิลเอมีน (Phenylethylamine) ซึ่งมีโครงสร้างคล้ายแอมเฟตามีน (Amphetamine) หรือยาบ้า กพย. รวบรวมสถิติการปนเปื้อนไซบูทรามีนและอาการไม่พึงประสงค์ตั้งแต่ปี 48 โดยพบผลิตภัณฑ์ปนเปื้อนสารนี้เฉลี่ยมากถึงปีละ 52 ตัวอย่าง แต่ช่วงปี 48-61 ไม่ปรากฏรายงานผู้เสียชีวิตจากผลิตภัณฑ์ผสมไซบูทรามีน แต่พบผู้เสียชีวิตมีอาการที่ระบบหลอดเลือดและหัวใจ จากการกินผลิตภัณฑ์เหล่านี้ เภสัชกรเชื่อว่าน่าจะเกี่ยวข้องกัน และคาดว่ามีผู้เสียชีวิตอีกหลายรายทั่วประเทศ ก่อนจะมีการตื่นตัวหลังกวาดล้างจับกุมผลิตภัณฑ์ลีนผสมไซบูทรามีนแล้วมีผู้เสียชีวิตเมื่อปีที่แล้ว.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

มติกฤษฎีกา “กิตติรัตน์” คุณสมบัติไม่ผ่านนั่งประธานบอร์ด ธปท.

คณะกรรมการกฤษฎีกา 3 คณะ มีมติไม่ผ่านคุณสมบัติ “กิตติรัตน์ ณ ระนอง” เป็นประธานบอร์ดธนาคารแห่งประเทศไทย

เครื่องบินโดยสาร อาเซอร์ไบจาน แอร์ไลน์ ตกในคาซัคสถาน

เครื่องบินโดยสารเอ็มบราเออร์ ของสายการบินอาเซอร์ไบจาน แอร์ไลน์ ที่บินจากอาเซอร์ไบจาน ไปยังประเทศรัสเซีย เกิดอุบัติเหตุตกที่บริเวณใกล้กับเมืองอัคเทา ในคาซัคสถาน โดยมีผู้โดยสาร 62 คน และลูกเรือ 5 คน บนเครื่อง เจ้าหน้าที่คาซัคสถานกล่าวว่า มีผู้รอดชีวิต 28 ราย

เร่ง​ตรวจสอบ​หาผู้สั่งนำเข้า​ลูกกอริลลา​จากตุรกีมาไทย

อธิบดีกรมอุทยาน ระบุประสานกับ​ CITES รวมทั้ง​ทางการ​ของ​ตุรกี​และ​ไนจีเรีย​เพื่อ​สืบสวนเส้นทาง​ลักลอบ​ขนส่งลูกกอริลล่า​ พร้อมประสานงานตำรวจ​ บก.ปอท.​ ตรวจสอบ​ว่า​ ไทยเป็นจุดหมาย​ปลายทาง​การขนส่ง​หรือ​ไม่​ ล่าสุด​เจ้าหน้าที่​กรม​อุทยาน​ฯ​ และ ​บก.ปอท.​ ขออนุมัติ​หมายศาลเพื่อ​เข้า​ตรวจค้นฟาร์ม​เพาะเลี้ยง​สัตว์​ต่าง​ประเทศ​แห่ง​หนึ่ง​ในจังหวัดนครปฐม