ห่วงเลียนแบบฆ่าตัวตาย วอนสื่อระมัดระวังการเสนอข่าว

กรมสุขภาพจิต 26 ส.ค.-กรมสุขภาพจิต ห่วงประชาชนเลียนแบบฆ่าตัวตาย วอนสื่อนำเสนอข่าวอย่างระมัดระวัง แนะคนรอบข้างพูดคุย รับฟังอย่างใส่ใจ


นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า จากสถานการณ์ข่าวในช่วงที่ผ่านมา สื่อมวลชนมีการนำเสนอข่าวการฆ่าตัวตายค่อนข้างถี่ โดยเฉพาะข่าวการฆ่าตัวตายแบบรมควันนั้น กรมสุขภาพจิตมีความห่วงใยประชาชนในการติดตามข้อมูลข่าวสารสถานการณ์ความเคลื่อนไหวดังกล่าว อาจจะทำให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ (Copycat suicide) ขึ้นมาได้ โดยการลอกเลียนแบบมักเกิดขึ้นภายหลังจากการได้รับข่าวที่บรรยายถึงวิธีการฆ่าตัวตายโดยละเอียด การได้เห็นภาพ อุปกรณ์ที่ใช้ก่อเหตุ หรือวิธีการฆ่าตัวตายจากสื่อซ้ำบ่อยๆขึ้นอยู่กับสัดส่วนมากน้อยตามระยะเวลา ความถี่ และปริมาณข่าวที่ได้รับ ซึ่งจากข้อมูลของศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตายระดับชาติ กรมสุขภาพจิตในปี 2540-2560 พบว่ามีการฆ่าตัวตายโดยใช้วิธีการรมควันเพียงประมาณร้อยละ 0.1 ของจำนวนผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย ซึ่งกรมสุขภาพจิต ขอให้ทุกฝ่ายร่วมมือเพื่อป้องกัน 


‘ในส่วนสื่อมวลชนให้ใช้วิจารณญาณ นำเสนอข่าวด้วยความระมัดระวัง หลีกเลี่ยงการนำเสนอข่าวฆ่าตัวตายอย่างละเอียด ภาพข่าว อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำร้ายตนเอง หลีกเลี่ยงการนำเสนอข่าวซ้ำๆ ถี่ๆ เพื่อป้องกันพฤติกรรมเลียนแบบ และเพื่อช่วยลดอัตราการฆ่าตัวตายของคนไทย ซึ่งทางกรมได้ย้ำเตือนสังคมมาโดยตลอด ให้นำเสนอเป็นภาพกว้างๆ ของเหตุการณ์เท่านั้นและเน้นแนวทางการรักษาเยียวยาจิตใจของครอบครัวและคนรอบข้าง ตลอดจนเพิ่มการนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ในด้านสุขภาพจิต’ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว

สำหรับวิธีป้องกันการฆ่าตัวตาย ขอให้บุคคลรอบข้าง ครอบครัว หรือคนใกล้ชิด คอยสังเกตสัญญาณเตือน ให้ระลึกไว้เสมอว่าการส่งสัญญาณเตือนเท่ากับการส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือของผู้มีความเสี่ยง หากพบว่ามีอาการเศร้า เบื่อ เซ็ง แยกตัว คิดวนเวียน นอนไม่หลับ มองโลกในแง่ลบ หรือโพสต์ข้อความเชิงสั่งเสีย ไม่อยากมีชีวิตอยู่ หมดหวังในชีวิต ซึ่งเป็นอาการบ่งบอกของโรคซึมเศร้าและเป็นสัญญาณเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ให้รีบเข้าไปพูดคุยช่วยเหลือพร้อมรับฟัง


‘แนะนำใช้หลักวิธีการปฐมพยาบาลทางจิตใจ 3 ส. คือ 1. สอดส่อง มองหา ผู้มีความคิดทำร้ายตัวเอง หรือผู้ที่มีการส่งสัญญาณเตือนในการฆ่าตัวตาย เช่น พฤติกรรมเปลี่ยนไปจากเดิม แยกตนเองออกจากสังคม 2. ใส่ใจรับฟัง ด้วยความเข้าใจ ชวนพูดคุย ให้ระบายความรู้สึก ไม่ตำหนิหรือวิจารณ์ โดยการรับฟังอย่างใส่ใจนั้นเป็นวิธีการที่สำคัญมีประสิทธิภาพมาก และ 3.ส่งต่อเชื่อมโยง เช่น การแนะนำให้โทรปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือ โทรปรึกษาสะมาริตันส์ 02-713-6793 เวลา 12.00-22.00 น.รวมถึงแอพพลิเคชั่นสบายใจ (Sabaijai) ตลอดจนแนะนำให้ไปพบบุคลากรสาธารณสุขหรือช่วยเหลือพาส่งโรงพยาบาลใกล้บ้าน อธิบดีกรมสุขภาพจิตกล่าว .-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ที่ทำการพรรคเพื่อไทยแห่งใหม่

ทำบุญเปิดที่ทำการพรรคเพื่อไทยแห่งใหม่

“แพทองธาร” ควง “ทักษิณ” ทำบุญเปิดที่ทำการพรรคเพื่อไทยแห่งใหม่ รมต.-แกนนำ-สส. พรรคเข้าร่วมพร้อมเพรียง ด้าน “ไชยชนก ชิดชอบ” เลขาธิการ ภท. มอบกระเช้าแสดงความยินดี

ชายฉกรรจ์ดักรุมทำร้ายหมอเจ้าของคลินิกเวชกรรม ย่านสีลม

ายฉกรรจ์ดักรุมทำร้ายหมอ หน้าคลินิกเวชกรรม ย่านธุรกิจสีลม จนเลือดอาบ เบื้องต้นไม่ทราบว่าคนร้ายเป็นใคร

ข่าวแนะนำ

ระทึก! ปิดล้อมก่อนปะทะ แนวร่วมดับ 4 ที่ยะลา คาดเตรียมก่อเหตุใหญ่

เหตุปิดล้อมปะทะกลุ่มคนร้าย ที่ อ.กรงปินัง จ.ยะลา โฆษก กอ.รมน.ภาค 4 ยืนยันมีคนร้ายเสียชีวิต 4 ราย คาดเตรียมก่อเหตุใหญ่ในพื้นที่

ออกหมายจับ 2 ชายฉกรรจ์รุมทำร้ายหมอเจ้าของคลินิกเวชกรรม

ศาลอนุมัติหมายจับ 2 ชายฉกรรจ์รุมทำร้ายนายแพทย์ เจ้าของคลินิกเวชกรรม ย่านสีลม ด้านผู้เสียหายเชื่อมีคนบงการ เพราะมีการวางแผนเป็นระบบ ส่วนอาการบาดเจ็บดีขึ้นแล้ว

ญาติร้องสื่อ หนุ่ม ปวส.ฝึกงานที่ญี่ปุ่น ดับปริศนา

น้าสาวร้องสื่อ หลานชายจบ ปวส. ฝึกงานที่ญี่ปุ่น หายตัวปริศนา 1 เดือน สุดท้ายกลายเป็นศพ วอนช่วยประสานนำร่างกลับไทย เชื่อถูกฆาตกรรม เผยร้องหลายหน่วยงานนานนับเดือน แต่ไร้ความช่วยเหลือ

กดเงินหมื่น

ผู้สูงอายุชาวเชียงใหม่ฝ่าลมหนาวกดเงินหมื่นคึกคัก

เช้านี้ (27 ม.ค.) ผู้สูงอายุชาวเชียงใหม่ ฝ่าลมหนาวออกมากดเงิน 10,000 บาท จากโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ไปใช้จ่าย แต่มีบางคนไม่ได้ลงทะเบียนไว้ ทำให้ชวดรับเงินหมื่น เฟส 2