กลุ่ม ปตท.วางกลยุทธ์ลงทุนพลังงานทดแทน 8 พันเมกะวัตต์

กรุงเทพฯ 30 ก.ค. – กลุ่ม ปตท.วางแผนโตทั้งกลุ่มและลดโลกร้อน เดินหน้าลงทุนพลังงานทดแทน 8 พันเมกะวัตต์ พร้อมเพิ่มทุนใน GPSC ตามแผนเพิ่มทุน 7.4 หมื่นล้านบาท  โดย GPSC เตรียมออกหุ้นกู้หรือกู้เงินระยะยาวอีก 6 หมื่นล้านในไตรมาส 4/62 รองรับการเติบโต 


นายชวลิต ทิพพาวนิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC แกนนำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้า กลุ่ม ปตท. เปิดเผยว่า ที่ประชุมผู้บริหารระดับสูงกลุ่ม ปตท. เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์และทิศทางในอนาคตกลุ่มวานนี้ (29 ก.ค.) ได้เดินหน้าตามทิศทางแผนธุรกิจของ ปตท.3 P คำนึงถึงทุกด้าน ทั้งด้านบุคลากร สังคม สิ่งแวดล้อม และผลตอบแทนของนักลงทุน  และเพื่อรองรับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (Disruptive Technology) โดยในส่วนของธุรกิจพลังงานทดแทนจะลงทุนให้มีกำลังผลิตรวมทั้งกลุ่ม 8,000 เมกะวัตต์ ซึ่งจะตอบสนองต่ออุตสาหกรรมใหม่ของประเทศ NEW S-CURVE ซึ่งจะมีทั้งแบตเตอรี่ สมาร์ทซิตี้ สมาร์ทกริด ฯลฯ โครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง โดยจีพีเอสซี และ ปตท.ตั้งกลุ่ม Electronic Value Chain (EVH) ร่วมกันศึกษาถึงเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น รวมทั้งลู่ทางการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ

“เป้าหมายการลงทุนพลังงานทดแทน 8,000 เมกะวัตต์ของกลุ่ม ปตท.ในอนาคต ทาง EVH จะร่วมกันวางแผน ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งไปสู่เป้าหมายที่ กลุ่ม ปตท.จะเติบโตอย่างยั่งยืนตามเทรนด์เทคโนโลยีใหม่ของโลกและช่วยลดภาวะโลกร้อน ลด CO2 ของทั้งกลุ่ม ปตท. โดยปัจจุบันนี้ ปตท.กำหนดลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ต่ำกว่ากรณีการดำเนินธุรกิจปกติร้อยละ 15 ในปี 2563 ซึ่งสอดคล้องกับนานาชาติที่ต้องการจะรักษาระดับอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้เพิ่มขึ้นไม่เกิน 2 องศาเซลเซียส” นายชวลิต กล่าว 


นายชวลิต กล่าวว่า บริษัทในกลุ่ม ปตท.ที่เป็นผู้ถือหุ้นใน GPSC ทั้งพีทีทีโกลบอลเคมิคอล (GC),ปตท.และ ไทยออยล์ สนับสนุนแผนเพิ่มทุน GPSC วงเงิน 74,000 ล้านบาท ไม่เกิน 1,321.43 ล้านหุ้น เสนอขายให้กับผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น (Right Offering: RO) ในอัตรา 1 หุ้นเดิมต่อ 0.8819 หุ้นใหม่  และ GPSC ยังเตรียมจะกู้เงินระยะยาว ทั้งออกหุ้นกู้หรือกู้เงินสถาบันการเงินอีก 60,000 ล้านบาทในไตรมาส 4 ปีนี้ ทั้ง 2 ส่วนนี้เป็นการปรับโครงสร้างทางการเงินให้แข็งแกร่งขึ้น เพื่อใช้หนี้เงินกู้ระยะสั้นจาก ปตท.และ GC 130,000 ล้านบาท นำเงินไปซื้อหุ้นโกลว์พลังงาน (GLOW )  และรองรับการขยายการลงทุนในอนาคตตามแผนลงทุน 5 ปี (2562-2566) จะลงทุนเพิ่มอีกวงเงิน 50,000 ล้านบาท  ทำให้ฐานะทางการเงินของบริษัทแข็งแกร่งมากขึ้น และสัดส่วนหนี้ทุนจะเหลือ 1:1   

ทั้งนี้ แผนเพิ่มทุนจะนำเสนอในที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2562 พิจารณาอนุมัติวันที่ 28 สิงหาคม 2562 โดยจะกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิ์ได้รับจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุน (Record Date) วันที่ 4 กันยายน 2562 และเปิดให้ผู้ถือหุ้นใช้สิทธิ์จองซื้อหุ้นเพิ่มทุนระหว่างวันที่ 30 กันยายน– 4 ตุลาคม 2562 

“แผนการเพิ่มทุนและกู้เงินระยะยาว ทำให้ฐานะการเงินบริษัทแข็งแกร่งรองรับการลงทุน 5 ปีอย่างไม่มีปัญหา โดยบริษัทตั้งใจจะเติบโตต่อเนื่อง และให้ผลตอบแทนนักลงทุนที่ดี คาดจะไม่ต่ำกว่าในอดีตที่ให้ผลตอบแทนกว่าร้อยละ 2 ต่อปี” นายชวลิต กล่าว


สำหรับการดำเนินงานของบริษัทฯ ภายหลังรวมกิจการ GLOW นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการทำแผนเพิ่มประสิทธิภาพการ Synergy ด้านต่าง ๆ พร้อมรองรับการให้บริการด้านต่าง ๆ ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าที่มีอยู่ในปัจจุบัน และจำนวนลูกค้าที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะการลงทุนของผู้ประกอบการในโครงการพัฒนาเขตพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่คาดว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าจะเพิ่มอีกร้อยละ 3.2

ทั้งนี้ แผนธุรกิจของบริษัทฯ ในอนาคตคณะกรรมการฯ มุ่งให้เติบโตเป็นผู้ผลิต 1 ใน 3 ของผู้ผลิตรายใหญ่ในไทย จากปัจจุบันครองอันดับ 4 โดยดำเนินงานตามยุทธศาสตร์หลัก ประกอบด้วย 1.การเติบโตพร้อมกลุ่ม ปตท. 2.การขยายการลงทุนและพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าทั้งในและต่างประเทศ และ 3.การพัฒนาธุรกิจใหม่   

ปัจจุบัน GPSC  มีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 4,986 เมกะวัตต์ ตามแผน 5 ปีจะมีกำลังผลิตเพิ่มในส่วนของพลังงานทดแทน 500 เมกะวัตต์ เชื้อเพลิงฟอสซิล 500 เมกะวัตต์ อย่างไรก็ตาม เมื่อรวมกับส่วนที่สัญญาไฟฟ้าเดิมหมดอายุสัญญาจะทำให้กำลังผลิตไฟฟ้าเมื่อสิ้นแผน 5 ปี อยู่ที่ 5,400 เมกะวัตต์ โดยมีโครงการอยู่ระหว่างการก่อสร้างอีกหลายโครงการที่จะเริ่ม COD ปีนี้ เช่น โรงไฟฟ้าน้ำลิก 1 (NL1PC) สปป.ลาว กำลังผลิต 65 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้า ไซยะบุรี (XPCL) กำลังการผลิต 1,285 เมกะวัตต์ และศูนย์ผลิตสาธารณูปการ จังหวัดระยอง แห่งที่ 4 (CUP-4) กำลังผลิต 45 เมกะวัตต์ ไอน้ำ 70 ตันต่อชั่วโมง

นอกจากนี้ ยังมีอีก 3 โครงการที่จะทยอยเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ปี2563 2564 และ 2566 ได้แก่ โครงการผลิตไฟฟ้านวนครกำลังส่วนขยาย (NNEG Expansion) 60 เมกะวัตต์ โครงการโรงไฟฟ้าจากเชื้อเพลิง RDF 9.9 เมกะวัตต์ และหน่วยผลิตไฟฟ้าในโครงการขยายกำลังกลั่นของไทยออยล์ หรือ ERU (Energy Recovery Unit) 250 เมกะวัตต์ ตามลำดับ และยังมีแผนลงทุนอีก 20,000 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างโรงไฟฟ้าเอสพีพีทดแทนสัญญาเดิมที่หมดอายุ 600 เมกะวัตต์ จากสัญญาเดิม 900 เกมะวัตต์ ซึ่งจะเข้าระบบปี 2565-2568.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

ฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ส่งสุขรับปีใหม่

ส่งความสุขรับปีใหม่ กับฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ศิลปินลูกทุ่งเกือบ 100 ชีวิต ร่วมโชว์จัดเต็ม

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

เด้ง ตร.จราจร ปมคลิปรับเงินแลกไม่เขียนใบสั่ง

ผบก.ภ.จว.นนทบุรี สั่งย้าย “รอง สว.จร.สภ.รัตนาธิเบศร์” เซ่นคลิปรับเงินแลกไม่ออกใบสั่ง พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงภายใน 3 วัน ด้านเจ้าตัวอ้างไม่เห็นเงินที่วางบนโต๊ะในตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร